
ประวัติความเป็นมา
ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้จัดตั้งขึ้นภายใต้โครงการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ในสถาบันราชภัฏ หรือโครงการ พวส. มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาของสถาบันราชภัฏทั้ง 17 แห่ง โดยเสริมสร้างคุณภาพของอาจารย์ให้เข้าใจเทคนิคการสอนสมัยใหม่ ให้การอบรมทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังให้ทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งในและต่างประเทศ และยังยกระดับและขยายขีดความสามารถของสถาบันราชภัฏ ในการทำวิจัยและจัดเตรียมการบริการทางเทคนิคในการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย จึงได้จัดสร้างอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ เป็นอาคาร 4 ชั้น พร้อมทั้งจัดซื้อครุภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์จำนวนมาก เพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย แก่นักศึกษา อาจารย์ และการบริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น
ศูนย์วิทยาศาสตร์ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2540-2544 ภายใต้แผนงานปรับปรุง คุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา โครงการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ระยะที่ 2 มีทั้งหมด 17 สถาบัน (ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็น 1 ใน 17 แห่ง) โดยใช้งบประมาณสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารโลกและงบประมาณแผ่นดิน โดยใช้ชื่อโครงการว่า “โครงการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และวิทยาศษสตร์ประยุกต์ในสถาบันราชภัฏ” (โครงการ พวส.) Secondary Education Quality Improvement Project หรือ SEQI เริ่มก่อสร้างอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น พื้นที่ 5,650 ตารางเมตร ตัวอาคารสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ใช้งบประมาณ 39,599,900 บาท ติดตั้งครุภัณฑ์ประกอบอาคารและเครื่องมือวิทยาศาสตร์แล้วเสร็จ และเปิดการใช้งานในเดือนเมษายน พ.ศ. 2543 มีการสนับสนุนการเรียนการสอนเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ห้องค้นคว้าทดลองวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมและมีคุณภาพ และการจัดบริการทางวิชาการแก่ชุมชนในรูปแบบของการจัดฝึกอบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ สัมมนา และในปัจจุบันได้มีการแบ่งส่วนราชการโดยศูนย์วิทยาศาสตร์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ปรัชญา
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีก้าวหน้า เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
วิสัยทัศน์
ศูนย์วิทยาศาสตร์สนับสนุนการศึกษาและวิจัยเพื่อการเรียนการสอนและบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น
พันธกิจ
ศูนย์วิทยาศาสตร์มีพันธกิจ 3 ด้าน คือ
1. พัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์
2. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อการเรียนการสอนและท้องถิ่น
3. บริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ท้องถิ่น
ภาระหน้าที่ของหน่วยงาน
ศูนย์วิทยาศาสตร์มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. พัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การจัดกิจกรรม อบรมสัมมนา เพิ่มพูนทักษะความรู้ความสามารถให้แก่ บุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
2. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อการเรียนการสอนและท้องถิ่น
2.1 ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์
2.2 ห้องปฏิบัติการทางเคมี
2.3 ห้องปฏิบัติการชีววิทยาและจุลชีววิทยา
3. บริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ท้องถิ่น
3.1 บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์
3.2 ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์
3.3 ห้องปฏิบัติการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐานสากล
3.4 กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์หรือห้องเรียนวิทยาศาสตร์แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
4. ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ห้องปฎิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายพันธุ์กล้วยไม้ป่ากลับคืนสู่อุทยานแห่งชาติภูพาน นอกจากนี้แล้วการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ยังสามารถนำมาพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมในชุมชน หรือโรงเรียนเพื่อนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับนักเรียน เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะนำไปสู่การสร้างรายได้อีกหนึ่งทาง
บุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์

นางณิชานันท์ กุตระแสง
หัวหน้างานศูนย์วิทยาศาสตร์
ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์
ข้อมูลการศึกษา
ปริญญาตรี (วท.บ.) สาขาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปริญญาโท (วท.ม.) สาขาจุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นางสะใบทิพย์ เลิศศรี
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
ข้อมูลการศึกษา
ปริญญาตรี (คบ.) สาขาคอมพิวเตอร์
สถาบันราชภัฏสกลนคร

นางสาวกนกวรรณ วรดง
ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์
ข้อมูลการศึกษา
ปริญญาตรี (วท.บ.) สาขาชีววิทยา มหาวิทยาลัยทักษิณ
ปริญญาโท (วท.ม.) สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายภีระพัฒน์ ปัดทุมมา
ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์
ข้อมูลการศึกษา
ปริญญาตี (คบ.) สาขาเคมี สถาบันราชภัฏสกลนคร

นายอนันตสิทธิ์ ไชยวังราช
ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์
ข้อมูลการศึกษา
ปริญญาตรี (วท.บ.) สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นางสาวนิรันตรี ทวีโคตร
ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์
ข้อมูลการศึกษา
ปริญญาตรี (วท.บ.) สาขาชีววิทยาประยุกต์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นายธวัชชัย พันธุกาง
ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์
ข้อมูลการศึกษา
ปริญญาตรี (วท.บ.) สาขาเคมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นายมิตรชัย นามโคตร
ตำแหน่ง พนักงานห้องปฏิบัติการ
ข้อมูลการศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนเมืองสกลนคร

นายสมชาย ศรีอริยาภรณ์
ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานโสตทัศนูปกรณ์
ข้อมูลการศึกษา
ปริญญาตรี (วท.บ.) สาขาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ปริญญาโท (ศศ.ม.) สาขาการจัดการอาชีวอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นางวัชรินทร์ ผาจวง
ตำแหน่ง แม่บ้าน
ข้อมูลการศึกษา
มัธยมศึกษาตอนปลาย
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

นางสุพัตรา พิลาทา
ตำแหน่ง แม่บ้าน
ข้อมูลการศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศับ