สาขาวิชาคอมพิวเตอร์

ประวัติความเป็นมา ของสาขาวิชาคอมพิวเตอร์

          ตามประกาศพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูพุทธศักราช 2518 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2519 ให้วิทยาลัยครูทุกแห่ง ขยายการศึกษาถึงระดับปริญญาตรี ทำให้วิทยาลัยครูสกลนครในสมัยนั้นได้จัดตั้งภาควิชาคอมพิวเตอร์ขึ้น โดยเปิดสอน วิชาเอกคอมพิวเตอร์ระดับอนุปริญญา 2 ปี วิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษาระดับปริญญาตรี 2 ปี และปริญญาตรี 4 ปี สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
           พ.ศ. 2540 มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานวิชาการจากภาควิชาเป็นโปรแกรมวิชา
           พ.ศ. 2541 ภาควิชาคอมพิวเตอร์เปลี่ยนเป็นโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาระดับปริญญาตรี 2 ปี และ 4 ปี และโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ระดับอนุปริญญา
           พ.ศ. 2542 โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ได้เสนอศักยภาพเพื่อขอเปิดโปรแกรมวิชาวิทยาการ
คอมพิวเตอร์และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้หลักสูตรร่วมของสถาบันราชภัฏ และได้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็นโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
           พ.ศ. 2549 ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็นสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยปรับปรุงหลักสูตรสำหรับนักศึกษาที่ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานการอุดมศึกษา โดยใช้ชื่อหลักสูตรคือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2549
           พ.ศ. 2553 ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานจากสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสาขาวิชาคอมพิวเตอร์

ข้อมูลเบื้องต้นของหน่วยงาน

       ที่ตั้ง อาคาร 7 ห้อง 723 และ 732 อาคาร 9 ห้อง 9106
       ที่อยู่ เลขที่ 680 หมู่ 11 ถนนนิตโย ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
       โทรศัพท์ 0-4297-0029, 0-4297-0030

ปรัชญา (สาขาวิชาคอมพิวเตอร์)

          สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยงานจัดการศึกษาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนาท้องถิ่นบนพื้นฐานแห่งคุณธรรม

วิสัยทัศน์ (สาขาวิชาคอมพิวเตอร์)

          สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เป็นหน่วยงานผลิตบัณฑิตด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความรู้ คู่คุณธรรม ร่วมพัฒนาท้องถิ่น

พันธกิจ (สาขาวิชาคอมพิวเตอร์)

  • ผลิตบัณฑิตด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีคุณภาพและคุณธรรม
  • การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นไปตามมาตรฐานและสามารถบริการชุมชนได้
  • พัฒนาบุคลากรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
  • พัฒนาคณาจารย์และบุคลากรให้มีความก้าวหน้าด้านวิชาการและวิชาชีพ
  • พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ในวิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
  • บริหารจัดการสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ให้มีคุณภาพ

อัตลักษณ์ (สาขาวิชาคอมพิวเตอร์)

          บัณฑิตเป็นคนดี มีจิตสาธารณะ ใจสู้ รู้งาน เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

ข้อมูลทั่วไป
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Computer Science

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Computer Science)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Computer Science)

3. วิชาเอก
วิทยาการคอมพิวเตอร์

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 125 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
5.2 ประเภทของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ ปริญญาตรีทางวิชาการ
5.3 ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย
5.4 การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น จัดการเรียนการสอนโดยตรง
5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
6.1 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 (ปรับปรุงมาจาก หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2559)
6.2 สภาวิชาการ เห็นชอบในการนำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัยในการประชุม ครั้งที่ 8/2563 วันที่ 14 ธันวาคม 2563
6.3 สภามหาวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 10/2563 วันที่ 25 ธันวาคม 2563
6.4 เปิดสอน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรจะได้รับการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2566

