สาขาวิชาฟิสิกส์ 

อาจารย์ประจำสาขาวิชาฟิสิกส์

อาจารย์วิทวัส พลหาญ
ประธานสาขาวิชาฟิสิกส์

ผศ.ธีราธาร ศรีมหา

ศ.ดร.ทศวรรษ สีตะวัน

ผศ.สุรศักดิ์ แสนทวีสุข

รศ.ดร.วิลาวรรณ์ คำหาญ

ผศ.ดร.เชิดตระกูล หอมจำปา

ว่าที่ ร.ต.ต. ธีระพงศ์ แสนทวีสุข

ผศ.ดร.หรรษกร วรรธนะสาร

รศ.ดร.อาธรณ์  วรอัด

อาจารย์  ดร.โชคชัย  คหัฏฐา

 ผศ.ดร.เพชรรัตน์  ใจบุญ

 อาจารย์วิชชุดา  ภาโสม

บุคลากรสายสนับสนุน

นางสาวลัดดาวรรณ แสนสุข

นายอนันตสิทธิ์ ไชยวังราช

ความเป็นมา

เมื่อปี 2507 ชาวจังหวัดสกลนครและจังหวัดใกล้เคียงมีความภาคภูมิใจที่มีการก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูสกลนครเพื่อผลิตครูให้เป็นครูผู้สอนในท้องถิ่น ซึ่งบุคคลากรที่ทำหน้าที่เป็นผู้สอนทางวิทยาศาสตร์ อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของหมวดวิทยาศาสตร์
ปี 2518 มีผลบังคับใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครูสกลนคร พ.ศ. 2518 ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2521 วิทยาลัยครูสกลนครมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน่วยงานโดยจัดตั้งเป็นคณะวิชาและภายใต้การบริหารจัดการในสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบไปด้วย 9 ภาควิชา คือ ภาควิชาเคมี ภาควิชาชีววิทยา ภาควิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ภาควิชาอุตสาหกรรมศิลป์ ภาควิชาเกษตรศาสตร์ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ และภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
ต่อมาในปี 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติ สถาบันราชภัฏขึ้นมีผลให้ “วิทยาลัยครูสกลนคร” เปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันราชภัฏสกลนคร” คณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปลี่ยนเป็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อปี 2542 ภาควิชาเคมี ภาควิชาชีววิทยา พร้อมทั้งภาควิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป เปลี่ยนเป็น กลุ่มโปรแกรมวิชาเคมี กลุ่มโปรแกรมวิชาชีววิทยา กลุ่มโปรแกรมวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป และเมื่อปี 2547 สถาบันราชภัฏสกลนคร ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
สาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นสาขาวิชาหนึ่ง ในสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มีภารกิจหลักในการผลิตบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์(วท.บ.) และได้เปิดรับนักศึกษา ในระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาวิชาฟิสิกส์ (วท.บ.) เมื่อปีการศึกษา 2542 และได้เปิดสอนในหลักสูตรนี้อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน สาขาวิชาฟิสิกส์ ผลิตบัณฑิตมาแล้ว 3 รุ่น และได้เปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2551

 ปรัชญา

สาขาวิชาฟิสิกส์ มุ่งเน้นการเสริมสร้างความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาฟิสิกส์ของนักศึกษาให้มีการเรียนรู้และการวิจัย เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้พัฒนา  แก้ปัญหาและปรับใช้เทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุด ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาประเทศ

 วิสัยทัศน์

ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้  มีทักษะทางวิทยาศาสตร์  พัฒนาการเรียนการสอนและบริการ   วิชาการทางฟิสิกส์แก่บุคลากรในท้องถิ่น

พันธกิจ

1. ด้านการจัดการศึกษา
1) จัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
2) สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ด้านฟิสิกส์
3) มุ่งผลิตบัณฑิตฟิสิกส์ที่มีคุณภาพและคุณธรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น โดยร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรทั้งในและต่างประเทศ
2. จัดการศึกษาเพื่อสนองตอบความต้องการของท้องถิ่น
1) ด้านการวิจัย
1.1) ส่งเสริมให้มีการทำวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ที่ช่วยพัฒนาความรู้สาขาวิชาฟิสิกส์ ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
1.2) วิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นด้วยความรู้ทางฟิสิกส์ โดยมุ่งเน้นการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งเผยแพร่ งานวิจัยสู่ชุมชนและท้องถิ่น
2) ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม
ให้บริการวิชาการทางด้านสาขาวิชาฟิสิกส์แก่บุคลากรในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ตัวอย่าง เช่น
2.1) การฝึกอบรม
2.2) การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาการทำผลงานทางวิชาการ
2.3) อาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์ที่ได้รับเชิญเป็นวิทยากร
2.4) อาจารย์ไปราชการและเข้าร่วมการประชุมสัมมนาทางวิชาการทั้งในและต่างประเทศ
2.5) การให้บริการอุปกรณ์และสื่อการสอนให้แก่โรงเรียน
3) ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ให้บริการวิชาการสาขาวิชาฟิสิกส์แก่บุคลากรในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัย
3.1) การส่งเสริมนักศึกษาให้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมทางด้านจริยธรรมที่หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยจัดขึ้น
3.2) การส่งเสริมให้นักศึกษาในสาขาวิชาเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสวันสำคัญทางศาสนา

วัตถุประสงค์

1) ผลิตบัณฑิตฟิสิกส์ที่มีคุณภาพ และมีคุณธรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและท้องถิ่น
2) เพื่อส่งเสริมการทำวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
3) เพื่อบริการวิชาการด้านฟิสิกส์และเทคโนโลยีตามความต้องการของท้องถิ่น
4) เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ในการผลิตกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาฟิสิกส์ของท้องถิ่นและประเทศชาติ
5) เพื่อให้บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพโดยใช้ความรู้ ทักษะ และเทคนิคเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาฟิสิกส์ในสถานประกอบการทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชนและสามารถสร้างงานด้วยตัวเองได้
6) เป็นพื้นฐานการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทสาขาวิชาฟิสิกส์
7) นำความรู้ทางด้านฟิสิกส์ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติ
8) เพื่อให้บรรลุตามปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของสาขาวิชาตามที่กล่าวมา จึงได้กำหนดมาตรฐานของโปรแกรมวิชาในด้านทรัพยากร (input) ด้านกระบวนการ (process) และด้าน คุณภาพบัณฑิต (output)

มาตรฐานด้านทรัพยากร

นักศึกษา

คุณสมบัติทั่วไป

1) ผู้เข้าศึกษาเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548 หมวด 4 ข้อ 11 ดังนี้

  • สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าสำหรับหลักสูตรปริญญาตรีปกติหรือสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าสำหรับหลักสูตร ปริญญาตรีต่อเนื่อง
  • เป็นผู้มีความประพฤติดี
  • ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง
  • ไม่เป็นโรคที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
  • มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  • มีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยอนุมัติให้เป็นกรณีพิเศษ
    2) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

คุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ

1) ด้านร่างกาย
1.1) มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง
1.2) ไม่เป็นโรคจิต โรคประสาทหรือไม่เป็นผู้มีบุคลิกภาพผิดปกติอื่นๆ
1.3) มีบุคลิกภาพที่ดี มีความสุภาพ มีวินัยและมีภาวะความเป็นผู้นำ
1.4) ไม่เป็นโรคต่อไปนี้ ที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา คือ โรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้าง ในระยะปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม ติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง และโรคพิษสุราเรื้อรัง
2) ด้านความประพฤติ จรรยามารยาท
2.1) มีความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี
2.2) เป็นผู้เลื่อมใสในศาสนาและสนับสนุนการปกครองระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2.3) ไม่เคยเป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี ไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง
2.4) มีความรักและศรัทธาในอาชีพ มีจิตใจมุ่งมั่น เพื่อการพัฒนาทั้งตนเอง ครอบครัว และสังคม
2.5) ไม่เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อวิชาชีพ
2.6) มีความใฝ่รู้ และใฝ่เรียน ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
2.7) มีทักษะในการบริหารจัดการ พร้อมทั้งรู้จักการแก้ปัญหาด้วยสติ
3) ด้านจิตใจ
3.1) มีความคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ พร้อมทั้งสังเคราะห์อย่างมีวิสัยทัศน์
3.2) มีความรัก และศรัทธาในสิ่งที่กำลังศึกษา
3.3) มีจิตใจตั้งมั่น ที่จะพัฒนาทั้งตนเอง ครอบครัว และสังคม
3.4) ไม่เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในวงการอาชีพ
3.5) มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
3.6) มีความรักในท้องถิ่น และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3.7) มีจิตสำนึกต่อหน้าที่ของตนเองและส่วนรวม

การพัฒนาอาจารย์และบุคลากร

สาขาวิชาฟิสิกส์ มีแนวทางในการดำเนินการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1. สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนพัฒนาองค์ความรู้สู่ท้องถิ่น
2. สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานบริการวิชาการแก่ชุมชน เช่น การเป็นวิทยากร การอบรมครู
3. สนับสนุนให้อาจารย์เขียนเอกสารประกอบการสอน ตำรา ในรายวิชาที่รับผิดชอบ
4. สนับสนุนให้อาจารย์ทำผลงานเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
5. สนับสนุนให้อาจารย์ได้เข้าร่วมการฝึกอบรม การสัมมนา การศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ
6. สนับสนุนให้อาจารย์ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
7. ต้องมีนักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการและสนับสนุนให้เข้ารับการฝึกอบรมในห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์ชั้นนำในประเทศ