ประวัติความเป็นมา ของสาขาวิชาคอมพิวเตอร์
ตามประกาศพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูพุทธศักราช 2518 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2519 ให้วิทยาลัยครูทุกแห่ง ขยายการศึกษาถึงระดับปริญญาตรี ทำให้วิทยาลัยครูสกลนครในสมัยนั้นได้จัดตั้งภาควิชาคอมพิวเตอร์ขึ้น โดยเปิดสอน วิชาเอกคอมพิวเตอร์ระดับอนุปริญญา 2 ปี วิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษาระดับปริญญาตรี 2 ปี และปริญญาตรี 4 ปี สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พ.ศ. 2540 มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานวิชาการจากภาควิชาเป็นโปรแกรมวิชา
พ.ศ. 2541 ภาควิชาคอมพิวเตอร์เปลี่ยนเป็นโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาระดับปริญญาตรี 2 ปี และ 4 ปี และโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ระดับอนุปริญญา
พ.ศ. 2542 โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ได้เสนอศักยภาพเพื่อขอเปิดโปรแกรมวิชาวิทยาการ
คอมพิวเตอร์และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้หลักสูตรร่วมของสถาบันราชภัฏ และได้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็นโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ. 2549 ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็นสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยปรับปรุงหลักสูตรสำหรับนักศึกษาที่ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานการอุดมศึกษา โดยใช้ชื่อหลักสูตรคือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2553 ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานจากสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสาขาวิชาคอมพิวเตอร์
ข้อมูลเบื้องต้นของหน่วยงาน
ที่ตั้ง อาคาร 7 ห้อง 723 และ 732 อาคาร 9 ห้อง 9106
ที่อยู่ เลขที่ 680 หมู่ 11 ถนนนิตโย ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทรศัพท์ 0-4297-0029, 0-4297-0030
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัย
“การจัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ เน้นผู้เรียนใช้ความรู้ควบคู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์”
ปรัชญาการศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“การจัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น”
ปรัชญา (สาขาวิชาคอมพิวเตอร์)
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยงานจัดการศึกษาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนาท้องถิ่นบนพื้นฐานแห่งคุณธรรม
วิสัยทัศน์ (สาขาวิชาคอมพิวเตอร์)
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เป็นหน่วยงานผลิตบัณฑิตด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความรู้ คู่คุณธรรม ร่วมพัฒนาท้องถิ่น
พันธกิจ (สาขาวิชาคอมพิวเตอร์)
- ผลิตบัณฑิตด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีคุณภาพและคุณธรรม
- การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นไปตามมาตรฐานและสามารถบริการชุมชนได้
- พัฒนาบุคลากรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
- พัฒนาคณาจารย์และบุคลากรให้มีความก้าวหน้าด้านวิชาการและวิชาชีพ
- พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ในวิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
- บริหารจัดการสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ให้มีคุณภาพ
อัตลักษณ์ (สาขาวิชาคอมพิวเตอร์)
บัณฑิตเป็นคนดี มีจิตสาธารณะ ใจสู้ รู้งาน เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
โครงสร้างหลักสูตรเทคโนโลสารสนเทศ




โครงสร้างหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์
รายวิชาในหลักสูตร
1) ความหมายของรหัสวิชา
รหัสวิชาประกอบด้วยเลข 8 ตัว แต่ละหลักมีความหมายดังนี้
หลักที่ 1 หมายถึง รหัสคณะ
หลักที่ 2 – 4 หมายถึง หมู่วิชา
หลักที่ 5 หมายถึง ระดับความยากง่ายหรือชั้นปีที่จัดให้เรียน
หลักที่ 6 หมายถึง กลุ่มเนื้อหาวิชาในหมู่วิชา
หลักที่ 7-8 หมายถึง ลำดับที่ของรายวิชาในกลุ่มเนื้อหาวิชา
2) รายวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2562 จัดรายวิชาสำหรับการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา กำหนดให้เรียนให้ครบทุกกลุ่มวิชา ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต ดังนี้
ก. รายวิชาบังคับ จำนวน 12 หน่วยกิต
ข. รายวิชาเลือก จำนวน 18 หน่วยกิต
ก. รายวิชาบังคับ กำหนดให้เรียน จำนวน 12 หน่วยกิต ดังนี้
1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร เรียน 9 หน่วยกิต จากรายวิชา
01540108 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 3(3-0-6)
01552701 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3(3-0-6)
01550104 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม 3(3-0-6)
2) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เรียน 3 หน่วยกิต จากรายวิชา
02500104 วัฒนธรรมแอ่งสกลนคร 3(2-2-5)
ข. รายวิชาเลือก กำหนดให้เรียน จำนวน 18 หน่วยกิต โดยเลือกให้ครอบคลุม 4 กลุ่มวิชา ดังต่อไปนี้
1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร
01540109 การเขียนภาษาไทยทั่วไป 3(3-0-6)
01540107 การอ่านเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม 3(3-0-6)
01550105 การอ่านและเขียนภาษาอังกฤษทั่วไป 3(3-0-6)
01560102 ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น 3(3-0-6)
01570102 ภาษาจีนเบื้องต้น 3(3-0-6)
01670102 ภาษาลาวเบื้องต้น 3(3-0-6)
01710102 ภาษาเวียดนามเบื้องต้น 3(3-0-6)
01551601 ทักษะการพูดและการฟังภาษาอังกฤษ 3(3-0-6)
01553601 ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะชีวิตประจำวัน 3(3-0-6)
2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
02531203 ศิลปะการดำเนินชีวิต 3(3-0-6)
01511401 จริยธรรมเพื่อการดำเนินชีวิต 3(3-0-6)
01500109 สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ 3(3-0-6)
01511502 สุนทรียภาพเพื่อชีวิต 3(3-0-6)
01500113 ศาสนธรรมเพื่อคนร่วมสมัย 3(3-0-6)
02531204 จิตตปัญญาศึกษา 3(2-2-5)
03611201 หมากล้อม 3(3-0-6)
02053301 สุนทรียะ 3(3-0-6)
3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
02531202 สังคมไทยกับโลกาภิวัตน์ 3(3-0-6)
02531201 วิถีอาเซียน 3(3-0-6)
02500106 กฎหมายเพื่อชีวิต 3(3-0-6)
02500107 สันติศึกษา 3(3-0-6)
02551101 พลเมืองศึกษา 3(3-0-6)
03500102 หลักการจัดการสมัยใหม่ 3(3-0-6)
03500104 การพัฒนาที่ยั่งยืน 3(3-0-6)
03621101 การเป็นผู้ประกอบการ 3(3-0-6)
02533201 ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 3(2-2-5)
4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ – วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
04000105 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน 3(3-0-6)
04000106 คอมพิวเตอร์และสารสนเทศขั้นพื้นฐาน 3(2-2-5)
04000107 ชีวิตและสุขภาพ 3(3-0-6)
04071201 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน 3(3-0-6)
05000104 การเกษตรและอาหารเพื่อชีวิต 3(3-0-6)
05500103 เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3(3-0-6)
04000109 การพัฒนาทักษะการคิด 3(3-0-6)
05151101 เกษตรภูมิปัญญาพื้นถิ่น 3(3-0-6)
04071202 ครอบครัวศึกษา 3(3-0-6)
04002101 ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อชีวิตและอาชีพ 3(3-0-6)
04073501 การสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะ 3(3-0-6)
2. หมวดวิชาเฉพาะ หลักสูตรจัดรายวิชาสำหรับการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 95 หน่วยกิต ดังนี้
2.1 กลุ่มวิชาแกน 9 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ 70 หน่วยกิต
2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก 12 หน่วยกิต
2.4 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 4 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาแกน 9 หน่วยกิต
14121306 หลักการเขียนโปรแกรม 3(2-2-5)
14121402 คณิตศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(3-0-6)
14123407 สถิติและการวิจัยสำหรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(2-2-5)
2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ กำหนดให้เรียน จำนวน 70 หน่วยกิต ดังนี้
1) กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ 9 หน่วยกิต
14122219 การจัดการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(2-2-5)
14124208 การบริหารโครงการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(2-2-5)
43521103 หลักการบัญชี 3(2-2-5)
2) กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ 28 หน่วยกิต
14121607 หลักการและระบบการจัดการฐานข้อมูล 3(2-2-5)
14122606 การออกแบบสื่อดิจิทัลเบื้องต้น 3(2-2-5)
14122607 การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ 3(2-2-5)
14122608 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 3(2-2-5)
14123605 การบูรณาการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
สำหรับชุมชน 3(2-2-5)
14123606 การประยุกต์ใช้ระบบภูมิศาสตร์เบื้องต้น 3(2-2-5)
14123607 สัมมนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 1(1-0-2)
14123609 โครงงานคอมพิวเตอร์ 1 1(1-0-2)
14123610 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3(2-2-5)
14123613 การผลิตสื่อแอนิเมชัน 3(2-2-5)
14124604 โครงงานคอมพิวเตอร์ 2 2(1-2-3)
3) กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ 18 หน่วยกิต
14121305 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 3(2-2-5)
14122313 อินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง 3(2-2-5)
14122314 โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม 3(2-2-5)
14122315 เทคโนโลยีเว็บและการให้บริการ 3(2-2-5)
14122316 การเขียนโปรแกรมบนเว็บ 3(2-2-5)
14123333 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ 3(2-2-5)
4) กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานระบบ 9 หน่วยกิต
14122701 ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล 3(2-2-5)
14122702 การจัดการความมั่นคงและปลอดภัย 3(2-2-5)
14123225 มาตรฐานสากลด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(2-2-5)
5) กลุ่มฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 6 หน่วยกิต
14121701 ระบบการบำรุงรักษาทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(2-2-5)
14121702 ระบบปฏิบัติการและเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม 3(2-2-5)
2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต โดยเลือกจากรายวิชาในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังต่อไปนี้
กลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูล
14123211 ฐานข้อมูลขั้นสูง 3(2-2-5)
14123213 คลังข้อมูลและเหมืองข้อมูล 3(2-2-5)
14123611 ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ขั้นสูง 3(2-2-5)
14123612 ธุรกิจอัจฉริยะ 3(2-2-5)
14123226 ข้อมูลขนาดใหญ่ 3(2-2-5)
14124403 ปัญญาประดิษฐ์ 3(2-2-5)
กลุ่มการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
14123334 การเขียนโปรแกรมบนเว็บขั้นสูง 3(2-2-5)
14123335 การเขียนโปรแกรมบนคลาวด์ 3(2-2-5)
14123336 การออกแบบเว็บ 3(2-2-5)
14123337 การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงอ็อบเจกต์ 3(2-2-5)
14124315 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ขั้นสูง 3(2-2-5)
กลุ่มเครือข่าย
14123717 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย 3(2-2-5)
14123718 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการ 3(2-2-5)
14123720 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการขั้นสูง 3(2-2-5)
14124702 ระบบเครือข่ายขั้นสูง 3(2-2-5)
14124703 การออกแบบระบบเครือข่ายการสื่อสารและความปลอดภัยสำหรับองค์กร 3(2-2-5)
กลุ่มเนื้อหาทางดิจิทัล
14123614 การสร้างเทคนิคพิเศษทางภาพ 3(2-2-5)
14123615 การพัฒนาเกม 3(2-2-5)
14123618 การพัฒนาเกมขั้นสูง 3(2-2-5)
14124605 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงผสม 3(2-2-5)
14123114 จริยธรรมและกฎหมายสำหรับนักเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(3-0-6)
กลุ่มเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน
14121105 ภาษามือไทยเบื้องต้น 3(2-2-5)
14123224 เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาสำหรับผู้พิการ 3(2-2-5)
14123617 หลักการออกแบบกราฟิกและการใช้งานโปรแกรมกราฟิก 3(2-2-5)
14124606 การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียทางการศึกษาสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน 3(2-2-5)
14124607 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน 3(2-2-5)
2.4 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต ดังนี้
14123803 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ 1(90)
14123806 การเตรียมสหกิจศึกษา 1(90)
14124804 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ 3(450)
หรือ
14124805 สหกิจศึกษา 6(640)
3. หมวดวิชาเลือกเสรี กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ให้เลือกรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่ เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาของหลักสูตร
- กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร
- กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
- กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ – วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
01540108 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai for Communication) 3(3-0-6)
การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ฝึกทักษะการใช้ภาษาด้านการฟัง การพูด การอ่านการเขียน ได้แก่ การฟังบทสนทนา การฟังข่าว ฟังอภิปราย การพูดแสดงความคิดเห็น การพูดโน้มน้าวใจ การโต้วาที การพูดในโอกาสต่างๆ การอ่านสรุปใจความ การอ่านตีความ การอ่านวิเคราะห์และวิจารณ์ การเขียนสะกดคำไทย การอ่านย่อหน้า การเขียนเรียงความ รวมถึงการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ และสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ และสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
01540109 การเขียนภาษาไทยทั่วไป (Thai Writing for General Purposes) 3(3-0-6)
หลักการเขียน รูปแบบการเขียน ลักษณะและการใช้ประโยชน์ของงานเขียน เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การเขียนเล่าเรื่อง การเขียนจดหมาย การเขียนบันทึกข้อความ การเขียนคำถาม-ตอบในแบบสอบถาม การเขียนเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น การเขียนเพื่อโน้มน้าวจิตใจ การเขียนเอกสารสิทธิ์และสัญญาตามกฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
01540107 การอ่านเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม (Reading for Life and Social Development) 3(3-0-6)
หลักการและทักษะการอ่านประเภทต่างๆ ได้แก่ การอ่านสรุปความ การอ่านตีความ การอ่านวิเคราะห์ วิจารณ์ การอ่านงานเขียนประเภทต่างๆ ในนิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ และวรรณกรรม หรือสื่ออื่นๆ ที่สร้างจิตสำนึกที่ดีต่อตนเองและสังคม รวมถึงสามารถนำแนวความคิดหรือประโยชน์จากการอ่านไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเน้นอ่านงานเขียนจากสื่อประเภทต่างๆ สัปดาห์ละ 1 เรื่อง และจัดสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับการอ่าน เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา
01552701 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (English for Communication) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษที่จำเป็นในการสื่อสารบูรณาการกับชีวิตประจำวัน การใช้ภาษาอังกฤษสนทนา บรรยาย บันทึก สรุปใจความ นำเสนอในบริบทที่หลายหลาย
01550104 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (English for Cross Cultural Communication) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษระดับสูง เรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมของนานาประเทศ เน้นกลุ่มประเทศอาเซียน ศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พูดนำเสนอผลงาน และแสดงความคิดเห็น
01550105 การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษทั่วไป (Reading and Writing English for General Purposes) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะพัฒนาการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยจากสิ่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน พัฒนาการเขียนที่บูรณาการกับทักษะการอ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
01560102 ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น (Fundamentals of Japanese Language) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ศึกษารูปประโยคและไวยากรณ์พื้นฐาน ฝึกบทสนทนา ที่ใช้ใน ชีวิตประจำวัน การอ่าน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาญี่ปุ่นในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น
01570102 ภาษาจีนเบื้องต้น (Fundamentals of Chinese Language) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ศึกษารูปประโยคและไวยากรณ์พื้นฐาน ฝึกบทสนทนา ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่าน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาจีนในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศจีน
01670102 ภาษาลาวเบื้องต้น (Fundamentals of Lao Language) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน เน้นทักษะการอ่านและการเขียน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาลาวในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศลาว
01710102 ภาษาเวียดนามเบื้องต้น (Fundamentals of Vietnamese Language) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ศึกษารูปประโยคและไวยากรณ์พื้นฐาน ฝึกบทสนทนา ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่าน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาเวียดนามในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศเวียดนาม
01551601 ทักษะการพูดและการฟังภาษาอังกฤษ (English Speaking and Listening Skills) 3(3-0-6)
พูดบอกรายละเอียดและสรุปประเด็นสำคัญ ฟังบทสนทนาและข้อความสั้นๆแล้วจับใจความ ใช้ประโยคและสำนวนเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว (ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลของครอบครัว การซื้อของ ภูมิศาสตร์ท้องถิ่น การจ้างงาน) สื่อสารเรื่องที่ง่ายและเป็นกิจวัตรที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยตรงและไม่ยุ่งยากเกี่ยวกับสิ่งที่คุ้นเคยหรือทำเป็นประจำ ใช้ภาษาและโครงสร้างทางไวยากรณ์ในการพูดโต้ตอบในสถานการณ์ที่แตกต่างหลากหลายโดยใช้ภาษา น้ำเสียง กิริยาท่าทางที่เหมาะสมตามมารยาททางสังคม และรู้ถึงวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา โดยเน้นกระบวนการทางภาษา คือ พูด ฟัง อ่าน เขียน การสื่อสาร การสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล และการฝึกปฏิบัติทักษะการสื่อสารตามสถานการณ์ต่างๆ
01553601 ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะชีวิตประจำวัน (English for Daily Life Skill) 3(3-0-6)
พูดคุยเชิงเทคนิคในเรื่องที่มีความเชี่ยวชาญ โต้ตอบอย่างคล่องแคล่วและเป็นธรรมชาติโต้ตอบกับผู้พูดที่เป็นเจ้าของภาษาได้โดยไม่มีความเคร่งเครียด สร้างถ้อยคำที่ชัดเจนและมีความละเอียดในหัวข้อที่หลากหลาย โดยมีความเข้าใจจุดประสงค์ของประเด็นที่มีความซับซ้อนทั้งรูปธรรมและนามธรรม อธิบายมุมมองเกี่ยวกับปัญหาเฉพาะที่มีความได้เปรียบและเสียเปรียบ ฝึกปฏิบัติทักษะภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ
02531203 ศิลปะการดำเนินชีวิต (Art of Living) 3(3-0-6)
ความหมายและคุณค่าของชีวิต ศิลปะการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าและความหมายต่อตนเอง ครอบครัว สังคม กรณีตัวอย่างที่ให้แรงบันดาลใจในการสร้างความสำเร็จและความสุขในชีวิต
01511401 จริยธรรมเพื่อการดำเนินชีวิต (Morality for Living) 3(3-0-6)
หลักจริยธรรมกับการพัฒนาชีวิต การพัฒนาตนด้านพฤติกรรม จิตใจและปัญญา การสร้างจิตสำนึกตระหนักในความเป็นสุจริตชน การสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อโลกและสังคม การบริหารความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ เคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเป็นสุขและมีสันติภาพ
01500109 สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Information for Learning) 3(3-0-6)
ความหมาย ความสำคัญของสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ การสืบค้นและแสวงหาสารสนเทศด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การศึกษา รวบรวม การจัดเก็บ และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศด้วยรูปแบบที่ทันสมัย และมีขั้นตอนที่เป็นมาตรฐาน
01511502 สุนทรียภาพเพื่อชีวิต (Aesthetics for Life) 3(3-0-6)
ความหมาย ความสำคัญของสุนทรียศาสตร์ต่อชีวิต คุณค่าเชิงสุนทรียะ ของงานศิลปะ การรับรู้ความงาม ความซาบซึ้งในศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ ด้านโสตศิลป์ และศิลปะการแสดง ในระดับท้องถิ่น ชาติและสากล เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตและสังคม
01500113 ศาสนธรรมเพื่อคนร่วมสมัย (Contemporary Religious Virtues) 3(3-0-6)
หลักคำสอนของศาสนาสำคัญที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ วิเคราะห์เชื่อมโยงหลักธรรมกับศาสตร์สาขาต่างๆ บูรณาการหลักศาสนาและแนวคิดของปราชญ์ทางศาสนา เพื่อการแก้ปัญหาชีวิตและสังคม เน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning
02531204 จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) 3(2-2-5)
ธรรมชาติของจิตมนุษย์ แก่นแท้ของชีวิตและธรรมชาติ หลักการภาวนา เพื่อฝึกฝนความรู้สึกตัว (สติ) การปฏิวัติจิตสำนึกเดิมสู่จิตสำนึกใหม่ที่เข้าถึงความเป็นอิสระ ความสุข ปัญญา และความอาทรต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่ง การพัฒนาตนเองอย่างสมดุลสู่ความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ เน้นวิธีการเรียนรู้ที่นำผู้เรียนไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในตนเองอย่างลึกซึ้งและเชื่อมโยงไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลกผ่านกระบวนการจิตตภาวนา สุนทรียสนทนา การทำงานศิลปะ โยคะ
03611201 หมากล้อม (GO) 3(3-0-6)
ประวัติความเป็นมาของหมากล้อม กฎ กติกา มารยาท วัตถุประสงค์ พื้นฐานของการเล่นหมากล้อม ทักษะทางปัญญา 11 ประการ บัญญัติ 10 ประการ เทคนิคในการเล่นหมากล้อมแบบต่างๆ การแก้ปัญหาระหว่างเกม คุณค่าของหมากล้อมและการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
02053301 สุนทรียะ (Aesthetics) 3(3-0-6)
ขับร้องเพลงตามจังหวะ ทำนอง และเนื้อหาของเพลงไทยสากลแต่ละประเภทและเพลงรำวงมาตรฐาน เล่นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ออกแบบกิจกรรมนันทนาการ จัดกิจกรรมนันทนาการ ปฏิบัติการรำวงในเพลงมาตรฐาน ออกแบบการแสดง จัดการแสดง วิเคราะห์หลักทางสุนทรียศาสตร์ในงานทัศนศิลป์ หลักการทางทัศนธาตุ หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ หลักการออกแบบป้ายนิเทศ ออกแบบฉาก เวที สื่อการเรียนรู้ และแฟ้มผลงาน จัดทำผลงานทางศิลปะ นำเสนอผลงาน และวิพากษ์ผลงานศิลปะ
* 02500104 วัฒนธรรมแอ่งสกลนคร (Culture of Sakon Nakhon Basin) 3(2-2-5)
สภาพทางภูมิศาสตร์ ลักษณะทางกลุ่มชาติพันธุ์ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประวัติศาสตร์การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและฒนธรรม ชีวประวัติบุคคลสำคัญของท้องถิ่น ภูมิปัญญาทางด้านลปกรรม หัตถกรรม ประเพณี พิธีกรรม ภาษา และวรรณกรรม ฯลฯ ในบริเวณแอ่งสกลนคร อัตลักษณ์และพลวัตการปรับตัวของชุมชนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเน้นกระบวนการศึกษาชุมชนในท้องถิ่นให้เชื่อมโยงกับสาขาวิชาที่นักศึกษาเรียน และมีการ
นำเสนอผลงานเชิงประจักษ์
* สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครในคราวประชุมครั้งที่ 4/2562 เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2562 เห็นชอบกำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องเรียนวิชาวัฒนธรรมแอ่งสกลนคร ยกเว้นกรณีที่เคยเรียนมาแล้ว
02531201 วิถีอาเซียน (The ASEAN Ways) 3(3-0-6)
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์ พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่น อาเซียน การยอมรับปรับรูปแบบวิถีชีวิต คติความเชื่อ ค่านิยม จิตวิญญาณ สังคม วัฒนธรรมของภูมิภาคความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน วิถีอาเซียนในสังคมโลกปัจจุบัน
02500106 กฎหมายเพื่อชีวิต (Laws for Life) 3(3-0-6)
ลักษณะทั่วไปของกฎหมาย หลักการพื้นฐานของนิติรัฐ กระบวนการยุติธรรมและหลักกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หลักสิทธิมนุษยชนกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เน้นศึกษากรณีตัวอย่างในชีวิตประจำวัน
02500107 สันติศึกษา (Peace Studies) 3(3-0-6)
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสันติภาพ การวิเคราะห์ความขัดแย้งและความรุนแรงกรณีศึกษาความขัดแย้งและการใช้สันติวิธีในระดับชีวิต ชุมชนและสังคม เครื่องมือสันติวิธี ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง การสื่อสารเพื่อสันติ การสานเสวนาที่เน้นการฟังอย่างลึกซึ้งและการใช้สันติวิธี ในชีวิตประจำวัน
02551101 พลเมืองศึกษา (Civic Education) 3(3-0-6)
หลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบระชาธิปไตย การปกครองโดยกฎหมายสิทธิและหน้าที่ความเป็นพลเมือง สิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน พลวัต การเมืองภาคประชาชนและประชาสังคม ของสังคมการเมืองไทย บทบาทของพลเมืองในประเทศต่างๆ สร้างเสริมจิตสำนึกสาธารณะโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาสภาพปัญหาที่เป็นจริงในชุมชนท้องถิ่น
03500102 หลักการจัดการสมัยใหม่ (Principles of Modern Management) 3(3-0-6)
แนวคิดและหลักการจัดการ การจัดองค์การ การจัดการทรัพยากรขององค์การหน้าที่ในการจัดการ ทฤษฎีการจัดการสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาชีวิต สังคม และองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก
03500104 การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) 3(3-0-6)
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนา การประยุกตใชแนวคิดทฤษฎีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีความเหมาะสมกับสภาพทางสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของชุมชน กรณีตัวอย่างการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ(UN-Sustainable Development Goals)
03621101 การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) 3(3-0-6)
การเริ่มต้นธุรกิจการเป็นผู้ประกอบการ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดกลยุทธ์การสร้างธุรกิจ รูปแบบทางกฎหมายของธุรกิจ แผนธุรกิจ การเลือกทำเลที่ตั้ง แผนการตลาด ผลิตภัณฑ์ และราคา การจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาด ระบบบัญชีและงบการเงิน การจัดการทางการเงิน และภาษีอากร การจัดองค์การและการจัดการบุคลากร แนวโน้มการดำเนินธุรกิจในอนาคต และจริยธรรมทางธุรกิจ
02533201 ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (The King Wisdom for Local Development) 3(2-2-5)
ประยุกต์ใช้หลักการทรงงาน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนในชีวิตประจำวันได้ ศึกษาแนวคิด และหลักการของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ ฉลาดรู้เพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบตามศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม และร่วมมือกันทำงานโดยบูรณาการแบบองค์รวมกับทีมภาคีเครือข่าย
04000105 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน (Mathematics in Daily Life) 3(3-0-6)
ธรรมชาติของวิชาคณิตศาสตร์ พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ กับการใช้เหตุผล ความน่าจะเป็นและสถิติในชีวิตประจำวัน การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ดอกเบี้ย ร้อยละ ค่างวดคณิตศาสตร์สำหรับผู้บริโภค คณิตศาสตร์กับเกม คณิตศาสตร์กับศิลปะ กำหนดการเชิงเส้นเบื้องต้น คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง”
04000106 คอมพิวเตอร์และสารสนเทศขั้นพื้นฐาน (Fundamentals of Computer and Information 3) (2-2-5)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูลเบื้องต้น การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายพื้นฐาน การใช้ระบบเครือข่าย เพื่อการสื่อสารและสืบค้นอย่างมีจริยธรรม กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีารสนเทศ การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
04000107 ชีวิตและสุขภาพ (Life and Health) 3(3-0-6)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการของชีวิตและระบบที่สำคัญของร่างกายมนุษย์ แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพแบบองค์รวม องค์ประกอบของสุขภาพ กลไกการปรับตัวของร่างกายเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาสุขภาพ โรคและการป้องกันการเกิดโรคของบุคคลในวัยต่าง ๆ แนวคิดเกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมหลักการออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ การประเมินภาวะสุขภาพ การตรวจสุขภาพเบื้องต้น และการทดสอบสมรรถภาพทางกาย การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ อนามัยสิ่งแวดล้อม และชีวอนามัยเพื่อสุขภาพ
04071201 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน (Science and Technology in Daily Life) 3(3-0-6)
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์การเกษตร เทคโนโลยีอุตสาหกรรม และเวชศาสตร์ชะลอวัย มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ผลกระทบของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อมนุษย์ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมและการแก้ปัญหาด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์
05000104 การเกษตรและอาหารเพื่อชีวิต (Agriculture and Food for Life) 3(3-0-6)
ความสำคัญของการเกษตร หลักการผลิต และผลิตผลทางการเกษตร ด้านพืช สัตว์ ประมง การแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร ประเภทเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ข้าวและธัญพืช ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม การควบคุมคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร และความปลอดภัยของผู้บริโภค
05500103 เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Technology and Innovation for Sustainable Development) 3(3-0-6)
ความหมาย แนวคิดและบทบาทเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อการดำเนินชีวิตและส่งเสริมอาชีพในปัจจุบัน ผลกระทบต่อสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา สภาพแวดล้อมและความเป็นมนุษย์ รวมถึงวิเคราะห์และวางแผนเพื่อสร้างเครื่องมือสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน โดยเน้นการรักษาเอกลักษณ์ของชุมชน วัฒนธรรมท้องถิ่น ศึกษาชุมชนหรือหมู่บ้านวัฒนธรรมต้นแบบ
04000109 การพัฒนาทักษะการคิด (Thinking Skills Development) 3(3-0-6)
ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการคิด เทคนิค และวิธีคิดประเภทต่าง ๆ กรณีศึกษา และการฝึกทักษะการคิดเพื่อนำไประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
05151101 เกษตรภูมิปัญญาพื้นถิ่น (Folk Wisdom in Agriculture) 3(3-0-6)
บริบทการเกษตรของประเทศไทย นิยาม ความหมาย แนวคิด หลักการ การประยุกต์ และเทคนิคการปฏิบัติของเกษตรทางเลือก โดยการบูรณาการธรรมชาติ สังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่นเพื่อสร้างคุณค่าการเกษตรอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ฝึกปฏิบัติการ การศึกษาดูงานนอกสถานที่
04071202 ครอบครัวศึกษา (Family Studies) 3(3-0-6)
ครอบครัว สัมพันธภาพในครอบครัว ทักษะการบริหารชีวิตคู่ การจัดการปัญหาครอบครัว การสร้างสรรค์ครอบครัวที่มีคุณภาพ การปรับตัวของครอบครัวสมัยใหม่ เพศสภาพและสิทธิเสรีภาพในสังคมสมัยใหม่
04002101 ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อชีวิตและอาชีพ (21st Century Skills for Life and Career) 3(3-0-6)
สืบค้น วิเคราะห์ แนวคิด ทฤษฏีเกี่ยวกับทักษะ 3R 8C โดยบูรณาการการประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตและ การประกอบอาชีพอย่างมีคุณภาพในศตวรรษที่ 21
04073501 การสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะ (Health Promotion and Care) 3(3-0-6)
สืบค้น วิเคราะห์ สรุปการสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะ ความสำคัญของกีฬาและนันทนาการและนโยบายสาธารณะเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การออกแบบและจัดกิจกรรมการสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะทางกาย จิต สังคมและปัญญา การออกแบบกีฬาและนันทนาการในการจัดการเรียนรู้ ความพร้อมในสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะในด้านที่สำคัญ
14121306 หลักการเขียนโปรแกรม (Programming Principles) 3(2-2-5)
หลักการพื้นฐานของขั้นตอนวิธี ประเภทตัวแปรภาษา กระบวนการทำงานของโปรแกรม กระบวนทัศน์ของการเขียนโปรแกรม การเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง การวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบโปรแกรมเบื้องต้น การเขียนผังงาน คำสั่งเทียม อัลกอริทึมพื้นฐาน รูปแบบไวยากรณ์ การพัฒนาโปรแกรมโดย เลือกภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งที่เหมาะสม
14121402 คณิตศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Mathematics for Computer and Digital Technologies) 3(3-0-6)
ตรรกศาสตร์ พีชคณิตบูลีน เซตและฟังก์ชัน ระบบเลขฐานสอง เลขฐานสิบหก เมทริกซ์และ เวคเตอร์ ระบบสมการ อสมการเชิงเส้น ระบบเลขจำนวนและอนุกรม ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น
14123407 สถิติและการวิจัยสำหรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Statistics and Research for Computer and Digital Technologies) 3(2-2-5)
การประยุกต์งานทางสถิติเชิงปริมาณสำหรับงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ประเภทการวิจัย การดำเนินการวิจัย การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ทั้งสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง เช่น การแจกแจงความถี่ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ ส่วนกลาง การวัดการกระจายของข้อมูล การแจกแจงแบบที การแจกแจงแบบปกติ การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ การแจกแจงไคสแควร์ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์การวิเคราะห์การถดถอย การฝึกปฏิบัติด้วยซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมและการเขียนรายงานการวิจัย
- กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ
- กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์
- กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์
- กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานระบบ
- กลุ่มฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
14122219 การจัดการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Management of Computer and Digital Technologies) 3(2-2-5)
การทบทวนระบบสารสนเทศ หลักการบริหารองค์กรสมัยใหม่ โครงสร้างของระบบสารสนเทศชนิดต่างๆ เช่น ระบบประมวลผลธุรกรรม ระบบจัดการข้อมูล ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น มาตรฐานการสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศ สำนักงานอัตโนมัติ และการกำหนดกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศและการสื่อสาร การฝึกปฏิบัติด้วยซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม
14124208 การบริหารโครงการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Computer and Digital Technologies Project Management) 3(2-2-5)
การบริหารโครงการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล ทั้งด้านการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการพัฒนาระบบต่างๆ และการพัฒนาความรู้ให้กับบุคลากร โดยใช้การบริหารการผสมผสาน การบริหารขอบเขต การบริหารเวลา การบริหารต้นทุน การบริหารคุณภาพ การบริหารทรัพยากรบุคคล การบริหารการติดต่อสื่อสารของการบริหารความเสี่ยง การบริหารการจัดหาครงการ การบริหารโครงการด้วยแผนภูมิแกนต์ แผนภาพเพิร์ธ แผนภาพวิกฤติขั้นตอนและการบริหารโครงการ การเริ่มต้นและการวางแผนการดำเนินการ การควบคุมและการปิดครงการ และการนำเสนอโครงการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
43521103 หลักการบัญชี (Principles of Accounting) 3(2-2-5)
ข้อสมมติฐานทางการบัญชี ความแตกต่างในหน้าที่ระหว่างพนักงานบัญชีและผู้ทำบัญชี หลักบัญชีคู่ เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี การบันทึกรายการในสมุดรายการขั้นต้น ประกอบด้วยสมุดรายวันทั่วไป
สมุดรายวันเฉพาะ การบันทึกในสมุดแยกประเภท งบทดลอง รายการปรับปรุง การจัดทำงบการเงินสำหรับกิจการบริการและกิจการซื้อขายสินค้า
14121607 หลักการและระบบการจัดการฐานข้อมูล (Principles and Management of Database Systems) 3(2-2-5)
ระบบแฟ้มข้อมูล ระบบฐานข้อมูล องค์ประกอบและสถาปัตยกรรมฐานข้อมูล การออกแบบฐานข้อมูลระดับแนวคิดและกายภาพ นอร์มัลไลเซซัน การใช้แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ข้อมูล ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง เมตาดาต้า ระบบการจัดการฐานข้อมูล กรณีศึกษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูล
14122606 การออกแบบสื่อดิจิทัลเบื้องต้น (Fundamentals of Digital Media Design) 3(2-2-5)
หลักการวิธีการ องค์ประกอบของการออกแบบสื่อดิจิทัล เทคนิคการออกแบบสื่อ การออกแบบและนำเสนอข้อมูลโดยใช้สื่อดิจิทัลประเภทต่างๆ ที่ประกอบด้วย ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพ 2 มิติ ภาพ 3 มิติ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์เพื่อออกแบบสื่อที่เหมาะสม
14122607 การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ (Human Computer Interaction) 3(2-2-5)
ทฤษฎีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีประสบการณ์ผู้ใช้ เทคโนโลยีที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์ โมเดลผู้ใช้ เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการออกแบบระบบผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง การวิเคราะห์ออกแบบ และประยุกต์ใช้ในกระบวนการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ การเปรียบเทียบและการวัดประสิทธิภาพของส่วนต่อประสานผู้ใช้ การฝึกปฏิบัติด้วยซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม
14122608 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analysis and Design) 3(2-2-5)
หลักการ ขั้นตอน และทฤษฎีการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ประเภทของระบบและบทบาทของระบบสารสนเทศ การบริหารโครงการด้วยแผนภูมิแกนต์ แผนภาพเพิร์ธและหลักการอื่นที่เหมาะสมเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบแผนภาพ การไหลของข้อมูลพจนานุกรมข้อมูล การเขียนโครงสร้างภาษา การออกแบบส่วนนำเข้า และส่วนแสดงผล การออกแบบและการพัฒนาซอฟต์แวร์ การจัดหาระบบ การทดสอบและการบำรุงรักษาระบบ การจัดทำคู่มือระบบ และการอบรมเพื่อการใช้ระบบ กรณีศึกษาและการพัฒนาระบบตามหลักทฤษฎี
14123605 การบูรณาการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลสำหรับชุมชน (Integration of Computer and Digital Technologies for the Community) 3(2-2-5)
หลักการการบูรณาการ วิธีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมในชุมชน ผ่านกรณีศึกษา
14123606 การประยุกต์ใช้ระบบภูมิศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to the Application of Geographic Information System) 3(2-2-5)
แนะนําระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์พื้นฐานทางแผนที่และระบบพิกัด อ้างอิง แบบจําลองข้อมูลทางระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ การนําเข้าและจัดการข้อมูลคุณลักษณะ การแสดงข้อมูลและการจัดทำแผนที่การใช้ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเวกเตอร์ ราสเตอร์ และลักษณะทางภูมิประเทศ การประมาณค่าเชิงพื้นที่ แบบจําลองและการสร้างแบบจำลองทางระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ พจนานุกรมข้อมูลและเมตาดาต้า
14123607 สัมมนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Seminar on Computer and Digital Technologies) 1(1-0-2)
ค้นคว้าเกี่ยวกับความก้าวหน้าและประเด็นที่สนใจทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลที่ทันสมัย นำเสนอเพื่อการอภิปรายและแลกเปลี่ยนประเด็นด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
14123609 โครงงานคอมพิวเตอร์ 1 (Computer Project 1) 1(1-0-2)
ค้นคว้าและนำเสนอหัวข้อโครงงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าต่อคณะกรรมการสอบ
14123610 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Commerce) 3(2-2-5)
หลักการของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกรรมออนไลน์ ระบบลูกค้าสัมพันธ์ ระบบรักษาความมั่นคงและความปลอดภัย ระบบการจัดส่งสินค้าและการติดตาม ระบบการชำระเงิน ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการปรับเปลี่ยนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามทิศทางเทคโนโลยีสารสนเทศฝึกปฏิบัติการออกแบบและพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้แพลตฟอร์มที่เหมาะสม
14123613 การผลิตสื่อแอนิเมชัน (Animation Media Production) 3(2-2-5)
ทฤษฎีและการปฏิบัติในการออกแบบสื่อแอนิเมชันและสื่อดิจิทัล กระบวนการผลิตสื่อแอนิเมชันเบื้องต้น เทคนิคหลากหลายชนิด ทั้งการวาด สตอปโมชั่น แอนิเมชัน 2 มิติ และ 3 มิติ การทำสื่อดิจิทัลการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่องานอนิเมชันและสื่อดิจิทัลกับงานต่างๆ
14124604 โครงงานคอมพิวเตอร์ 2 (Computer Project 2) 2(1-2-3)
วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน: 14123609 โครงงานคอมพิวเตอร์ 1
การพัฒนาโครงงานตามระเบียบการพัฒนาที่เหมาะสมกับประเภทโครงงาน ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา การนำเสนอโครงงานตามเกณฑ์การประเมินของหลักสูตรต่อคณะกรรมการสอบ
14121305 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Programming) 3(2-2-5)
วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน: 14121306 หลักการเขียนโปรแกรม
การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุเบื้องต้น การเขียนโปรแกรมเชิงเหตุการณ์ การเชื่อมต่อฐานข้อมูลฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรมโดยเลือกภาษาคอมพิวเตอร์
14122313 อินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง (Internet of Things) 3(2-2-5)
ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมควบคุมระบบ ชุดคำสั่งโครงสร้าง หน่วยนำข้อมูลเข้า-ออกและคำสั่งให้เครื่องหยุดทำงาน การจัดตำแหน่งข้อมูล การเขียนโปรแกรมควบคุม การจัดหน่วยความจำโปรเซสเซอร์ อุปกรณ์การจัดการอินเทอร์เน็ตออฟติง การรับส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตออฟติงแพลตฟอร์ม และการฝึกปฏิบัติ
14122314 โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม (Data Structures and Algorithms) 3(2-2-5)
หลักการเกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมแบบต่างๆ ในการแก้ปัญหา การวิเคราะห์ อัลกอริทึม การหาประสิทธิภาพ การเรียงลำดับและการค้นหาข้อมูลแบบต่างๆ การประยุกต์ใช้โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมกับภาษาคอมพิวเตอร์
14122315 เทคโนโลยีเว็บและการให้บริการ (Web Technologies and Services) 3(2-2-5)
ความเป็นมาของเวิลด์ไวด์เว็บ สถาปัตยกรรมไคลเอนต์-เซิรฟ์เวอร์ โพรโทคอลมาตรฐานเทคโนโลยีและเครื่องมือในการพัฒนาเว็บไซต์และเว็บแอปพลิเคชัน การออกแบบและการสร้างเว็บไซต์เทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยของเว็บ การให้บริการผ่านเว็บ และการให้บริการผ่านระบบคลาวด์ จริยธรรมการใช้เว็บ
14122316 การเขียนโปรแกรมบนเว็บ (Web Programming) 3(2-2-5)
หลักการทำงานของเว็บเซิร์ฟเวอร์ การพัฒนาเว็บไซต์ การเขียนโปรแกรมบนเว็บแบบไดนามิก การพัฒนาเอพีไอ การเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูล การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเว็บ การฝึกปฏิบัติการ เขียนโปรแกรมบนเว็บโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
14123333 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Application Development for Mobile Devices) 3(2-2-5)
หลักการแพลตฟอร์มของอุปกรณ์เคลื่อนที่ ออกแบบและสร้างโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ การฝึกปฏิบัติภาษาเฉพาะแพลตฟอร์ม
14122701 ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล (Network systems and Data Communications) 3(2-2-5)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารแบบอนาล็อกและดิจิทัล ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาตรฐานโพรโทคอลแบบเปิดสื่อรับส่งข้อมูล รูปแบบการเชื่อมโยงระบบเครือข่าย อุปกรณ์เครือข่าย ระบบเครือข่ายแลน ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่ายไร้สาย ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หลักการออกแบบระบบเครือข่าย การตรวจสอบตัวตนและระบบรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่าย
14122702 การจัดการความมั่นคงและปลอดภัย (Security Management) 3(2-2-5)
วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน: 14122701 ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล
หลักการด้านความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายและสารสนเทศ ประเภทของภัยคุกคาม กลไกการโจมตีและการป้องกันนโยบายและการปฏิบัติเพื่อความมั่นคงของระบบ การพิสูจน์ทราบในระบบคอมพิวเตอร์ บริการด้านความมั่นคง การวิเคราะห์ภัยคุกคามการเข้ารหัสและถอดรหัส การจัดการความเสี่ยง การออกแบบและวางแผนการกู้คืนระบบมาตรฐาน นโยบายการควบคุมความมั่นคงปลอดภัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
14123225 มาตรฐานสากลด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (International Standards for Computer and Digital Technologies) 3(2-2-5)
หลักการมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล ข้อกำหนด การประกาศใช้ การบริหารจัดการ การนำมาตรฐานต่าง ๆ เช่น มาตรฐานการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (COBIT) มาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยในสารสนเทศ (ISO21001) มาตรฐานการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITIL) มาตรฐานการพัฒนาระบบ (CMMI) และมาตรฐานการบริหารโครงการ (PMBOX) เป็นต้น
14121701 ระบบการบำรุงรักษาทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Computer and Digital Technologies Maintenance System) 3(2-2-5)
หลักการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ตและอุปกรณ์ต่อพ่วง ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์และติดตั้งโปรแกรมตามลักษณะงาน การบำรุงรักษาอุปกรณ์ แก้ปัญหาด้วยโปรแกรมรรถประโยชน์สำรองและป้องกันความเสียหายของข้อมูล การกู้คืนข้อมูล
14121702 ระบบปฏิบัติการและเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม (Operating Systems and Platform Technologies) 3(2-2-5)
หลักการเกี่ยวกับระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เคลื่อนที่ ส่วนประกอบทางฮาร์ดแวร์ วิวัฒนาการและหน้าที่ระบบปฏิบัติการโครงสร้างระบบปฏิบัติการ การจัดการโปรเซส การจัดการตัวประมวลผล การใช้งานเซิร์ฟเวอร์เสมือนจริงคอนเทรนเนอร์ และการฝึกปฏิบัต
14123211 ฐานข้อมูลขั้นสูง (Advanced Databases) 3(2-2-5)
หลักการระบบฐานข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูล การควบคุมสภาพข้อมูลเมื่อมีผู้ใช้หลายคนการจัดการทรานแซกชัน การเกิดภาวะพร้อมกัน การสำรองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูล วิธีการรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของฐานข้อมูล ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล
14123213 คลังข้อมูลและเหมืองข้อมูล (Data Mining and Data Warehouse) 3(2-2-5)
หลักการคลังข้อมูล ลักษณะของคลังข้อมูล สถาปัตยกรรมและองค์ประกอบของระบบคลังข้อมูล หลักการเหมืองข้อมูล กระบวนการในการจัดเตรียมข้อมูล การวิเคราะห์ การค้นหาความรู้โดยการใช้เทคนิคต่าง ๆ ของเหมืองข้อมูล การวัดประสิทธิภาพของเหมืองข้อมูล การออกแบบและแสดงข้อมูลด้วยแผนภาพและการประยุกต์ใช้เหมืองข้อมูล
14123611 ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ขั้นสูง (Advanced Geographic Information Systems) 3(2-2-5)
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน : 14123606 การประยุกต์ใช้ระบบภูมิศาสตร์เบื้องต้น 3(2-2-5)
พื้นฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ องค์ประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โครงสร้างข้อมูล ชนิดข้อมูล ทอพอโลยี ขั้นตอนวิธีการนำเข้า แก้ไข และวิเคราะห์เชิงพื้นที่ โปรแกรมประยุกต์ทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เทคนิคพื้นฐานสำหรับการสร้างแผนที่ดิจิทัล รวมถึงการประยุกต์ใช้งานระบบสารสนเทศในการแสดงข้อมูลเป็นภาพเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและสนับสนุนการตัดสินใจ
14123612 ธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) 3(2-2-5)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบธุรกิจอัจฉริยะและระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เทคนิคและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบอัจฉริยะทางธุรกิจ ประกอบด้วย ระบบสนับสนุนการตัดสินใจคลังข้อมูล การประมวลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ การทำเหมืองข้อมูล องค์ประกอบหลักของระบบซอฟต์แวร์ในระบบธุรกิจอัจฉริยะและตัวอย่างระบบซอฟต์แวร์ แนวโน้มของระบบธุรกิจอัจฉริยะ
14123226 ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) 3(2-2-5)
แนวคิดหลักข้อมูลขนาดใหญ่ คุณลักษณะของข้อมูลขนาดใหญ่ วิธีการบริหารและจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ เทคนิคการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลใหญ่ การประยุกต์ใช้เครื่องมือในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่
14124403 ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) 3(2-2-5)
นิยามและที่มาของปัญญาประดิษฐ์ การแก้ปัญหาและเขียนโปรแกรมการค้นหาคำตอบในปริภูมิสถานะด้วยภาษาลิสพ์ หรือภาษาอื่นๆ ที่เหมาะสม การใช้ตรรกศาสตร์แบบคลุมเครือ การเรียนรู้ของเครื่องจักรทัศนศาสตร์คอมพิวเตอร์โครงข่ายประสาทเทียม การพัฒนาระบบและการประยุกต์ใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญกรณีศึกษาด้านการพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ
14123334 การเขียนโปรแกรมบนเว็บขั้นสูง (Advanced Web Programming) 3(2-2-5)
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา HTML ขั้นสูง CSS ขั้นสูง JavaScript ขั้นสูง การประยุกต์ใช้ XML การใช้เว็บเอพีไอ การใช้เฟรมเวิร์ค การสร้างเว็บติดต่อฐานข้อมูล การเขียนโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์สำหรับเว็บไซต์การพิสูจน์ตัวตนและการรักษาความมั่นคงเว็บไซต์ การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่องานด้านต่างๆ
14123335 การเขียนโปรแกรมบนคลาวด์ (Cloud Programming) 3(2-2-5)
หลักการในการพัฒนาโปรแกรมบนคลาวด์ประเภทต่างๆ เช่น IaaS PaaS SaaS เป็นต้น การพัฒนาโปรแกรมบนคลาวด์โดยใช้ภาษาที่นิยมในปัจจุบัน
14123336 การออกแบบเว็บ (Web Design) 3(2-2-5)
หลักการ วิธีการ กระบวนการออกแบบเว็บไซต์ ทั้งการออกแบบเนื้อหา การออกแบบส่วนต่อประสาน การออกแบบประสบการณ์ใช้งานผู้ใช้ การออกแบบที่ตอบสนอง การออกแบบเพื่อรองรับการเข้าถึงของผู้ใช้ที่มีความแตกต่าง การใช้เครื่องมือในการออกแบบเว็บไซต์
14123337 การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงอ็อบเจกต์ (Object-Oriented Systems Analysis and Design) 3(2-2-5)
ระเบียบวิธี การวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมเชิงวัตถุ หลักการเชิงวัตถุ การวิเคราะห์ยูสเคสการออกแบบแผนภาพคลาส ภาษา UML และการออกแบบแพตเทิร์น
14124315 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ขั้นสูง (Advanced Application Development for Mobile Devices) 3(2-2-5)
การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่บนระบบปฏิบัติการ iOS การสร้างโปรแกรมติดต่อฐานข้อมูล การใช้ REST API การใช้เครื่องมือสำหรับสร้างโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่หลายแพลตฟอร์ม
14123717 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operation Systems) 3(2-2-5)
วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน : 14122701 ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล
วิวัฒนาการระบบปฏิบัติการและระบบปฏิบัติการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการเครือข่ายและเทคโนโลยีในปัจจุบัน การจัดเตรียมสภาพแวดล้อม การติดตั้งและการตั้งค่า การล็อกอินและล็อกอินระยะไกล การจัดการผู้ใช้งาน การเข้าใช้ระบบ การจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ บนเครื่องแม่ข่ายให้บริการ การจัดเก็บข้อมูลการเข้าถึง (Log) ระบบแม่ข่ายให้บริการ การสำรองข้อมูล การตรวจสอบ (Monitoring) และระบบรักษาความปลอดภัยของระบบปฏิบัติการ ศึกษาระบบปฏิบัติการกรณีตัวอย่าง เช่น ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ระบบปฏิบัติการวินโดว์ หรืออื่น ๆ ที่น่าสนใจ
14123718 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการ (Cloud Computing and Services) 3(2-2-5)
วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน : 14123717 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
การทบทวนทฤษฎีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ศึกษาระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์ ประกอบด้วย ทฤษฎี แนวคิด โครงสร้างของระบบ การจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่และการเรียกใช้ ระบบเสมือนและการจัดเก็บข้อมูล ระบบซอฟต์แวร์และการบริการ การเข้าถึงและความปลอดภัยแหล่งทรัพยากรต่างๆ บนระบบคลาวด์
14123720 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการขั้นสูง (Advanced Cloud Computing and Services) 3(2-2-5)
วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน: 14123718 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการ
เทคนิคการออกแบบระบบคลาวด์และการติดตั้ง การบริหารจัดการระบบคลาวด์ การออกแบบระบบการรักษาความปลอดภัยแบบคลาวด์ การประเมินประสิทธิภาพระบบคลาวด์
14124702 ระบบเครือข่ายขั้นสูง (Advanced Network systems) 3(2-2-5)
เทคโนโลยีสำหรับเครือข่าย ได้แก่ แลน แวนเป็นต้น เทคนิคการออกแบบระบบเครือข่ายและการติดตั้ง การบริหารจัดการระบบเครือข่าย ตลอดจนการออกแบบการรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่าย การประเมินประสิทธิภาพเครือข่าย
14124703 การออกแบบระบบเครือข่ายการสื่อสารและความปลอดภัยสำหรับองค์กร (Communication Network and Security Design for Organizations) 3(2-2-5)
วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน : 14122702 การจัดการความมั่นคงและปลอดภัย
14123718 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการ
การทบทวนทฤษฎีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ระบบเครือข่ายแบบคลาวด์คอมพิวเตอร์แบบเสมือน ศึกษาทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การออกแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร การออกแบบระบบเครือข่ายชนิดมีสายและไร้สาย อุปกรณ์เครือข่าย ระบบอินเทอร์เน็ต ระบบเอ็กซ์ทราเน็ตระบบอินทราเน็ต ระบบรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่ายและการสื่อสาร อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย การบริหารจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารในองค์กร
14123614 การสร้างเทคนิคพิเศษทางภาพ (Creation of Visual Effects) 3(2-2-5)
เทคนิคและการประยุกต์ใช้วิชวลเอฟเฟกต์ (Visual Effect) สำหรับลำดับภาพกราฟิกเคลื่อนไหวโดยใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะ การจำลองสภาพสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ การติดตามการเคลื่อนไหว และการจับคู่การเคลื่อนไหว เทคนิคการสร้างภาพด้วยระบบดิจิทัล
14123615 การพัฒนาเกม (Game Development) 3(2-2-5)
การพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาสคริปต์และสภาพแวดล้อมซอฟต์แวร์ของเกมเอ็นจิน แนวคิดและหลักการของเกม 2 มิติการสร้างและควบคุมโมเดล 2 มิติ การเขียนโปรแกรมสำหรับพัฒนาเกม กระบวนการที่จำเป็นในการพัฒนาซอฟต์แวร์เกม 2 มิติ
14123618 การพัฒนาเกมขั้นสูง (Advanced Game Development) 3(2-2-5)
การพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาสคริปต์และสภาพแวดล้อมซอฟต์แวร์ของเกมเอ็นจิน แนวคิดและหลักการของเกม 3 มิติ การสร้างและควบคุมโมเดล 3 มิติ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในเกมการเขียนโปรแกรมสำหรับพัฒนาเกม กระบวนการที่จำเป็นในการพัฒนาซอฟต์แวร์เกม 3 มิติ
14124605 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงผสม (Application of Mixed Reality) 3(2-2-5)
ความจริงเสมือน เช่น AR VR MR เป็นต้น การปฏิสัมพันธ์กิริยาหลายด้านทั้งด้านการมองเห็นการได้ยินและการสัมผัส การมีปฏิสัมพันธ์อย่างกลมกลืนกับความจริงเสมือน การประมวลผลด้านการมองเห็นและโมเดลสภาพแวดล้อม การจำลองพฤติกรรมทางกายภาพและการจำลองหลักฟิสิกส์ การจัดการสภาพแวดล้อมขนาดใหญ่ เครื่องมือสำหรับพัฒนาความจริงเสมือน ความจริงผสม หรือความบันเทิงดิจิทัล
14123114 จริยธรรมและกฎหมายสำหรับนักเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Ethics and Laws for Computer and Digital Technologies Professionals) 3(3-0-6)
ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมออนไลน์ ประเด็นจริยธรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว ความถูกต้องแม่นยำ ความเป็นเจ้าของ และความสามารถในการเข้าถึง ความหลากหลาย โลกาภิวัตน์ ช่องว่างดิจิทัล การคำนึงถึงบกพร่องทางการรับรู้ข้อคำนึงทางเศรษฐศาสตร์ ประเด็นทางกฎหมาย นโยบายสิทธิความเป็นส่วนตัว กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งไทยและสากล อาชญากรรมจากการใช้เทคโนโลยี ภัยคุกคามของระบบสารสนเทศ ประเด็นทางวิชาชีพและจริยธรรม องค์กรวิชาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล จริยธรรมและความประพฤติสำหรับนักเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
14121105 ภาษามือไทยเบื้องต้น (Introduction of Thai Sign Language) 3(2-2-5)
ประวัติความเป็นมาของภาษามือไทย บุคคลสำคัญและผลงานที่เป็นคุณูปการต่อภาษามือไทยรูปแบบและประเภทของภาษามือไทยที่ใช้ในปัจจุบัน การศึกษาภาษามือไทยลักษณะทางไวยากรณ์ที่สำคัญในภาษามือและภาษามือไทย ปัจจัยที่ทำให้การใช้ภาษามือไทยมีความหลากหลาย ภาษามือแบบต่างๆ ภาษามือไทยสำหรับการสื่อสารทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
14123224 เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาสำหรับผู้พิการ (Educational Assistive Technology for the Disable) 3(2-2-5)
ความหมาย ประเภท ขอบเขตการใช้เทคโนโลยีอุปกรณ์และการให้บริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาสำหรับคนพิการ เทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าถึงได้ทางการศึกษา นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษา
14123617 หลักการออกแบบกราฟิกและการใช้งานโปรแกรมกราฟิก (Principles of Graphic Design and Graphic Software Usage) 3(2-2-5)
หลักการออกแบบงานกราฟิก ทฤษฎีองค์ประกอบศิลป์ ทฤษฎีสีเทคนิค การใช้เครื่องมือสำหรับการผลิตงานกราฟิก ลักษณะสำคัญของโปรแกรมกราฟิก องค์ประกอบและการเชื่อมประสานกับผู้ใช้งานแบบกราฟิกของซอฟต์แวร์กราฟิก การใช้งานโปรแกรมกราฟิก การนำเข้าและส่งออกข้อมูลกราฟิก การออกแบบกราฟิก การตกแต่งภาพกราฟิก การฝึกปฏิบัติโครงงานกราฟิก
14124606 การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียทางการศึกษาสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน (Development of Educational Multimedia for the Deaf) 3(2-2-5)
จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามหน่วยงานภายในสถาบันอุดมศึกษา พัฒนาตัวผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 14123617 หลักการออกแบบกราฟิกและการใช้งานโปรแกรมกราฟิก
ความหมาย ประเภท องค์ประกอบ เครื่องมือที่ใช้การผลิตสื่อมัลติมีเดีย ข้อดี และข้อจำกัดของสื่อมัลติมีเดีย ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา แหล่งความรู้ที่เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา ฝึกปฏิบัติซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างสื่อมัลติมีเดีย
14124607 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน (Application of Computer and Digital Technologies for the Deaf) 3(2-2-5)
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 14123617 หลักการออกแบบกราฟิกและการใช้งานโปรแกรมกราฟิก
หลักการ วิธีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ ในการดำเนินชีวิตในยุคดิจิทัลสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน
14123803 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ (Preparation for Professional Internship in Computer) 1(90)
จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติของนักศึกษาก่อนออกไปฝึกปฏิบัติจากสถานประกอบการภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน ให้นักศึกษามีทักษะ ความรู้เจตคติตลอดจน คุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล โดยการกระทําในสถานการณ์หรือ รูปแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งฝึกปฏิบัติในสถานฝึกปฏิบัติของสาขาวิชาและมีเวลาในการฝึกไม่น้อยกว่า 90 ชั่วโมงปฏิบัติการ
14123806 การเตรียมสหกิจศึกษา (Preparation for Cooperative Education) 1(90)
14124804 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ (Professional Internship in Computer) 3(450)
นักศึกษาจะต้องรับการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 90 ชั่วโมง ก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพคอมพิวเตอร์ในองค์กร สถานที่ราชการ โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจเอกชน องค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ เอกชน ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ เจตคติ และประสบการณ์ในอาชีพคอมพิวเตอร์โดยก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพนักศึกษาต้องผ่านการทดสอบทักษะทางคอมพิวเตอร์และการฝึกอบรมของสาขาวิชาคอมพิวเตอร์
14124805 สหกิจศึกษา (Cooperative Education) 6(640)
นักศึกษาไปทำงานในองค์การ สถานที่ราชการ โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจเอกชน องค์การภาครัฐ รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์จะต้องรายงานประกอบและมีการนิเทศจากคณาจารย์ในหลักสูตร (มีการเตรียมฝึกสหกิจศึกษาให้นักศึกษา 30 ชั่วโมง)
โครงสร้างหลักสูตรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
หมวดวิชา | เกณฑ์ สกอ./ 4 ปี | โครงสร้างหลักสูตร |
---|---|---|
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า 30 | 30 |
1.1 รายวิชาบังคับ | 12 | |
1.2 รายวิชาบังคับเลือก | 18 | |
2. หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า 84 | ไม่น้อยกว่า 95 |
2.1 กลุ่มวิชาแกน | 9 | 9 |
2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ | 45 | ไม่น้อยกว่า 70 |
2.2.1 กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ | 9 | 9 |
2.2.2 กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ | 18 | 28 |
2.2.3 กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ | 12 | 18 |
2.2.4 กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ | 6 | 9 |
2.2.5 กลุ่มฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ | 6 | |
2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก | ไม่น้อยกว่า 12 | |
2.3.1 กลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูล | ||
2.3.2 กลุ่มการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ | ||
2.3.3 กลุ่มเครือข่าย | ||
2.3.4 กลุ่มเนื้อหาทางดิจิทัล | ||
2.3.5 กลุ่มเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน | ||
2.4 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ | ไม่น้อยกว่า 4 | |
2.4.1 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ | 1 | |
2.4.2 การเตรียมสหกิจศึกษา | 1 | |
2.4.3 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ | 0-3 | 3 |
หรือ | ||
2.4.4 สหกิจศึกษา | 6-9 | 6 |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า 6 | ไม่น้อยกว่า 6 |
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร | ไม่น้อยกว่า 120 | ไม่น้อยกว่า 131 |
รายวิชาในหลักสูตร
รายวิชาบังคับ
01540108 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai for Communication) 3(3-0-6)
การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ฝึกทักษะการใช้ภาษาด้านการฟัง การพูด การอ่านการเขียน ได้แก่ การฟังบทสนทนา การฟังข่าว ฟังอภิปราย การพูดแสดงความคิดเห็น การพูดโน้มน้าวใจ การโต้วาที การพูดในโอกาสต่างๆ การอ่านสรุปใจความ การอ่านตีความ การอ่านวิเคราะห์และวิจารณ์ การเขียนสะกดคำไทย การอ่านย่อหน้า การเขียนเรียงความ รวมถึงการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ และสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ และสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
01552701 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (English for Communication) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษที่จำเป็นในการสื่อสารบูรณาการกับชีวิตประจำวัน การใช้ภาษาอังกฤษสนทนา บรรยาย บันทึก สรุปใจความ นำเสนอในบริบทที่หลายหลาย
01540107 การอ่านเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม (Reading for Life and Social Development) 3(3-0-6)
หลักการและทักษะการอ่านประเภทต่างๆ ได้แก่ การอ่านสรุปความ การอ่านตีความ การอ่านวิเคราะห์ วิจารณ์ การอ่านงานเขียนประเภทต่างๆ ในนิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ และวรรณกรรม หรือสื่ออื่นๆ ที่สร้างจิตสำนึกที่ดีต่อตนเองและสังคม รวมถึงสามารถนำแนวความคิดหรือประโยชน์จากการอ่านไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเน้นอ่านงานเขียนจากสื่อประเภทต่างๆ สัปดาห์ละ 1 เรื่อง และจัดสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับการอ่าน เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา
* 02500104 วัฒนธรรมแอ่งสกลนคร (Culture of Sakon Nakhon Basin) 3(2-2-5)
สภาพทางภูมิศาสตร์ ลักษณะทางกลุ่มชาติพันธุ์ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประวัติศาสตร์การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและฒนธรรม ชีวประวัติบุคคลสำคัญของท้องถิ่น ภูมิปัญญาทางด้านลปกรรม หัตถกรรม ประเพณี พิธีกรรม ภาษา และวรรณกรรม ฯลฯ ในบริเวณแอ่งสกลนคร อัตลักษณ์และพลวัตการปรับตัวของชุมชนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเน้นกระบวนการศึกษาชุมชนในท้องถิ่นให้เชื่อมโยงกับสาขาวิชาที่นักศึกษาเรียน และมีการนำเสนอผลงานเชิงประจักษ์
รายวิชาเลือก
01540109 การเขียนภาษาไทยทั่วไป (Thai Writing for General Purposes) 3(3-0-6)
หลักการเขียน รูปแบบการเขียน ลักษณะและการใช้ประโยชน์ของงานเขียน เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การเขียนเล่าเรื่อง การเขียนจดหมาย การเขียนบันทึกข้อความ การเขียนคำถาม-ตอบในแบบสอบถาม การเขียนเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น การเขียนเพื่อโน้มน้าวจิตใจ การเขียนเอกสารสิทธิ์และสัญญาตามกฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
01540109 การเขียนภาษาไทยทั่วไป (Thai Writing for General Purposes) 3(3-0-6)
หลักการเขียน รูปแบบการเขียน ลักษณะและการใช้ประโยชน์ของงานเขียน เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การเขียนเล่าเรื่อง การเขียนจดหมาย การเขียนบันทึกข้อความ การเขียนคำถาม-ตอบในแบบสอบถาม การเขียนเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น การเขียนเพื่อโน้มน้าวจิตใจ การเขียนเอกสารสิทธิ์และสัญญาตามกฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
01540107 การอ่านเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม (Reading for Life and Social Development) 3(3-0-6)
หลักการและทักษะการอ่านประเภทต่างๆ ได้แก่ การอ่านสรุปความ การอ่านตีความ การอ่านวิเคราะห์ วิจารณ์ การอ่านงานเขียนประเภทต่างๆ ในนิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ และวรรณกรรม หรือสื่ออื่นๆ ที่สร้างจิตสำนึกที่ดีต่อตนเองและสังคม รวมถึงสามารถนำแนวความคิดหรือประโยชน์จากการอ่านไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเน้นอ่านงานเขียนจากสื่อประเภทต่างๆ สัปดาห์ละ 1 เรื่อง และจัดสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับการอ่าน เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา
01552701 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (English for Communication) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษที่จำเป็นในการสื่อสารบูรณาการกับชีวิตประจำวัน การใช้ภาษาอังกฤษสนทนา บรรยาย บันทึก สรุปใจความ นำเสนอในบริบทที่หลายหลาย
01550104 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (English for Cross Cultural Communication) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษระดับสูง เรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมของนานาประเทศ เน้นกลุ่มประเทศอาเซียน ศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พูดนำเสนอผลงาน และแสดงความคิดเห็น
01550105 การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษทั่วไป (Reading and Writing English for General Purposes) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะพัฒนาการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยจากสิ่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน พัฒนาการเขียนที่บูรณาการกับทักษะการอ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
01560102 ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น (Fundamentals of Japanese Language) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ศึกษารูปประโยคและไวยากรณ์พื้นฐาน ฝึกบทสนทนา ที่ใช้ใน ชีวิตประจำวัน การอ่าน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาญี่ปุ่นในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น
01570102 ภาษาจีนเบื้องต้น (Fundamentals of Chinese Language) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ศึกษารูปประโยคและไวยากรณ์พื้นฐาน ฝึกบทสนทนา ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่าน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาจีนในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศจีน
01670102 ภาษาลาวเบื้องต้น (Fundamentals of Lao Language) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน เน้นทักษะการอ่านและการเขียน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาลาวในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศลาว
01710102 ภาษาเวียดนามเบื้องต้น (Fundamentals of Vietnamese Language) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ศึกษารูปประโยคและไวยากรณ์พื้นฐาน ฝึกบทสนทนา ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่าน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาเวียดนามในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศเวียดนาม
01551601 ทักษะการพูดและการฟังภาษาอังกฤษ (English Speaking and Listening Skills) 3(3-0-6)
พูดบอกรายละเอียดและสรุปประเด็นสำคัญ ฟังบทสนทนาและข้อความสั้นๆแล้วจับใจความ ใช้ประโยคและสำนวนเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว (ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลของครอบครัว การซื้อของ ภูมิศาสตร์ท้องถิ่น การจ้างงาน) สื่อสารเรื่องที่ง่ายและเป็นกิจวัตรที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยตรงและไม่ยุ่งยากเกี่ยวกับสิ่งที่คุ้นเคยหรือทำเป็นประจำ ใช้ภาษาและโครงสร้างทางไวยากรณ์ในการพูดโต้ตอบในสถานการณ์ที่แตกต่างหลากหลายโดยใช้ภาษา น้ำเสียง กิริยาท่าทางที่เหมาะสมตามมารยาททางสังคม และรู้ถึงวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา โดยเน้นกระบวนการทางภาษา คือ พูด ฟัง อ่าน เขียน การสื่อสาร การสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล และการฝึกปฏิบัติทักษะการสื่อสารตามสถานการณ์ต่างๆ
01553601 ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะชีวิตประจำวัน (English for Daily Life Skill) 3(3-0-6)