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) นักพัฒนาซอฟต์แวร์
2) นักวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์
3) นักบริหารจัดระบบเครือข่าย
4) นักบริหารจัดการฐานข้อมูล
5) นักพัฒนาระบบอัจฉริยะ
6) นักพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์
7) นักวิชาการคอมพิวเตอร์ หรือนักวิชาชีพในสถานประกอบการ
8) ที่ปรึกษาด้านระบบคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ
9) ผู้ประกอบการหรือนักลงทุนด้านคอมพิวเตอร์
10) ข้าราชการ

9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
1) อาจารย์ สุรสิทธิ์ อุ้ยปัดฌาวงศ์
2) อาจารย์ ดร.นิภาพร ชนะมาร
3) อาจารย์ กรกช มาตะรัตน์
4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วีระศักดิ์ เจริญรัตน์
5) อาจารย์ ดร.ชัยนันท์ สมพงษ์ 

โครงสร้างหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์

หมวดวิชามาตรฐานคุณวุฒิ
(หน่วยกิต)
โครงสร้างหลักสูตร
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไปไม่น้อยกว่า 3030
1.1 รายวิชาบังคับ12
1.2 รายวิชาบังคับเลือก18
2. หมวดวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า 84ไม่น้อยกว่า 89
2.1 กลุ่มวิชาแกน (กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน)1212
2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ (กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน)3658 หรือ 61
2.2.1 กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ36
2.2.2 กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์610
2.2.3 กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์1215
2.2.4 กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ1218
2.2.5 กลุ่มฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์36
2.2.6 กลุ่มภาษาอังกฤษ3
2.2.7 กลุ่มโครงงาน *3*
2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือกไม่น้อยกว่า 15
2.3.1 กลุ่มวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 12
2.3.2 กลุ่มวิชาเลือกวิทยาการจัดการ3
2.4 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หรือ สหกิจศึกษา **ไม่น้อยกว่า 4
2.4.1 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ การเตรียมสหกิจศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์1
2.4.2 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางวิทยาการคอมพิวเตอร์
หรือ สหกิจศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์
0-3 หรือ 6-93 หรือ 6
3. หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า 6ไม่น้อยกว่า 6
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 120ไม่น้อยกว่า 125

หมายเหตุ ดูตารางแสดงการเทียบองค์ความรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิ และรายวิชาของหลักสูตรที่ภาคผนวก ง
* กลุ่มโครงงาน เฉพาะนักศึกษาเลือกฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์
** นักศึกษาเลือกเรียนกลุ่มสหกิจศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์

 

 

รายวิชาในหลักสูตร

1). ความหมายของรหัสวิชา
รหัสวิชาประกอบไปด้วยเลข 8 ตัว แต่ละหลักมีความหมาย ดังนี้
หลักที่      1      หมายถึง  รหัสคณะ
หลักที่     2-4   หมายถึง  หมู่วิชา
หลักที่      5      หมายถึง  ระดับความยากง่ายหรือชั้นปีที่จัดให้เรียน
หลักที่      6      หมายถึง  กลุ่มเนื้อหาวิชาในหมู่วิชา
หลักที่    7-8     หมายถึง  ลำดับที่ของรายวิชาในกลุ่มเนื้อหาวิชา

2). รายวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตรวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
      หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562 จัดรายวิชาสำหรับการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี ทุกสาขาวิชา กำหนดให้เรียนให้ครบทุกกลุ่มวิชา ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต ดังนี้
     ก. รายวิชาบังคับ จำนวน 12 หน่วยกิต
     ข. รายวิชาเลือก จำนวน 18 หน่วยกิต
ก. รายวิชาบังคับ กำหนดให้เรียน จำนวน 12 หน่วยกิต ดังนี้
     1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร เรียน 9 หน่วยกิต จากรายวิชา
       01540108   ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร                              3(3-0-6)
       01552701   ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร                          3(3-0-6)
       01550104   ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม     3(3-0-6)
     2) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เรียน 3 หน่วยกิต จากรายวิชา
       02500104   วัฒนธรรมแอ่งสกลนคร                                 3(2-2-5)

