โครงการ “การพัฒนาและใช้ประโยชน์ขยะต้นทาง ตำบลอุ่มจาน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร” ภายใต้ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูพันธุ์ข้าวพื้นเมือง “หอมดอกฮัง” บ้านโคกสะอาด ตำบอุ่มจาน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

เผยเเพร่เมื่อ 336 เข้าชม

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร นำโดย ผศ.ดร.วุฒิชัย  รสชาติ   รองคณบดีฝ่ายวิจัย บริการวิชาการและพันธกิจสัมพันธ์ พร้อมด้วย นายเทพกร  ลีลาแต้ม หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม นักศึกษาสาขาวิชาเคมี และคณะดำเนินงาน จัดกิจกรรมโครงการ “การพัฒนาและใช้ประโยชน์ขยะต้นทาง ตำบลอุ่มจาน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร” ภายใต้ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูพันธุ์ข้าวพื้นเมือง “หอมดอกฮัง” บ้านโคกสะอาด ตำบล           อุ่มจาน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร โดยกิจกรรมครั้งนี้เป็นกิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะชุมชนประเภทวัสดุปรับปรุงดินและปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งเป็นกิจกรรมการการถ่ายทอดองค์ความรู้ ส่งเสริม และสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากขยะเหลือทิ้งในชุมชนโดยเฉพาะเศษวัสดุทางการเกษตร นำมาเพิ่มมูลค่าเป็นปุ๋ยอินทรีย์เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูพันธุ์ข้าวพื้นเมือง “หอมดอกฮัง” เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินการอนุรักษ์พันธ์ข้าวพื้นเมืองและผลิตข้าวโดยการทำการเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ 100% มีสมาชิกกลุ่มมากกว่า 40 ครัวเรือน และครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกข้าวมากกว่า 500 ไร่

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการร่วมกันบรรจุปุ๋ยหมักจากการดำเนินกิจกรรมการผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่ผ่านมา ซึ่งสามารถบรรจุปุ๋ยหมักเพื่อจำหน่ายให้กับสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจจำนวน 360 กระสอบ ๆ ละ 30 กิโลกรัม ราคาจำหน่ายกระสอบละ 350 บาท รวมประมาณ 10.5 ตัน คิดเป็นมูลประมาณ 126,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นหกพันบาท) สามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากกว่า 400,000 บาท (สี่แสนบาท) เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และพัฒนาองค์ความรู้ให้กับชุมชนท้องถิ่นด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม

Loading