พูดคุยเชิงเทคนิคในเรื่องที่มีความเชี่ยวชาญ โต้ตอบอย่างคล่องแคล่วและเป็นธรรมชาติโต้ตอบกับผู้พูดที่เป็นเจ้าของภาษาได้โดยไม่มีความเคร่งเครียด สร้างถ้อยคำที่ชัดเจนและมีความละเอียดในหัวข้อที่หลากหลาย โดยมีความเข้าใจจุดประสงค์ของประเด็นที่มีความซับซ้อนทั้งรูปธรรมและนามธรรม อธิบายมุมมองเกี่ยวกับปัญหาเฉพาะที่มีความได้เปรียบและเสียเปรียบ ฝึกปฏิบัติทักษะภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ
02531203 ศิลปะการดำเนินชีวิต (Art of Living) 3(3-0-6)
ความหมายและคุณค่าของชีวิต ศิลปะการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าและความหมายต่อตนเอง ครอบครัว สังคม กรณีตัวอย่างที่ให้แรงบันดาลใจในการสร้างความสำเร็จและความสุขในชีวิต
01511401 จริยธรรมเพื่อการดำเนินชีวิต (Morality for Living) 3(3-0-6)
หลักจริยธรรมกับการพัฒนาชีวิต การพัฒนาตนด้านพฤติกรรม จิตใจและปัญญา การสร้างจิตสำนึกตระหนักในความเป็นสุจริตชน การสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อโลกและสังคม การบริหารความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ เคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเป็นสุขและมีสันติภาพ
01500109 สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Information for Learning) 3(3-0-6)
ความหมาย ความสำคัญของสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ การสืบค้นและแสวงหาสารสนเทศด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การศึกษา รวบรวม การจัดเก็บ และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศด้วยรูปแบบที่ทันสมัย และมีขั้นตอนที่เป็นมาตรฐาน
01511502 สุนทรียภาพเพื่อชีวิต (Aesthetics for Life) 3(3-0-6)
ความหมาย ความสำคัญของสุนทรียศาสตร์ต่อชีวิต คุณค่าเชิงสุนทรียะ ของงานศิลปะ การรับรู้ความงาม ความซาบซึ้งในศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ ด้านโสตศิลป์ และศิลปะการแสดง ในระดับท้องถิ่น ชาติและสากล เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตและสังคม
01500113 ศาสนธรรมเพื่อคนร่วมสมัย (Contemporary Religious Virtues) 3(3-0-6)
หลักคำสอนของศาสนาสำคัญที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ วิเคราะห์เชื่อมโยงหลักธรรมกับศาสตร์สาขาต่างๆ บูรณาการหลักศาสนาและแนวคิดของปราชญ์ทางศาสนา เพื่อการแก้ปัญหาชีวิตและสังคม เน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning
02531204 จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) 3(2-2-5)
ธรรมชาติของจิตมนุษย์ แก่นแท้ของชีวิตและธรรมชาติ หลักการภาวนา เพื่อฝึกฝนความรู้สึกตัว (สติ) การปฏิวัติจิตสำนึกเดิมสู่จิตสำนึกใหม่ที่เข้าถึงความเป็นอิสระ ความสุข ปัญญา และความอาทรต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่ง การพัฒนาตนเองอย่างสมดุลสู่ความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ เน้นวิธีการเรียนรู้ที่นำผู้เรียนไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในตนเองอย่างลึกซึ้งและเชื่อมโยงไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลกผ่านกระบวนการจิตตภาวนา สุนทรียสนทนา การทำงานศิลปะ โยคะ
03611201 หมากล้อม (GO) 3(3-0-6)
ประวัติความเป็นมาของหมากล้อม กฎ กติกา มารยาท วัตถุประสงค์ พื้นฐานของการเล่นหมากล้อม ทักษะทางปัญญา 11 ประการ บัญญัติ 10 ประการ เทคนิคในการเล่นหมากล้อมแบบต่างๆ การแก้ปัญหาระหว่างเกม คุณค่าของหมากล้อมและการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
02053301 สุนทรียะ (Aesthetics) 3(3-0-6)
ขับร้องเพลงตามจังหวะ ทำนอง และเนื้อหาของเพลงไทยสากลแต่ละประเภทและเพลงรำวงมาตรฐาน เล่นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ออกแบบกิจกรรมนันทนาการ จัดกิจกรรมนันทนาการ ปฏิบัติการรำวงในเพลงมาตรฐาน ออกแบบการแสดง จัดการแสดง วิเคราะห์หลักทางสุนทรียศาสตร์ในงานทัศนศิลป์ หลักการทางทัศนธาตุ หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ หลักการออกแบบป้ายนิเทศ ออกแบบฉาก เวที สื่อการเรียนรู้ และแฟ้มผลงาน จัดทำผลงานทางศิลปะ นำเสนอผลงาน และวิพากษ์ผลงานศิลปะ
* สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครในคราวประชุมครั้งที่ 4/2562 เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2562 เห็นชอบกำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องเรียนวิชาวัฒนธรรมแอ่งสกลนคร ยกเว้นกรณีที่เคยเรียนมาแล้ว
02531202 สังคมไทยกับโลกาภิวัตน์ (Thai Society and Globalization) 3(3-0-6)
ความหมาย ลักษณะ สาระสำคัญและสถานการณ์ปัจจุบันของโลกาภิวัตน์ บทบาทและผลกระทบของโลกาภิวัตน์ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม แนวโน้มและทิศทางการพัฒนาของสังคมไทยท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์
02531201 วิถีอาเซียน (The ASEAN Ways) 3(3-0-6)
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์ พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นอาเซียน การยอมรับปรับรูปแบบวิถีชีวิต คติความเชื่อ ค่านิยม จิตวิญญาณ สังคม วัฒนธรรมของภูมิภาค ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน วิถีอาเซียนในสังคมโลกปัจจุบัน
02500106 กฎหมายเพื่อชีวิต (Laws for Life) 3(3-0-6)
ลักษณะทั่วไปของกฎหมาย หลักการพื้นฐานของนิติรัฐ กระบวนการยุติธรรมและหลักกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หลักสิทธิมนุษยชนกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เน้นศึกษากรณีตัวอย่างในชีวิตประจำวัน
02500107 สันติศึกษา (Peace Studies) 3(3-0-6)
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสันติภาพ การวิเคราะห์ความขัดแย้งและความรุนแรงกรณีศึกษาความขัดแย้งและการใช้สันติวิธีในระดับชีวิต ชุมชนและสังคม เครื่องมือสันติวิธี ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง การสื่อสารเพื่อสันติ การสานเสวนาที่เน้นการฟังอย่างลึกซึ้งและการใช้สันติวิธี ในชีวิตประจำวัน
02551101 พลเมืองศึกษา (Civic Education) 3(3-0-6)
หลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบระชาธิปไตย การปกครองโดยกฎหมายสิทธิและหน้าที่ความเป็นพลเมือง สิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน พลวัต การเมืองภาคประชาชนและประชาสังคม ของสังคมการเมืองไทย บทบาทของพลเมืองในประเทศต่างๆ สร้างเสริมจิตสำนึกสาธารณะโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาสภาพปัญหาที่เป็นจริงในชุมชนท้องถิ่น
03500102 หลักการจัดการสมัยใหม่ (Principles of Modern Management) 3(3-0-6)
แนวคิดและหลักการจัดการ การจัดองค์การ การจัดการทรัพยากรขององค์การหน้าที่ในการจัดการ ทฤษฎีการจัดการสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาชีวิต สังคม และองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก
03500104 การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) 3(3-0-6)
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนา การประยุกตใชแนวคิดทฤษฎีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีความเหมาะสมกับสภาพทางสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของชุมชน กรณีตัวอย่างการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ(UN-Sustainable Development Goals)
03621101 การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) 3(3-0-6)
การเริ่มต้นธุรกิจการเป็นผู้ประกอบการ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดกลยุทธ์การสร้างธุรกิจ รูปแบบทางกฎหมายของธุรกิจ แผนธุรกิจ การเลือกทำเลที่ตั้ง แผนการตลาด ผลิตภัณฑ์ และราคา การจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาด ระบบบัญชีและงบการเงิน การจัดการทางการเงิน และภาษีอากร การจัดองค์การและการจัดการบุคลากร แนวโน้มการดำเนินธุรกิจในอนาคต และจริยธรรมทางธุรกิจ
02533201 ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (The King Wisdom for Local Development) 3(2-2-5)
ประยุกต์ใช้หลักการทรงงาน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนในชีวิตประจำวันได้ ศึกษาแนวคิด และหลักการของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ ฉลาดรู้เพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบตามศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม และร่วมมือกันทำงานโดยบูรณาการแบบองค์รวมกับทีมภาคีเครือข่าย
04000105 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน (Mathematics in Daily Life) 3(3-0-6)
ธรรมชาติของวิชาคณิตศาสตร์ พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ กับการใช้เหตุผล ความน่าจะเป็นและสถิติในชีวิตประจำวัน การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ดอกเบี้ย ร้อยละ ค่างวดคณิตศาสตร์สำหรับผู้บริโภค คณิตศาสตร์กับเกม คณิตศาสตร์กับศิลปะ กำหนดการเชิงเส้นเบื้องต้น คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง”
04000106 คอมพิวเตอร์และสารสนเทศขั้นพื้นฐาน (Fundamentals of Computer and Information 3) (2-2-5)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูลเบื้องต้น การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายพื้นฐาน การใช้ระบบเครือข่าย เพื่อการสื่อสารและสืบค้นอย่างมีจริยธรรม กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีารสนเทศ การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
04000107 ชีวิตและสุขภาพ (Life and Health) 3(3-0-6)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการของชีวิตและระบบที่สำคัญของร่างกายมนุษย์ แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพแบบองค์รวม องค์ประกอบของสุขภาพ กลไกการปรับตัวของร่างกายเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาสุขภาพ โรคและการป้องกันการเกิดโรคของบุคคลในวัยต่าง ๆ แนวคิดเกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมหลักการออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ การประเมินภาวะสุขภาพ การตรวจสุขภาพเบื้องต้น และการทดสอบสมรรถภาพทางกาย การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ อนามัยสิ่งแวดล้อม และชีวอนามัยเพื่อสุขภาพ
04071201 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน (Science and Technology in Daily Life) 3(3-0-6)
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์การเกษตร เทคโนโลยีอุตสาหกรรม และเวชศาสตร์ชะลอวัย มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ผลกระทบของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อมนุษย์ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมและการแก้ปัญหาด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์
05000104 การเกษตรและอาหารเพื่อชีวิต (Agriculture and Food for Life) 3(3-0-6)
ความสำคัญของการเกษตร หลักการผลิต และผลิตผลทางการเกษตร ด้านพืช สัตว์ ประมง การแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร ประเภทเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ข้าวและธัญพืช ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม การควบคุมคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร และความปลอดภัยของผู้บริโภค
05500103 เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Technology and Innovation for Sustainable Development) 3(3-0-6)
ความหมาย แนวคิดและบทบาทเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อการดำเนินชีวิตและส่งเสริมอาชีพในปัจจุบัน ผลกระทบต่อสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา สภาพแวดล้อมและความเป็นมนุษย์ รวมถึงวิเคราะห์และวางแผนเพื่อสร้างเครื่องมือสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน โดยเน้นการรักษาเอกลักษณ์ของชุมชน วัฒนธรรมท้องถิ่น ศึกษาชุมชนหรือหมู่บ้านวัฒนธรรมต้นแบบ
04000109 การพัฒนาทักษะการคิด (Thinking Skills Development) 3(3-0-6)
ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการคิด เทคนิค และวิธีคิดประเภทต่าง ๆ กรณีศึกษา และการฝึกทักษะการคิดเพื่อนำไประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
05151101 เกษตรภูมิปัญญาพื้นถิ่น (Folk Wisdom in Agriculture) 3(3-0-6)
บริบทการเกษตรของประเทศไทย นิยาม ความหมาย แนวคิด หลักการ การประยุกต์ และเทคนิคการปฏิบัติของเกษตรทางเลือก โดยการบูรณาการธรรมชาติ สังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่นเพื่อสร้างคุณค่าการเกษตรอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ฝึกปฏิบัติการ การศึกษาดูงานนอกสถานที่
04071202 ครอบครัวศึกษา (Family Studies) 3(3-0-6)
ครอบครัว สัมพันธภาพในครอบครัว ทักษะการบริหารชีวิตคู่ การจัดการปัญหาครอบครัว การสร้างสรรค์ครอบครัวที่มีคุณภาพ การปรับตัวของครอบครัวสมัยใหม่ เพศสภาพและสิทธิเสรีภาพในสังคมสมัยใหม่
04002101 ทักษะในศตวรรษที่21เพื่อชีวิตและอาชีพ (21st Century Skills for Life and Career) 3(3-0-6)
สืบค้น วิเคราะห์ แนวคิด ทฤษฏีเกี่ยวกับทักษะ 3R 8C โดยบูรณาการการประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตและ การประกอบอาชีพอย่างมีคุณภาพในศตวรรษที่ 21
04073501 การสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะ (Health Promotion and Care) 3(3-0-6)
สืบค้น วิเคราะห์ สรุปการสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะ ความสำคัญของกีฬาและนันทนาการและนโยบายสาธารณะเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การออกแบบและจัดกิจกรรมการสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะทางกาย จิต สังคมและปัญญา การออกแบบกีฬาและนันทนาการในการจัดการเรียนรู้ ความพร้อมในสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะในด้านที่สำคัญ
หมวดวิชาเฉพาะ
กลุ่วิชาแกน
1) ความหมายของรหัสวิชา
รหัสวิชาประกอบด้วยเลข 8 ตัว แต่ละหลักมีความหมายดังนี้
หลักที่ 1 หมายถึง รหัสคณะ
หลักที่ 2 – 4 หมายถึง หมู่วิชา
หลักที่ 5 หมายถึง ระดับความยากง่ายหรือชั้นปีที่จัดให้เรียน
หลักที่ 6 หมายถึง กลุ่มเนื้อหาวิชาในหมู่วิชา
หลักที่ 7-8 หมายถึง ลำดับที่ของรายวิชาในกลุ่มเนื้อหาวิชา
2) รายวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2562 จัดรายวิชาสำหรับการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา กำหนดให้เรียนให้ครบทุกกลุ่มวิชา ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต ดังนี้
ก. รายวิชาบังคับ จำนวน 12 หน่วยกิต
ข. รายวิชาเลือก จำนวน 18 หน่วยกิต
ก. รายวิชาบังคับ กำหนดให้เรียน จำนวน 12 หน่วยกิต ดังนี้
1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร เรียน 9 หน่วยกิต จากรายวิชา
01540108 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 3(3-0-6)
01552701 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3(3-0-6)
01550104 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม 3(3-0-6)
2) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เรียน 3 หน่วยกิต จากรายวิชา
02500104 วัฒนธรรมแอ่งสกลนคร 3(2-2-5)
ข. รายวิชาเลือก กำหนดให้เรียน จำนวน 18 หน่วยกิต โดยเลือกให้ครอบคลุม 4 กลุ่มวิชา ดังต่อไปนี้
1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร
01540109 การเขียนภาษาไทยทั่วไป 3(3-0-6)
01540107 การอ่านเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม 3(3-0-6)
01550105 การอ่านและเขียนภาษาอังกฤษทั่วไป 3(3-0-6)
01560102 ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น 3(3-0-6)
01570102 ภาษาจีนเบื้องต้น 3(3-0-6)
01670102 ภาษาลาวเบื้องต้น 3(3-0-6)
01710102 ภาษาเวียดนามเบื้องต้น 3(3-0-6)
01551601 ทักษะการพูดและการฟังภาษาอังกฤษ 3(3-0-6)
01553601 ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะชีวิตประจำวัน 3(3-0-6)
2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
02531203 ศิลปะการดำเนินชีวิต 3(3-0-6)
01511401 จริยธรรมเพื่อการดำเนินชีวิต 3(3-0-6)
01500109 สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ 3(3-0-6)
01511502 สุนทรียภาพเพื่อชีวิต 3(3-0-6)
01500113 ศาสนธรรมเพื่อคนร่วมสมัย 3(3-0-6)
02531204 จิตตปัญญาศึกษา 3(2-2-5)
03611201 หมากล้อม 3(3-0-6)
02053301 สุนทรียะ 3(3-0-6)
3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
02531202 สังคมไทยกับโลกาภิวัตน์ 3(3-0-6)
02531201 วิถีอาเซียน 3(3-0-6)
02500106 กฎหมายเพื่อชีวิต 3(3-0-6)
02500107 สันติศึกษา 3(3-0-6)
02551101 พลเมืองศึกษา 3(3-0-6)
03500102 หลักการจัดการสมัยใหม่ 3(3-0-6)
03500104 การพัฒนาที่ยั่งยืน 3(3-0-6)
03621101 การเป็นผู้ประกอบการ 3(3-0-6)
02533201 ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 3(2-2-5)
4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ – วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
04000105 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน 3(3-0-6)
04000106 คอมพิวเตอร์และสารสนเทศขั้นพื้นฐาน 3(2-2-5)
04000107 ชีวิตและสุขภาพ 3(3-0-6)
04071201 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน 3(3-0-6)
05000104 การเกษตรและอาหารเพื่อชีวิต 3(3-0-6)
05500103 เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3(3-0-6)
04000109 การพัฒนาทักษะการคิด 3(3-0-6)
05151101 เกษตรภูมิปัญญาพื้นถิ่น 3(3-0-6)
04071202 ครอบครัวศึกษา 3(3-0-6)
04002101 ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อชีวิตและอาชีพ 3(3-0-6)
04073501 การสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะ 3(3-0-6)
2. หมวดวิชาเฉพาะ หลักสูตรจัดรายวิชาสำหรับการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 95 หน่วยกิต ดังนี้
2.1 กลุ่มวิชาแกน 9 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ 70 หน่วยกิต
2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก 12 หน่วยกิต
2.4 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 4 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาแกน 9 หน่วยกิต
14121306 หลักการเขียนโปรแกรม 3(2-2-5)
14121402 คณิตศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(3-0-6)
14123407 สถิติและการวิจัยสำหรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(2-2-5)
2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ กำหนดให้เรียน จำนวน 70 หน่วยกิต ดังนี้
1) กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ 9 หน่วยกิต
14122219 การจัดการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(2-2-5)