ข. รายวิชาเลือก กำหนดให้เรียน จำนวน 18 หน่วยกิต โดยเลือกให้ครอบคลุม 4 กลุ่มวิชา ดังต่อไปนี้
     1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร
       01540109   การเขียนภาษาไทยทั่วไป                              3(3-0-6)
       01540107   การอ่านเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม                   3(3-0-6)
       01550105   การอ่านและเขียนภาษาอังกฤษทั่วไป              3(3-0-6)
       01560102   ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น                                        3(3-0-6)
       01570102   ภาษาจีนเบื้องต้น                                           3(3-0-6)
       01670102   ภาษาลาวเบื้องต้น                                          3(3-0-6)
       01710102   ภาษาเวียดนามเบื้องต้น                                  3(3-0-6)
       01551601   ทักษะการพูดและการฟังภาษาอังกฤษ             3(3-0-6)
       01553601   ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะชีวิตประจำวัน              3(3-0-6)
     2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
       02531203   ศิลปะการดำเนินชีวิต                                     3(3-0-6)
       01511401   จริยธรรมเพื่อการดำเนินชีวิต                          3(3-0-6)
       01500109   สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้                              3(3-0-6)
       01511502   สุนทรียภาพเพื่อชีวิต                                     3(3-0-6)
       01500113   ศาสนธรรมเพื่อคนร่วมสมัย                            3(3-0-6)
       02531204   จิตตปัญญาศึกษา                                         3(2-2-5)
       03611201   หมากล้อม                                                   3(3-0-6)
       02053301   สุนทรียะ                                                      3(3-0-6)
     3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
       02531202   สังคมไทยกับโลกาภิวัตน์                               3(3-0-6)
       02531201   วิถีอาเซียน                                                   3(3-0-6)
       02500106   กฎหมายเพื่อชีวิต                                          3(3-0-6)
       02500107   สันติศึกษา                                                    3(3-0-6)
       02551101   พลเมืองศึกษา                                              3(3-0-6)
       03500102   หลักการจัดการสมัยใหม่                                3(3-0-6)
       03500104   การพัฒนาที่ยั่งยืน                                         3(3-0-6)
       03621101   การเป็นผู้ประกอบการ                                    3(3-0-6)
       02533201   ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น            3(2-2-5)
4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ – วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
       04000105   คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน                         3(3-0-6)
       04000106   คอมพิวเตอร์และสารสนเทศขั้นพื้นฐาน           3(2-2-5)
       04000107   ชีวิตและสุขภาพ                                           3(3-0-6)
       04071201   วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน  3(3-0-6)
       05000104   การเกษตรและอาหารเพื่อชีวิต                       3(3-0-6)
       05500103   เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

