สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ผศ.ดร.ณีรนุช วรไธสง
ประธานสาขาวิชาวิทยาศาตร์สุขภาพ

ผศ.ดร.กาญจนา วงษ์สวัสดิ์
ที่ปรึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

คณะกรรมการประจำหลักสูตร
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

อาจารย์ ดร.จรินทร์ทิพย์ ชมชายผล
ประธานหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์

ผศ.ดร.กาญจนา วงษ์สวัสดิ์
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผศ.จิราภรณ์ จำปาจันทร์
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อาจารย์ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อาจารย์อนุวัฒน์ สุรินราช
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อาจารย์ ดร.ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม
อาจารย์ประจำหลักสูตร

อาจารย์ ดร.นำพร อินสิน
อาจารย์ประจำหลักสูตร

อาจารย์วิบูลย์สุข ตาลกุล
อาจารย์ประจำหลักสูตร

อาจารย์สุวัสสา ปั้นเหน่ง
อาจารย์ประจำหลักสูตร

นางสาวศิริพร โพธิ์ศรี
เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไปปฏิบัติการ

ข้อมูลของหลักสูตร

1. หลักการและเหตุผล  

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์  เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดนเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้น สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จึงมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตด้านสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน บนพื้นฐานแห่งคุณธรรมและจริยธรรม พัฒนาสุขภาวะของตนเอง สาธารณชนในท้องถิ่นและประเทศชาติ

2. ปรัชญา ความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

     2.1 ปรัชญา

มุ่งพัฒนาบัณฑิตให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน บนพื้นฐานแห่งคุณธรรมและจริยธรรม พัฒนาสุขภาวะตนเอง สาธารณชนในท้องถิ่นและประเทศชาติ

     2.2 ความสำคัญ

          หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตให้เป็นนักสาธารณสุขชุมชน ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี ภายใต้กรอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562 ที่มีสภาการสาธารณสุขชุมชนกำกับดูแลให้มีมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งการจัดทำหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ นี้อยู่ภายใต้หลักการสำคัญ ได้แก่ 1) แนวคิดของการจัดทำหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์เป็นหลักสูตรบูรณาการ เน้นสมรรถนะการเรียนรู้ด้วยตนเองบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ และประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านสุขภาพอย่างเหมาะสมตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ รวมกับการส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวังและป้องกันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ จากโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต 2) การกำหนดโครงสร้างหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของการใช้บัณฑิตในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งความต้องการของผู้เรียนที่จะต้องเป็นแบบอย่างในการดูแลสุขภาพตลอดชีวิต ตามศักยภาพ สะท้อนอัตลักษณ์ของผู้เรียนและสภาพบริบทของประเภทสถาบัน โดยยึดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดขึ้น 3) การส่งเสริมการจัดทำหลักสูตรรายวิชาที่ทันสมัยเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก มีการจัดการเรียนการสอนที่ใช้สื่อเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  4) การส่งเสริมการบริหารจัดการหลักสูตร การเรียนการสอน การฝึกปฏิบัติการวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน 5) การส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาในหน่วยงานด้านสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยประสานงานและสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายหน่วยงานภายนอก และ 6) การส่งเสริมการวางระบบการประกันคุณภาพหลักสูตรที่เข้มข้นเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามเป้าหมายของหลักสูตร จึงได้ปรับเนื้อหารายวิชาให้ทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพประเทศ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ตลอดจนสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี ภายใต้กรอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562 ซึ่งหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กำหนดสมรรถนะหลักในการพัฒนานักศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนไว้ ดังนี้ 1) ทักษะด้านการจัดการสุขภาพในชุมชน (Community :C) 2) ทักษะสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย (Promotion :P) 3) ทักษะการควบคุมและป้องกันโรค (Prevention :P) 4) มีจิตสาธารณะ (Public mind :P) และ 5) มีความพร้อมปฏิบัติงานในทุกสถานการณ์ (Prompt :P) โดยกำหนดอักษรย่อไว้เป็นหลักปฏิบัติ คือ C4P 

นอกจากนี้ คณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรยังได้นำข้อมูลผลสำรวจความต้องการพัฒนาสมรรถนะมากำหนดเป็นจุดเด่นของบัณฑิตสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 3 ด้าน ได้แก่ 1) การเป็นนักสื่อสารสุขภาพ (Health communicator) ที่เข้าถึง เข้าใจข้อมูลสุขภาพที่หลากหลาย ประเมินตัดสินใจเลือกข้อมูลสุขภาพมาจัดการสุขภาพตนเองได้เหมาะสมและบอกต่อผู้อื่นได้  2) การเป็นผู้นำกิจกรรมด้านสุขภาพ (Health activity leader) คือเป็นต้นแบบด้านสุขภาพ และสามารถออกแบบกิจกรรมด้านสุขภาพแก่ประชาชนได้อย่างเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และ 3) สามารถแก้ไขปัญหาการทำงานได้อย่างเป็นระบบโดยใช้กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยได้ (Routine to research; R2R) คือ สามารถพัฒนางานประจำให้เป็นผลงานวิจัยเพื่อนำไปปรับปรุงการทำงานและการให้บริการด้านสุขภาพให้ดีขึ้นในบริบทขององค์กร 

   2.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตสาขาสาธารณสุขศาสตร์ ที่ตอบสนองความต้องการด้านสาธารณสุขโดยมุ่งหวังให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามีคุณลักษณะในด้านต่าง ๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้

2.3.1 เพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา 6 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้เชิงวิชาการด้านสาธารณสุข 3) ด้านทักษะทางปัญญาเพื่อพัฒนาด้านสาธารณสุข 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบต่อสังคมและองค์กร 5) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 6) ด้านการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ

2.3.2 เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะและสมรรถนะการทำงานภายใต้พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556 โดยมีทักษะสำคัญตามที่หลักสูตรกำหนด ดังนี้ 1) การจัดการสุขภาพในชุมชน (Community: C) 2) การสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย (Promotion :P) 3) การควบคุมและป้องกันโรค (Prevention :P) 4) มีจิตสาธารณะ (Public mind :P) และ 5) มีความพร้อมปฏิบัติงานในทุกสถานการณ์ (Prompt :P) หรือ C4P

          2.3.3 เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เอื้อต่อการทำงานด้านสาธารณสุข โดยเน้นทักษะสำคัญสามประการ คือ 1) การเป็นนักสื่อสารสุขภาพ 2) การเป็นผู้นำกิจกรรมด้านสุขภาพ และ 3) การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย

ข้อมูลอาจารย์