14124208 การบริหารโครงการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(2-2-5)
43521103 หลักการบัญชี 3(2-2-5)
2) กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ 28 หน่วยกิต
14121607 หลักการและระบบการจัดการฐานข้อมูล 3(2-2-5)
14122606 การออกแบบสื่อดิจิทัลเบื้องต้น 3(2-2-5)
14122607 การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ 3(2-2-5)
14122608 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 3(2-2-5)
14123605 การบูรณาการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
สำหรับชุมชน 3(2-2-5)
14123606 การประยุกต์ใช้ระบบภูมิศาสตร์เบื้องต้น 3(2-2-5)
14123607 สัมมนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 1(1-0-2)
14123609 โครงงานคอมพิวเตอร์ 1 1(1-0-2)
14123610 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3(2-2-5)
14123613 การผลิตสื่อแอนิเมชัน 3(2-2-5)
14124604 โครงงานคอมพิวเตอร์ 2 2(1-2-3)
3) กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ 18 หน่วยกิต
14121305 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 3(2-2-5)
14122313 อินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง 3(2-2-5)
14122314 โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม 3(2-2-5)
14122315 เทคโนโลยีเว็บและการให้บริการ 3(2-2-5)
14122316 การเขียนโปรแกรมบนเว็บ 3(2-2-5)
14123333 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ 3(2-2-5)
4) กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานระบบ 9 หน่วยกิต
14122701 ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล 3(2-2-5)
14122702 การจัดการความมั่นคงและปลอดภัย 3(2-2-5)
14123225 มาตรฐานสากลด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(2-2-5)
5) กลุ่มฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 6 หน่วยกิต
14121701 ระบบการบำรุงรักษาทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(2-2-5)
14121702 ระบบปฏิบัติการและเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม 3(2-2-5)
2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต โดยเลือกจากรายวิชาในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังต่อไปนี้
กลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูล
14123211 ฐานข้อมูลขั้นสูง 3(2-2-5)
14123213 คลังข้อมูลและเหมืองข้อมูล 3(2-2-5)
14123611 ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ขั้นสูง 3(2-2-5)
14123612 ธุรกิจอัจฉริยะ 3(2-2-5)
14123226 ข้อมูลขนาดใหญ่ 3(2-2-5)
14124403 ปัญญาประดิษฐ์ 3(2-2-5)
กลุ่มการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
14123334 การเขียนโปรแกรมบนเว็บขั้นสูง 3(2-2-5)
14123335 การเขียนโปรแกรมบนคลาวด์ 3(2-2-5)
14123336 การออกแบบเว็บ 3(2-2-5)
14123337 การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงอ็อบเจกต์ 3(2-2-5)
14124315 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ขั้นสูง 3(2-2-5)
กลุ่มเครือข่าย
14123717 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย 3(2-2-5)
14123718 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการ 3(2-2-5)
14123720 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการขั้นสูง 3(2-2-5)
14124702 ระบบเครือข่ายขั้นสูง 3(2-2-5)
14124703 การออกแบบระบบเครือข่ายการสื่อสารและความปลอดภัยสำหรับองค์กร 3(2-2-5)
กลุ่มเนื้อหาทางดิจิทัล
14123614 การสร้างเทคนิคพิเศษทางภาพ 3(2-2-5)
14123615 การพัฒนาเกม 3(2-2-5)
14123618 การพัฒนาเกมขั้นสูง 3(2-2-5)
14124605 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงผสม 3(2-2-5)
14123114 จริยธรรมและกฎหมายสำหรับนักเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(3-0-6)
กลุ่มเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน
14121105 ภาษามือไทยเบื้องต้น 3(2-2-5)
14123224 เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาสำหรับผู้พิการ 3(2-2-5)
14123617 หลักการออกแบบกราฟิกและการใช้งานโปรแกรมกราฟิก 3(2-2-5)
14124606 การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียทางการศึกษาสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน 3(2-2-5)
14124607 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน 3(2-2-5)
2.4 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต ดังนี้
14123803 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ 1(90)
14123806 การเตรียมสหกิจศึกษา 1(90)
14124804 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ 3(450)
หรือ
14124805 สหกิจศึกษา 6(640)
3. หมวดวิชาเลือกเสรี กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ให้เลือกรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่ เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาของหลักสูตร
- กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร
- กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
- กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ – วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
01540108 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai for Communication) 3(3-0-6)
การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ฝึกทักษะการใช้ภาษาด้านการฟัง การพูด การอ่านการเขียน ได้แก่ การฟังบทสนทนา การฟังข่าว ฟังอภิปราย การพูดแสดงความคิดเห็น การพูดโน้มน้าวใจ การโต้วาที การพูดในโอกาสต่างๆ การอ่านสรุปใจความ การอ่านตีความ การอ่านวิเคราะห์และวิจารณ์ การเขียนสะกดคำไทย การอ่านย่อหน้า การเขียนเรียงความ รวมถึงการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ และสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ และสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
01540109 การเขียนภาษาไทยทั่วไป (Thai Writing for General Purposes) 3(3-0-6)
หลักการเขียน รูปแบบการเขียน ลักษณะและการใช้ประโยชน์ของงานเขียน เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การเขียนเล่าเรื่อง การเขียนจดหมาย การเขียนบันทึกข้อความ การเขียนคำถาม-ตอบในแบบสอบถาม การเขียนเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น การเขียนเพื่อโน้มน้าวจิตใจ การเขียนเอกสารสิทธิ์และสัญญาตามกฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
01540107 การอ่านเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม (Reading for Life and Social Development) 3(3-0-6)
หลักการและทักษะการอ่านประเภทต่างๆ ได้แก่ การอ่านสรุปความ การอ่านตีความ การอ่านวิเคราะห์ วิจารณ์ การอ่านงานเขียนประเภทต่างๆ ในนิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ และวรรณกรรม หรือสื่ออื่นๆ ที่สร้างจิตสำนึกที่ดีต่อตนเองและสังคม รวมถึงสามารถนำแนวความคิดหรือประโยชน์จากการอ่านไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเน้นอ่านงานเขียนจากสื่อประเภทต่างๆ สัปดาห์ละ 1 เรื่อง และจัดสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับการอ่าน เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา
01552701 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (English for Communication) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษที่จำเป็นในการสื่อสารบูรณาการกับชีวิตประจำวัน การใช้ภาษาอังกฤษสนทนา บรรยาย บันทึก สรุปใจความ นำเสนอในบริบทที่หลายหลาย
01550104 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (English for Cross Cultural Communication) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษระดับสูง เรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมของนานาประเทศ เน้นกลุ่มประเทศอาเซียน ศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พูดนำเสนอผลงาน และแสดงความคิดเห็น
01550105 การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษทั่วไป (Reading and Writing English for General Purposes) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะพัฒนาการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยจากสิ่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน พัฒนาการเขียนที่บูรณาการกับทักษะการอ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
01560102 ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น (Fundamentals of Japanese Language) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ศึกษารูปประโยคและไวยากรณ์พื้นฐาน ฝึกบทสนทนา ที่ใช้ใน ชีวิตประจำวัน การอ่าน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาญี่ปุ่นในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น
01570102 ภาษาจีนเบื้องต้น (Fundamentals of Chinese Language) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ศึกษารูปประโยคและไวยากรณ์พื้นฐาน ฝึกบทสนทนา ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่าน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาจีนในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศจีน
01670102 ภาษาลาวเบื้องต้น (Fundamentals of Lao Language) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน เน้นทักษะการอ่านและการเขียน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาลาวในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศลาว
01710102 ภาษาเวียดนามเบื้องต้น (Fundamentals of Vietnamese Language) 3(3-0-6)
ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ศึกษารูปประโยคและไวยากรณ์พื้นฐาน ฝึกบทสนทนา ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่าน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาเวียดนามในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศเวียดนาม
01551601 ทักษะการพูดและการฟังภาษาอังกฤษ (English Speaking and Listening Skills) 3(3-0-6)
พูดบอกรายละเอียดและสรุปประเด็นสำคัญ ฟังบทสนทนาและข้อความสั้นๆแล้วจับใจความ ใช้ประโยคและสำนวนเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว (ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลของครอบครัว การซื้อของ ภูมิศาสตร์ท้องถิ่น การจ้างงาน) สื่อสารเรื่องที่ง่ายและเป็นกิจวัตรที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยตรงและไม่ยุ่งยากเกี่ยวกับสิ่งที่คุ้นเคยหรือทำเป็นประจำ ใช้ภาษาและโครงสร้างทางไวยากรณ์ในการพูดโต้ตอบในสถานการณ์ที่แตกต่างหลากหลายโดยใช้ภาษา น้ำเสียง กิริยาท่าทางที่เหมาะสมตามมารยาททางสังคม และรู้ถึงวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา โดยเน้นกระบวนการทางภาษา คือ พูด ฟัง อ่าน เขียน การสื่อสาร การสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล และการฝึกปฏิบัติทักษะการสื่อสารตามสถานการณ์ต่างๆ
01553601 ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะชีวิตประจำวัน (English for Daily Life Skill) 3(3-0-6)
พูดคุยเชิงเทคนิคในเรื่องที่มีความเชี่ยวชาญ โต้ตอบอย่างคล่องแคล่วและเป็นธรรมชาติโต้ตอบกับผู้พูดที่เป็นเจ้าของภาษาได้โดยไม่มีความเคร่งเครียด สร้างถ้อยคำที่ชัดเจนและมีความละเอียดในหัวข้อที่หลากหลาย โดยมีความเข้าใจจุดประสงค์ของประเด็นที่มีความซับซ้อนทั้งรูปธรรมและนามธรรม อธิบายมุมมองเกี่ยวกับปัญหาเฉพาะที่มีความได้เปรียบและเสียเปรียบ ฝึกปฏิบัติทักษะภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ
02531203 ศิลปะการดำเนินชีวิต (Art of Living) 3(3-0-6)
ความหมายและคุณค่าของชีวิต ศิลปะการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าและความหมายต่อตนเอง ครอบครัว สังคม กรณีตัวอย่างที่ให้แรงบันดาลใจในการสร้างความสำเร็จและความสุขในชีวิต
01511401 จริยธรรมเพื่อการดำเนินชีวิต (Morality for Living) 3(3-0-6)
หลักจริยธรรมกับการพัฒนาชีวิต การพัฒนาตนด้านพฤติกรรม จิตใจและปัญญา การสร้างจิตสำนึกตระหนักในความเป็นสุจริตชน การสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อโลกและสังคม การบริหารความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ เคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเป็นสุขและมีสันติภาพ
01500109 สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Information for Learning) 3(3-0-6)
ความหมาย ความสำคัญของสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ การสืบค้นและแสวงหาสารสนเทศด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การศึกษา รวบรวม การจัดเก็บ และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศด้วยรูปแบบที่ทันสมัย และมีขั้นตอนที่เป็นมาตรฐาน
01511502 สุนทรียภาพเพื่อชีวิต (Aesthetics for Life) 3(3-0-6)
ความหมาย ความสำคัญของสุนทรียศาสตร์ต่อชีวิต คุณค่าเชิงสุนทรียะ ของงานศิลปะ การรับรู้ความงาม ความซาบซึ้งในศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ ด้านโสตศิลป์ และศิลปะการแสดง ในระดับท้องถิ่น ชาติและสากล เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตและสังคม
01500113 ศาสนธรรมเพื่อคนร่วมสมัย (Contemporary Religious Virtues) 3(3-0-6)
หลักคำสอนของศาสนาสำคัญที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ วิเคราะห์เชื่อมโยงหลักธรรมกับศาสตร์สาขาต่างๆ บูรณาการหลักศาสนาและแนวคิดของปราชญ์ทางศาสนา เพื่อการแก้ปัญหาชีวิตและสังคม เน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning
02531204 จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) 3(2-2-5)
ธรรมชาติของจิตมนุษย์ แก่นแท้ของชีวิตและธรรมชาติ หลักการภาวนา เพื่อฝึกฝนความรู้สึกตัว (สติ) การปฏิวัติจิตสำนึกเดิมสู่จิตสำนึกใหม่ที่เข้าถึงความเป็นอิสระ ความสุข ปัญญา และความอาทรต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่ง การพัฒนาตนเองอย่างสมดุลสู่ความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ เน้นวิธีการเรียนรู้ที่นำผู้เรียนไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในตนเองอย่างลึกซึ้งและเชื่อมโยงไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลกผ่านกระบวนการจิตตภาวนา สุนทรียสนทนา การทำงานศิลปะ โยคะ
03611201 หมากล้อม (GO) 3(3-0-6)
ประวัติความเป็นมาของหมากล้อม กฎ กติกา มารยาท วัตถุประสงค์ พื้นฐานของการเล่นหมากล้อม ทักษะทางปัญญา 11 ประการ บัญญัติ 10 ประการ เทคนิคในการเล่นหมากล้อมแบบต่างๆ การแก้ปัญหาระหว่างเกม คุณค่าของหมากล้อมและการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
02053301 สุนทรียะ (Aesthetics) 3(3-0-6)
ขับร้องเพลงตามจังหวะ ทำนอง และเนื้อหาของเพลงไทยสากลแต่ละประเภทและเพลงรำวงมาตรฐาน เล่นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ออกแบบกิจกรรมนันทนาการ จัดกิจกรรมนันทนาการ ปฏิบัติการรำวงในเพลงมาตรฐาน ออกแบบการแสดง จัดการแสดง วิเคราะห์หลักทางสุนทรียศาสตร์ในงานทัศนศิลป์ หลักการทางทัศนธาตุ หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ หลักการออกแบบป้ายนิเทศ ออกแบบฉาก เวที สื่อการเรียนรู้ และแฟ้มผลงาน จัดทำผลงานทางศิลปะ นำเสนอผลงาน และวิพากษ์ผลงานศิลปะ
* 02500104 วัฒนธรรมแอ่งสกลนคร (Culture of Sakon Nakhon Basin) 3(2-2-5)
สภาพทางภูมิศาสตร์ ลักษณะทางกลุ่มชาติพันธุ์ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประวัติศาสตร์การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและฒนธรรม ชีวประวัติบุคคลสำคัญของท้องถิ่น ภูมิปัญญาทางด้านลปกรรม หัตถกรรม ประเพณี พิธีกรรม ภาษา และวรรณกรรม ฯลฯ ในบริเวณแอ่งสกลนคร อัตลักษณ์และพลวัตการปรับตัวของชุมชนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเน้นกระบวนการศึกษาชุมชนในท้องถิ่นให้เชื่อมโยงกับสาขาวิชาที่นักศึกษาเรียน และมีการ
นำเสนอผลงานเชิงประจักษ์
* สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครในคราวประชุมครั้งที่ 4/2562 เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2562 เห็นชอบกำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องเรียนวิชาวัฒนธรรมแอ่งสกลนคร ยกเว้นกรณีที่เคยเรียนมาแล้ว
02531201 วิถีอาเซียน (The ASEAN Ways) 3(3-0-6)
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์ พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่น อาเซียน การยอมรับปรับรูปแบบวิถีชีวิต คติความเชื่อ ค่านิยม จิตวิญญาณ สังคม วัฒนธรรมของภูมิภาคความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน วิถีอาเซียนในสังคมโลกปัจจุบัน
02500106 กฎหมายเพื่อชีวิต (Laws for Life) 3(3-0-6)
ลักษณะทั่วไปของกฎหมาย หลักการพื้นฐานของนิติรัฐ กระบวนการยุติธรรมและหลักกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หลักสิทธิมนุษยชนกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เน้นศึกษากรณีตัวอย่างในชีวิตประจำวัน
02500107 สันติศึกษา (Peace Studies) 3(3-0-6)
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสันติภาพ การวิเคราะห์ความขัดแย้งและความรุนแรงกรณีศึกษาความขัดแย้งและการใช้สันติวิธีในระดับชีวิต ชุมชนและสังคม เครื่องมือสันติวิธี ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง การสื่อสารเพื่อสันติ การสานเสวนาที่เน้นการฟังอย่างลึกซึ้งและการใช้สันติวิธี ในชีวิตประจำวัน
02551101 พลเมืองศึกษา (Civic Education) 3(3-0-6)
หลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบระชาธิปไตย การปกครองโดยกฎหมายสิทธิและหน้าที่ความเป็นพลเมือง สิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน พลวัต การเมืองภาคประชาชนและประชาสังคม ของสังคมการเมืองไทย บทบาทของพลเมืองในประเทศต่างๆ สร้างเสริมจิตสำนึกสาธารณะโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาสภาพปัญหาที่เป็นจริงในชุมชนท้องถิ่น
03500102 หลักการจัดการสมัยใหม่ (Principles of Modern Management) 3(3-0-6)
แนวคิดและหลักการจัดการ การจัดองค์การ การจัดการทรัพยากรขององค์การหน้าที่ในการจัดการ ทฤษฎีการจัดการสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาชีวิต สังคม และองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก
03500104 การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) 3(3-0-6)
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนา การประยุกตใชแนวคิดทฤษฎีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีความเหมาะสมกับสภาพทางสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของชุมชน กรณีตัวอย่างการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ(UN-Sustainable Development Goals)
03621101 การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) 3(3-0-6)
การเริ่มต้นธุรกิจการเป็นผู้ประกอบการ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดกลยุทธ์การสร้างธุรกิจ รูปแบบทางกฎหมายของธุรกิจ แผนธุรกิจ การเลือกทำเลที่ตั้ง แผนการตลาด ผลิตภัณฑ์ และราคา การจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาด ระบบบัญชีและงบการเงิน การจัดการทางการเงิน และภาษีอากร การจัดองค์การและการจัดการบุคลากร แนวโน้มการดำเนินธุรกิจในอนาคต และจริยธรรมทางธุรกิจ
02533201 ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (The King Wisdom for Local Development) 3(2-2-5)
ประยุกต์ใช้หลักการทรงงาน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนในชีวิตประจำวันได้ ศึกษาแนวคิด และหลักการของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ ฉลาดรู้เพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบตามศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม และร่วมมือกันทำงานโดยบูรณาการแบบองค์รวมกับทีมภาคีเครือข่าย
04000105 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน (Mathematics in Daily Life) 3(3-0-6)
ธรรมชาติของวิชาคณิตศาสตร์ พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ กับการใช้เหตุผล ความน่าจะเป็นและสถิติในชีวิตประจำวัน การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ดอกเบี้ย ร้อยละ ค่างวดคณิตศาสตร์สำหรับผู้บริโภค คณิตศาสตร์กับเกม คณิตศาสตร์กับศิลปะ กำหนดการเชิงเส้นเบื้องต้น คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง”
04000106 คอมพิวเตอร์และสารสนเทศขั้นพื้นฐาน (Fundamentals of Computer and Information 3) (2-2-5)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูลเบื้องต้น การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายพื้นฐาน การใช้ระบบเครือข่าย เพื่อการสื่อสารและสืบค้นอย่างมีจริยธรรม กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีารสนเทศ การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
04000107 ชีวิตและสุขภาพ (Life and Health) 3(3-0-6)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการของชีวิตและระบบที่สำคัญของร่างกายมนุษย์ แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพแบบองค์รวม องค์ประกอบของสุขภาพ กลไกการปรับตัวของร่างกายเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาสุขภาพ โรคและการป้องกันการเกิดโรคของบุคคลในวัยต่าง ๆ แนวคิดเกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมหลักการออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ การประเมินภาวะสุขภาพ การตรวจสุขภาพเบื้องต้น และการทดสอบสมรรถภาพทางกาย การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ อนามัยสิ่งแวดล้อม และชีวอนามัยเพื่อสุขภาพ
04071201 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน (Science and Technology in Daily Life) 3(3-0-6)
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์การเกษตร เทคโนโลยีอุตสาหกรรม และเวชศาสตร์ชะลอวัย มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ผลกระทบของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อมนุษย์ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมและการแก้ปัญหาด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์
05000104 การเกษตรและอาหารเพื่อชีวิต (Agriculture and Food for Life) 3(3-0-6)
ความสำคัญของการเกษตร หลักการผลิต และผลิตผลทางการเกษตร ด้านพืช สัตว์ ประมง การแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร ประเภทเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ข้าวและธัญพืช ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม การควบคุมคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร และความปลอดภัยของผู้บริโภค
05500103 เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Technology and Innovation for Sustainable Development) 3(3-0-6)
ความหมาย แนวคิดและบทบาทเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อการดำเนินชีวิตและส่งเสริมอาชีพในปัจจุบัน ผลกระทบต่อสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา สภาพแวดล้อมและความเป็นมนุษย์ รวมถึงวิเคราะห์และวางแผนเพื่อสร้างเครื่องมือสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน โดยเน้นการรักษาเอกลักษณ์ของชุมชน วัฒนธรรมท้องถิ่น ศึกษาชุมชนหรือหมู่บ้านวัฒนธรรมต้นแบบ
04000109 การพัฒนาทักษะการคิด (Thinking Skills Development) 3(3-0-6)
ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการคิด เทคนิค และวิธีคิดประเภทต่าง ๆ กรณีศึกษา และการฝึกทักษะการคิดเพื่อนำไประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
05151101 เกษตรภูมิปัญญาพื้นถิ่น (Folk Wisdom in Agriculture) 3(3-0-6)
บริบทการเกษตรของประเทศไทย นิยาม ความหมาย แนวคิด หลักการ การประยุกต์ และเทคนิคการปฏิบัติของเกษตรทางเลือก โดยการบูรณาการธรรมชาติ สังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่นเพื่อสร้างคุณค่าการเกษตรอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ฝึกปฏิบัติการ การศึกษาดูงานนอกสถานที่
04071202 ครอบครัวศึกษา (Family Studies) 3(3-0-6)
ครอบครัว สัมพันธภาพในครอบครัว ทักษะการบริหารชีวิตคู่ การจัดการปัญหาครอบครัว การสร้างสรรค์ครอบครัวที่มีคุณภาพ การปรับตัวของครอบครัวสมัยใหม่ เพศสภาพและสิทธิเสรีภาพในสังคมสมัยใหม่
04002101 ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อชีวิตและอาชีพ (21st Century Skills for Life and Career) 3(3-0-6)
สืบค้น วิเคราะห์ แนวคิด ทฤษฏีเกี่ยวกับทักษะ 3R 8C โดยบูรณาการการประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตและ การประกอบอาชีพอย่างมีคุณภาพในศตวรรษที่ 21
04073501 การสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะ (Health Promotion and Care) 3(3-0-6)
สืบค้น วิเคราะห์ สรุปการสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะ ความสำคัญของกีฬาและนันทนาการและนโยบายสาธารณะเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การออกแบบและจัดกิจกรรมการสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะทางกาย จิต สังคมและปัญญา การออกแบบกีฬาและนันทนาการในการจัดการเรียนรู้ ความพร้อมในสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะในด้านที่สำคัญ
14121306 หลักการเขียนโปรแกรม (Programming Principles) 3(2-2-5)
หลักการพื้นฐานของขั้นตอนวิธี ประเภทตัวแปรภาษา กระบวนการทำงานของโปรแกรม กระบวนทัศน์ของการเขียนโปรแกรม การเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง การวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบโปรแกรมเบื้องต้น การเขียนผังงาน คำสั่งเทียม อัลกอริทึมพื้นฐาน รูปแบบไวยากรณ์ การพัฒนาโปรแกรมโดย เลือกภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งที่เหมาะสม
14121402 คณิตศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Mathematics for Computer and Digital Technologies) 3(3-0-6)
ตรรกศาสตร์ พีชคณิตบูลีน เซตและฟังก์ชัน ระบบเลขฐานสอง เลขฐานสิบหก เมทริกซ์และ เวคเตอร์ ระบบสมการ อสมการเชิงเส้น ระบบเลขจำนวนและอนุกรม ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น
14123407 สถิติและการวิจัยสำหรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Statistics and Research for Computer and Digital Technologies) 3(2-2-5)
การประยุกต์งานทางสถิติเชิงปริมาณสำหรับงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ประเภทการวิจัย การดำเนินการวิจัย การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ทั้งสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง เช่น การแจกแจงความถี่ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ ส่วนกลาง การวัดการกระจายของข้อมูล การแจกแจงแบบที การแจกแจงแบบปกติ การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ การแจกแจงไคสแควร์ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์การวิเคราะห์การถดถอย การฝึกปฏิบัติด้วยซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมและการเขียนรายงานการวิจัย
- กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ
- กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์
- กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์
- กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานระบบ
- กลุ่มฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
14122219 การจัดการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Management of Computer and Digital Technologies) 3(2-2-5)
การทบทวนระบบสารสนเทศ หลักการบริหารองค์กรสมัยใหม่ โครงสร้างของระบบสารสนเทศชนิดต่างๆ เช่น ระบบประมวลผลธุรกรรม ระบบจัดการข้อมูล ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น มาตรฐานการสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศ สำนักงานอัตโนมัติ และการกำหนดกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศและการสื่อสาร การฝึกปฏิบัติด้วยซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม
14124208 การบริหารโครงการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Computer and Digital Technologies Project Management) 3(2-2-5)
การบริหารโครงการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล ทั้งด้านการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการพัฒนาระบบต่างๆ และการพัฒนาความรู้ให้กับบุคลากร โดยใช้การบริหารการผสมผสาน การบริหารขอบเขต การบริหารเวลา การบริหารต้นทุน การบริหารคุณภาพ การบริหารทรัพยากรบุคคล การบริหารการติดต่อสื่อสารของการบริหารความเสี่ยง การบริหารการจัดหาครงการ การบริหารโครงการด้วยแผนภูมิแกนต์ แผนภาพเพิร์ธ แผนภาพวิกฤติขั้นตอนและการบริหารโครงการ การเริ่มต้นและการวางแผนการดำเนินการ การควบคุมและการปิดครงการ และการนำเสนอโครงการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
43521103 หลักการบัญชี (Principles of Accounting) 3(2-2-5)
ข้อสมมติฐานทางการบัญชี ความแตกต่างในหน้าที่ระหว่างพนักงานบัญชีและผู้ทำบัญชี หลักบัญชีคู่ เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี การบันทึกรายการในสมุดรายการขั้นต้น ประกอบด้วยสมุดรายวันทั่วไป
สมุดรายวันเฉพาะ การบันทึกในสมุดแยกประเภท งบทดลอง รายการปรับปรุง การจัดทำงบการเงินสำหรับกิจการบริการและกิจการซื้อขายสินค้า
14121607 หลักการและระบบการจัดการฐานข้อมูล (Principles and Management of Database Systems) 3(2-2-5)
ระบบแฟ้มข้อมูล ระบบฐานข้อมูล องค์ประกอบและสถาปัตยกรรมฐานข้อมูล การออกแบบฐานข้อมูลระดับแนวคิดและกายภาพ นอร์มัลไลเซซัน การใช้แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ข้อมูล ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง เมตาดาต้า ระบบการจัดการฐานข้อมูล กรณีศึกษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูล
14122606 การออกแบบสื่อดิจิทัลเบื้องต้น (Fundamentals of Digital Media Design) 3(2-2-5)
หลักการวิธีการ องค์ประกอบของการออกแบบสื่อดิจิทัล เทคนิคการออกแบบสื่อ การออกแบบและนำเสนอข้อมูลโดยใช้สื่อดิจิทัลประเภทต่างๆ ที่ประกอบด้วย ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพ 2 มิติ ภาพ 3 มิติ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์เพื่อออกแบบสื่อที่เหมาะสม
14122607 การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ (Human Computer Interaction) 3(2-2-5)
ทฤษฎีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีประสบการณ์ผู้ใช้ เทคโนโลยีที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์ โมเดลผู้ใช้ เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการออกแบบระบบผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง การวิเคราะห์ออกแบบ และประยุกต์ใช้ในกระบวนการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ การเปรียบเทียบและการวัดประสิทธิภาพของส่วนต่อประสานผู้ใช้ การฝึกปฏิบัติด้วยซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม
14122608 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analysis and Design) 3(2-2-5)
หลักการ ขั้นตอน และทฤษฎีการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ประเภทของระบบและบทบาทของระบบสารสนเทศ การบริหารโครงการด้วยแผนภูมิแกนต์ แผนภาพเพิร์ธและหลักการอื่นที่เหมาะสมเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบแผนภาพ การไหลของข้อมูลพจนานุกรมข้อมูล การเขียนโครงสร้างภาษา การออกแบบส่วนนำเข้า และส่วนแสดงผล การออกแบบและการพัฒนาซอฟต์แวร์ การจัดหาระบบ การทดสอบและการบำรุงรักษาระบบ การจัดทำคู่มือระบบ และการอบรมเพื่อการใช้ระบบ กรณีศึกษาและการพัฒนาระบบตามหลักทฤษฎี
14123605 การบูรณาการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลสำหรับชุมชน (Integration of Computer and Digital Technologies for the Community) 3(2-2-5)
หลักการการบูรณาการ วิธีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมในชุมชน ผ่านกรณีศึกษา
14123606 การประยุกต์ใช้ระบบภูมิศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to the Application of Geographic Information System) 3(2-2-5)
แนะนําระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์พื้นฐานทางแผนที่และระบบพิกัด อ้างอิง แบบจําลองข้อมูลทางระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ การนําเข้าและจัดการข้อมูลคุณลักษณะ การแสดงข้อมูลและการจัดทำแผนที่การใช้ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเวกเตอร์ ราสเตอร์ และลักษณะทางภูมิประเทศ การประมาณค่าเชิงพื้นที่ แบบจําลองและการสร้างแบบจำลองทางระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ พจนานุกรมข้อมูลและเมตาดาต้า
14123607 สัมมนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Seminar on Computer and Digital Technologies) 1(1-0-2)
ค้นคว้าเกี่ยวกับความก้าวหน้าและประเด็นที่สนใจทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลที่ทันสมัย นำเสนอเพื่อการอภิปรายและแลกเปลี่ยนประเด็นด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
14123609 โครงงานคอมพิวเตอร์ 1 (Computer Project 1) 1(1-0-2)
ค้นคว้าและนำเสนอหัวข้อโครงงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าต่อคณะกรรมการสอบ
14123610 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Commerce) 3(2-2-5)
หลักการของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกรรมออนไลน์ ระบบลูกค้าสัมพันธ์ ระบบรักษาความมั่นคงและความปลอดภัย ระบบการจัดส่งสินค้าและการติดตาม ระบบการชำระเงิน ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการปรับเปลี่ยนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามทิศทางเทคโนโลยีสารสนเทศฝึกปฏิบัติการออกแบบและพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้แพลตฟอร์มที่เหมาะสม
14123613 การผลิตสื่อแอนิเมชัน (Animation Media Production) 3(2-2-5)
ทฤษฎีและการปฏิบัติในการออกแบบสื่อแอนิเมชันและสื่อดิจิทัล กระบวนการผลิตสื่อแอนิเมชันเบื้องต้น เทคนิคหลากหลายชนิด ทั้งการวาด สตอปโมชั่น แอนิเมชัน 2 มิติ และ 3 มิติ การทำสื่อดิจิทัลการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่องานอนิเมชันและสื่อดิจิทัลกับงานต่างๆ
14124604 โครงงานคอมพิวเตอร์ 2 (Computer Project 2) 2(1-2-3)
วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน: 14123609 โครงงานคอมพิวเตอร์ 1
การพัฒนาโครงงานตามระเบียบการพัฒนาที่เหมาะสมกับประเภทโครงงาน ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา การนำเสนอโครงงานตามเกณฑ์การประเมินของหลักสูตรต่อคณะกรรมการสอบ
14121305 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Programming) 3(2-2-5)
วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน: 14121306 หลักการเขียนโปรแกรม
การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุเบื้องต้น การเขียนโปรแกรมเชิงเหตุการณ์ การเชื่อมต่อฐานข้อมูลฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรมโดยเลือกภาษาคอมพิวเตอร์
14122313 อินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง (Internet of Things) 3(2-2-5)
ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมควบคุมระบบ ชุดคำสั่งโครงสร้าง หน่วยนำข้อมูลเข้า-ออกและคำสั่งให้เครื่องหยุดทำงาน การจัดตำแหน่งข้อมูล การเขียนโปรแกรมควบคุม การจัดหน่วยความจำโปรเซสเซอร์ อุปกรณ์การจัดการอินเทอร์เน็ตออฟติง การรับส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตออฟติงแพลตฟอร์ม และการฝึกปฏิบัติ
14122314 โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม (Data Structures and Algorithms) 3(2-2-5)
หลักการเกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมแบบต่างๆ ในการแก้ปัญหา การวิเคราะห์ อัลกอริทึม การหาประสิทธิภาพ การเรียงลำดับและการค้นหาข้อมูลแบบต่างๆ การประยุกต์ใช้โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมกับภาษาคอมพิวเตอร์
14122315 เทคโนโลยีเว็บและการให้บริการ (Web Technologies and Services) 3(2-2-5)
ความเป็นมาของเวิลด์ไวด์เว็บ สถาปัตยกรรมไคลเอนต์-เซิรฟ์เวอร์ โพรโทคอลมาตรฐานเทคโนโลยีและเครื่องมือในการพัฒนาเว็บไซต์และเว็บแอปพลิเคชัน การออกแบบและการสร้างเว็บไซต์เทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยของเว็บ การให้บริการผ่านเว็บ และการให้บริการผ่านระบบคลาวด์ จริยธรรมการใช้เว็บ
14122316 การเขียนโปรแกรมบนเว็บ (Web Programming) 3(2-2-5)
หลักการทำงานของเว็บเซิร์ฟเวอร์ การพัฒนาเว็บไซต์ การเขียนโปรแกรมบนเว็บแบบไดนามิก การพัฒนาเอพีไอ การเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูล การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเว็บ การฝึกปฏิบัติการ เขียนโปรแกรมบนเว็บโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
14123333 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Application Development for Mobile Devices) 3(2-2-5)
หลักการแพลตฟอร์มของอุปกรณ์เคลื่อนที่ ออกแบบและสร้างโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ การฝึกปฏิบัติภาษาเฉพาะแพลตฟอร์ม
14122701 ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล (Network systems and Data Communications) 3(2-2-5)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารแบบอนาล็อกและดิจิทัล ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาตรฐานโพรโทคอลแบบเปิดสื่อรับส่งข้อมูล รูปแบบการเชื่อมโยงระบบเครือข่าย อุปกรณ์เครือข่าย ระบบเครือข่ายแลน ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่ายไร้สาย ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หลักการออกแบบระบบเครือข่าย การตรวจสอบตัวตนและระบบรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่าย
14122702 การจัดการความมั่นคงและปลอดภัย (Security Management) 3(2-2-5)
วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน: 14122701 ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล
หลักการด้านความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายและสารสนเทศ ประเภทของภัยคุกคาม กลไกการโจมตีและการป้องกันนโยบายและการปฏิบัติเพื่อความมั่นคงของระบบ การพิสูจน์ทราบในระบบคอมพิวเตอร์ บริการด้านความมั่นคง การวิเคราะห์ภัยคุกคามการเข้ารหัสและถอดรหัส การจัดการความเสี่ยง การออกแบบและวางแผนการกู้คืนระบบมาตรฐาน นโยบายการควบคุมความมั่นคงปลอดภัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
14123225 มาตรฐานสากลด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (International Standards for Computer and Digital Technologies) 3(2-2-5)
หลักการมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล ข้อกำหนด การประกาศใช้ การบริหารจัดการ การนำมาตรฐานต่าง ๆ เช่น มาตรฐานการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (COBIT) มาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยในสารสนเทศ (ISO21001) มาตรฐานการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITIL) มาตรฐานการพัฒนาระบบ (CMMI) และมาตรฐานการบริหารโครงการ (PMBOX) เป็นต้น
14121701 ระบบการบำรุงรักษาทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Computer and Digital Technologies Maintenance System) 3(2-2-5)
หลักการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ตและอุปกรณ์ต่อพ่วง ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์และติดตั้งโปรแกรมตามลักษณะงาน การบำรุงรักษาอุปกรณ์ แก้ปัญหาด้วยโปรแกรมรรถประโยชน์สำรองและป้องกันความเสียหายของข้อมูล การกู้คืนข้อมูล
14121702 ระบบปฏิบัติการและเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม (Operating Systems and Platform Technologies) 3(2-2-5)
หลักการเกี่ยวกับระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เคลื่อนที่ ส่วนประกอบทางฮาร์ดแวร์ วิวัฒนาการและหน้าที่ระบบปฏิบัติการโครงสร้างระบบปฏิบัติการ การจัดการโปรเซส การจัดการตัวประมวลผล การใช้งานเซิร์ฟเวอร์เสมือนจริงคอนเทรนเนอร์ และการฝึกปฏิบัต
14123211 ฐานข้อมูลขั้นสูง (Advanced Databases) 3(2-2-5)
หลักการระบบฐานข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูล การควบคุมสภาพข้อมูลเมื่อมีผู้ใช้หลายคนการจัดการทรานแซกชัน การเกิดภาวะพร้อมกัน การสำรองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูล วิธีการรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของฐานข้อมูล ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล
14123213 คลังข้อมูลและเหมืองข้อมูล (Data Mining and Data Warehouse) 3(2-2-5)
หลักการคลังข้อมูล ลักษณะของคลังข้อมูล สถาปัตยกรรมและองค์ประกอบของระบบคลังข้อมูล หลักการเหมืองข้อมูล กระบวนการในการจัดเตรียมข้อมูล การวิเคราะห์ การค้นหาความรู้โดยการใช้เทคนิคต่าง ๆ ของเหมืองข้อมูล การวัดประสิทธิภาพของเหมืองข้อมูล การออกแบบและแสดงข้อมูลด้วยแผนภาพและการประยุกต์ใช้เหมืองข้อมูล
14123611 ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ขั้นสูง (Advanced Geographic Information Systems) 3(2-2-5)
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน : 14123606 การประยุกต์ใช้ระบบภูมิศาสตร์เบื้องต้น 3(2-2-5)
พื้นฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ องค์ประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โครงสร้างข้อมูล ชนิดข้อมูล ทอพอโลยี ขั้นตอนวิธีการนำเข้า แก้ไข และวิเคราะห์เชิงพื้นที่ โปรแกรมประยุกต์ทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เทคนิคพื้นฐานสำหรับการสร้างแผนที่ดิจิทัล รวมถึงการประยุกต์ใช้งานระบบสารสนเทศในการแสดงข้อมูลเป็นภาพเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและสนับสนุนการตัดสินใจ
14123612 ธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) 3(2-2-5)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบธุรกิจอัจฉริยะและระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เทคนิคและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบอัจฉริยะทางธุรกิจ ประกอบด้วย ระบบสนับสนุนการตัดสินใจคลังข้อมูล การประมวลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ การทำเหมืองข้อมูล องค์ประกอบหลักของระบบซอฟต์แวร์ในระบบธุรกิจอัจฉริยะและตัวอย่างระบบซอฟต์แวร์ แนวโน้มของระบบธุรกิจอัจฉริยะ
14123226 ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) 3(2-2-5)
แนวคิดหลักข้อมูลขนาดใหญ่ คุณลักษณะของข้อมูลขนาดใหญ่ วิธีการบริหารและจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ เทคนิคการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลใหญ่ การประยุกต์ใช้เครื่องมือในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่
14124403 ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) 3(2-2-5)
นิยามและที่มาของปัญญาประดิษฐ์ การแก้ปัญหาและเขียนโปรแกรมการค้นหาคำตอบในปริภูมิสถานะด้วยภาษาลิสพ์ หรือภาษาอื่นๆ ที่เหมาะสม การใช้ตรรกศาสตร์แบบคลุมเครือ การเรียนรู้ของเครื่องจักรทัศนศาสตร์คอมพิวเตอร์โครงข่ายประสาทเทียม การพัฒนาระบบและการประยุกต์ใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญกรณีศึกษาด้านการพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ
14123334 การเขียนโปรแกรมบนเว็บขั้นสูง (Advanced Web Programming) 3(2-2-5)
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา HTML ขั้นสูง CSS ขั้นสูง JavaScript ขั้นสูง การประยุกต์ใช้ XML การใช้เว็บเอพีไอ การใช้เฟรมเวิร์ค การสร้างเว็บติดต่อฐานข้อมูล การเขียนโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์สำหรับเว็บไซต์การพิสูจน์ตัวตนและการรักษาความมั่นคงเว็บไซต์ การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่องานด้านต่างๆ
14123335 การเขียนโปรแกรมบนคลาวด์ (Cloud Programming) 3(2-2-5)
หลักการในการพัฒนาโปรแกรมบนคลาวด์ประเภทต่างๆ เช่น IaaS PaaS SaaS เป็นต้น การพัฒนาโปรแกรมบนคลาวด์โดยใช้ภาษาที่นิยมในปัจจุบัน
14123336 การออกแบบเว็บ (Web Design) 3(2-2-5)
หลักการ วิธีการ กระบวนการออกแบบเว็บไซต์ ทั้งการออกแบบเนื้อหา การออกแบบส่วนต่อประสาน การออกแบบประสบการณ์ใช้งานผู้ใช้ การออกแบบที่ตอบสนอง การออกแบบเพื่อรองรับการเข้าถึงของผู้ใช้ที่มีความแตกต่าง การใช้เครื่องมือในการออกแบบเว็บไซต์
14123337 การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงอ็อบเจกต์ (Object-Oriented Systems Analysis and Design) 3(2-2-5)
ระเบียบวิธี การวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมเชิงวัตถุ หลักการเชิงวัตถุ การวิเคราะห์ยูสเคสการออกแบบแผนภาพคลาส ภาษา UML และการออกแบบแพตเทิร์น
14124315 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ขั้นสูง (Advanced Application Development for Mobile Devices) 3(2-2-5)
การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่บนระบบปฏิบัติการ iOS การสร้างโปรแกรมติดต่อฐานข้อมูล การใช้ REST API การใช้เครื่องมือสำหรับสร้างโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่หลายแพลตฟอร์ม
14123717 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operation Systems) 3(2-2-5)
วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน : 14122701 ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล
วิวัฒนาการระบบปฏิบัติการและระบบปฏิบัติการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการเครือข่ายและเทคโนโลยีในปัจจุบัน การจัดเตรียมสภาพแวดล้อม การติดตั้งและการตั้งค่า การล็อกอินและล็อกอินระยะไกล การจัดการผู้ใช้งาน การเข้าใช้ระบบ การจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ บนเครื่องแม่ข่ายให้บริการ การจัดเก็บข้อมูลการเข้าถึง (Log) ระบบแม่ข่ายให้บริการ การสำรองข้อมูล การตรวจสอบ (Monitoring) และระบบรักษาความปลอดภัยของระบบปฏิบัติการ ศึกษาระบบปฏิบัติการกรณีตัวอย่าง เช่น ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ระบบปฏิบัติการวินโดว์ หรืออื่น ๆ ที่น่าสนใจ
14123718 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการ (Cloud Computing and Services) 3(2-2-5)
วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน : 14123717 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
การทบทวนทฤษฎีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ศึกษาระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์ ประกอบด้วย ทฤษฎี แนวคิด โครงสร้างของระบบ การจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่และการเรียกใช้ ระบบเสมือนและการจัดเก็บข้อมูล ระบบซอฟต์แวร์และการบริการ การเข้าถึงและความปลอดภัยแหล่งทรัพยากรต่างๆ บนระบบคลาวด์
14123720 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการขั้นสูง (Advanced Cloud Computing and Services) 3(2-2-5)
วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน: 14123718 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการ
เทคนิคการออกแบบระบบคลาวด์และการติดตั้ง การบริหารจัดการระบบคลาวด์ การออกแบบระบบการรักษาความปลอดภัยแบบคลาวด์ การประเมินประสิทธิภาพระบบคลาวด์
14124702 ระบบเครือข่ายขั้นสูง (Advanced Network systems) 3(2-2-5)
เทคโนโลยีสำหรับเครือข่าย ได้แก่ แลน แวนเป็นต้น เทคนิคการออกแบบระบบเครือข่ายและการติดตั้ง การบริหารจัดการระบบเครือข่าย ตลอดจนการออกแบบการรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่าย การประเมินประสิทธิภาพเครือข่าย
14124703 การออกแบบระบบเครือข่ายการสื่อสารและความปลอดภัยสำหรับองค์กร (Communication Network and Security Design for Organizations) 3(2-2-5)
วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน : 14122702 การจัดการความมั่นคงและปลอดภัย
14123718 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการ
การทบทวนทฤษฎีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ระบบเครือข่ายแบบคลาวด์คอมพิวเตอร์แบบเสมือน ศึกษาทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การออกแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร การออกแบบระบบเครือข่ายชนิดมีสายและไร้สาย อุปกรณ์เครือข่าย ระบบอินเทอร์เน็ต ระบบเอ็กซ์ทราเน็ตระบบอินทราเน็ต ระบบรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่ายและการสื่อสาร อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย การบริหารจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารในองค์กร
14123614 การสร้างเทคนิคพิเศษทางภาพ (Creation of Visual Effects) 3(2-2-5)
เทคนิคและการประยุกต์ใช้วิชวลเอฟเฟกต์ (Visual Effect) สำหรับลำดับภาพกราฟิกเคลื่อนไหวโดยใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะ การจำลองสภาพสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ การติดตามการเคลื่อนไหว และการจับคู่การเคลื่อนไหว เทคนิคการสร้างภาพด้วยระบบดิจิทัล
14123615 การพัฒนาเกม (Game Development) 3(2-2-5)
การพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาสคริปต์และสภาพแวดล้อมซอฟต์แวร์ของเกมเอ็นจิน แนวคิดและหลักการของเกม 2 มิติการสร้างและควบคุมโมเดล 2 มิติ การเขียนโปรแกรมสำหรับพัฒนาเกม กระบวนการที่จำเป็นในการพัฒนาซอฟต์แวร์เกม 2 มิติ
14123618 การพัฒนาเกมขั้นสูง (Advanced Game Development) 3(2-2-5)
การพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาสคริปต์และสภาพแวดล้อมซอฟต์แวร์ของเกมเอ็นจิน แนวคิดและหลักการของเกม 3 มิติ การสร้างและควบคุมโมเดล 3 มิติ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในเกมการเขียนโปรแกรมสำหรับพัฒนาเกม กระบวนการที่จำเป็นในการพัฒนาซอฟต์แวร์เกม 3 มิติ
14124605 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงผสม (Application of Mixed Reality) 3(2-2-5)
ความจริงเสมือน เช่น AR VR MR เป็นต้น การปฏิสัมพันธ์กิริยาหลายด้านทั้งด้านการมองเห็นการได้ยินและการสัมผัส การมีปฏิสัมพันธ์อย่างกลมกลืนกับความจริงเสมือน การประมวลผลด้านการมองเห็นและโมเดลสภาพแวดล้อม การจำลองพฤติกรรมทางกายภาพและการจำลองหลักฟิสิกส์ การจัดการสภาพแวดล้อมขนาดใหญ่ เครื่องมือสำหรับพัฒนาความจริงเสมือน ความจริงผสม หรือความบันเทิงดิจิทัล
14123114 จริยธรรมและกฎหมายสำหรับนักเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Ethics and Laws for Computer and Digital Technologies Professionals) 3(3-0-6)
ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมออนไลน์ ประเด็นจริยธรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว ความถูกต้องแม่นยำ ความเป็นเจ้าของ และความสามารถในการเข้าถึง ความหลากหลาย โลกาภิวัตน์ ช่องว่างดิจิทัล การคำนึงถึงบกพร่องทางการรับรู้ข้อคำนึงทางเศรษฐศาสตร์ ประเด็นทางกฎหมาย นโยบายสิทธิความเป็นส่วนตัว กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งไทยและสากล อาชญากรรมจากการใช้เทคโนโลยี ภัยคุกคามของระบบสารสนเทศ ประเด็นทางวิชาชีพและจริยธรรม องค์กรวิชาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล จริยธรรมและความประพฤติสำหรับนักเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
14121105 ภาษามือไทยเบื้องต้น (Introduction of Thai Sign Language) 3(2-2-5)
ประวัติความเป็นมาของภาษามือไทย บุคคลสำคัญและผลงานที่เป็นคุณูปการต่อภาษามือไทยรูปแบบและประเภทของภาษามือไทยที่ใช้ในปัจจุบัน การศึกษาภาษามือไทยลักษณะทางไวยากรณ์ที่สำคัญในภาษามือและภาษามือไทย ปัจจัยที่ทำให้การใช้ภาษามือไทยมีความหลากหลาย ภาษามือแบบต่างๆ ภาษามือไทยสำหรับการสื่อสารทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
14123224 เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาสำหรับผู้พิการ (Educational Assistive Technology for the Disable) 3(2-2-5)
ความหมาย ประเภท ขอบเขตการใช้เทคโนโลยีอุปกรณ์และการให้บริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาสำหรับคนพิการ เทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าถึงได้ทางการศึกษา นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษา
14123617 หลักการออกแบบกราฟิกและการใช้งานโปรแกรมกราฟิก (Principles of Graphic Design and Graphic Software Usage) 3(2-2-5)
หลักการออกแบบงานกราฟิก ทฤษฎีองค์ประกอบศิลป์ ทฤษฎีสีเทคนิค การใช้เครื่องมือสำหรับการผลิตงานกราฟิก ลักษณะสำคัญของโปรแกรมกราฟิก องค์ประกอบและการเชื่อมประสานกับผู้ใช้งานแบบกราฟิกของซอฟต์แวร์กราฟิก การใช้งานโปรแกรมกราฟิก การนำเข้าและส่งออกข้อมูลกราฟิก การออกแบบกราฟิก การตกแต่งภาพกราฟิก การฝึกปฏิบัติโครงงานกราฟิก
14124606 การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียทางการศึกษาสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน (Development of Educational Multimedia for the Deaf) 3(2-2-5)
จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามหน่วยงานภายในสถาบันอุดมศึกษา พัฒนาตัวผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 14123617 หลักการออกแบบกราฟิกและการใช้งานโปรแกรมกราฟิก
ความหมาย ประเภท องค์ประกอบ เครื่องมือที่ใช้การผลิตสื่อมัลติมีเดีย ข้อดี และข้อจำกัดของสื่อมัลติมีเดีย ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา แหล่งความรู้ที่เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา ฝึกปฏิบัติซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างสื่อมัลติมีเดีย
14124607 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน (Application of Computer and Digital Technologies for the Deaf) 3(2-2-5)
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 14123617 หลักการออกแบบกราฟิกและการใช้งานโปรแกรมกราฟิก
หลักการ วิธีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ ในการดำเนินชีวิตในยุคดิจิทัลสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน
14123803 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ (Preparation for Professional Internship in Computer) 1(90)
จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติของนักศึกษาก่อนออกไปฝึกปฏิบัติจากสถานประกอบการภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน ให้นักศึกษามีทักษะ ความรู้เจตคติตลอดจน คุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล โดยการกระทําในสถานการณ์หรือ รูปแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งฝึกปฏิบัติในสถานฝึกปฏิบัติของสาขาวิชาและมีเวลาในการฝึกไม่น้อยกว่า 90 ชั่วโมงปฏิบัติการ
14123806 การเตรียมสหกิจศึกษา (Preparation for Cooperative Education) 1(90)
14124804 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ (Professional Internship in Computer) 3(450)
นักศึกษาจะต้องรับการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 90 ชั่วโมง ก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพคอมพิวเตอร์ในองค์กร สถานที่ราชการ โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจเอกชน องค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ เอกชน ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ เจตคติ และประสบการณ์ในอาชีพคอมพิวเตอร์โดยก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพนักศึกษาต้องผ่านการทดสอบทักษะทางคอมพิวเตอร์และการฝึกอบรมของสาขาวิชาคอมพิวเตอร์
14124805 สหกิจศึกษา (Cooperative Education) 6(640)
นักศึกษาไปทำงานในองค์การ สถานที่ราชการ โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจเอกชน องค์การภาครัฐ รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์จะต้องรายงานประกอบและมีการนิเทศจากคณาจารย์ในหลักสูตร (มีการเตรียมฝึกสหกิจศึกษาให้นักศึกษา 30 ชั่วโมง)