                                                                                           3(3-0-6)
       04000109   การพัฒนาทักษะการคิด                               3(3-0-6)
       05151101   เกษตรภูมิปัญญาพื้นถิ่น                                3(3-0-6)
       04071202   ครอบครัวศึกษา                                           3(3-0-6)
       04002101   ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อชีวิตและอาชีพ     3(3-0-6)
       04073501   การสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะ                     3(3-0-6)
2. หมวดวิชาเฉพาะ เรียนไม่น้อยกว่า 89 หน่วยกิต
   2.1 กลุ่มวิชาแกน (กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน) เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
       14111103   สถิติสำหรับนักวิทยาศาสตร์ *                        3(3-0-6)
       14093641   วิยุตคณิต *                                                  3(3-0-6)
       14093618   วิธีการเชิงตัวเลข *                                       3(3-0-6)
       14091507   แคลคูลัส 1*                                                3(3-0-6)
       14111102   หลักสถิติ                                                     3(3-0-6)
       14113311   หลักการวิจัย                                                2(2-0-4)
หมายเหตุ * รายวิชาที่สอดคล้องตามองค์ประกอบในกลุ่มวิชาแกน ตามมาตรฐานคุณวุฒิ
2.2) กลุ่มวิชาเอกบังคับ (กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน) เรียนไม่น้อยกว่า 58 หรือ 61 หน่วยกิต
   2.2.1 กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ 6 หน่วยกิต
       14121210   จริยธรรมสำหรับวิชาชีพคอมพิวเตอร์              3(3-0-6)
       14122609   หลักการและระบบการจัดการฐานข้อมูล          3(2-2-5)
   2.2.2 กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ 10 หน่วยกิต
       14122220   คอมพิวเตอร์กราฟิก                                      3(2-2-5)
       14122610   การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บเบื้องต้น   3(2-2-5)
       14123619   การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์  3(2-2-5)
       14123906   สัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์                 1(0-2-1)
   2.2.3 กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ 15 หน่วยกิต
       14121307   การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น         3(2-2-5)
       14121308   โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม                     3(2-2-5)
       14122317   การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง            3(2-2-5)
       14122318   การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงออบเจกต์ 3(2-2-5)
       14123338   วิศวกรรมซอฟต์แวร์                                      3(2-2-5)
   2.2.4 กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ 18 หน่วยกิต
       14121106   วิทยาการคอมพิวเตอร์พื้นฐาน                        3(2-2-5)
       14122112   การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์     3(2-2-5)
       14122221   ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์                         3(2-2-5)
       14123227   การประมวลผลภาพดิจิทัล                             3(2-2-5)
       14123228   ปัญญาประดิษฐ์                                            3(2-2-5)
       14123404   ทฤษฎีการคำนวณ                                        3(2-2-5)
   2.2.5 กลุ่มฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 6 หน่วยกิต
       14121309   ตรรกะดิจิทัลและการเขียนโปรแกรมควบคุม    3(2-2-5)
       14121703   สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ 3(2-2-5)
   2.2.6 กลุ่มภาษาอังกฤษ 3 หน่วยกิต
       14124704   ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพคอมพิวเตอร์        3(3-0-6)
2.2.7 กลุ่มโครงงาน 3 หน่วยกิต
       14123905   โครงงานคอมพิวเตอร์ 1                                1(1-0-2)
       14124902   โครงงานคอมพิวเตอร์ 2                                2(1-2-3)
หมายเหตุ กลุ่มโครงงาน เฉพาะนักศึกษาเลือกฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์
2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
   2.3.1 กลุ่มวิชาเลือก เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
      1) กลุ่มการพัฒนาซอฟต์แวร์
       14122320   การพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงอ็อบเจกต์                3(2-2-5)
       14123340   การพัฒนาแอปพลิเคชันข้ามแพลตฟอร์ม       3(2-2-5)
       14123347   การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บขั้นสูง      3(2-2-5)
       14123346   วิศวกรรมซอฟต์แวร์ขั้นสูง                             3(2-2-5)
     2) กลุ่มการบริหารจัดการเครือข่าย
       14122703   การบริหารระบบเสมือนเครื่องแม่ข่ายและบริการ 3(2-2-5)
       14123230   เทคโนโลยีระบบคลาวด์และการบริการ            3(2-2-5)
       14123719   การประยุกต์ใช้โปรแกรมโอเพ่นซอร์สสำหรับระบบ

                          ความมั่นคงปลอดภัยและเครือข่ายการสื่อสาร  3(2-2-5)
       14123620   การออกแบบระบบความมั่นคงปลอดภัยและ

                          เครือข่ายการสื่อสารสำหรับองค์กร                  3(2-2-5)
      3) กลุ่มการประยุกต์เทคโนโลยี
       14122222   ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เบื้องต้น            3(2-2-5)
       14123229   ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ                             3(2-2-5)
       14123231   การทำเหมืองข้อมูล                                        3(2-2-5)
       14123621   การประยุกต์ทำแผนที่บนเว็บ                           3(2-2-5)
      4) กลุ่มเกมและเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน 
       14122319   การพัฒนากราฟิกบนระบบความเป็นจริงเสมือน 3(2-2-5)
       14123345   การออกแบบและพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

                                                                                             3(2-2-5)
       14123348   การพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง                    3(2-2-5)
       14123410   การใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานออกแบบสร้างสรรค์3(2-2-5)
      5) กลุ่มการประยุกต์เพื่อท้องถิ่น
       14122611   อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งเพื่อท้องถิ่น               3(2-2-5)
       14123339   การเขียนโปรแกรมประยุกต์เพื่อท้องถิ่น            3(2-2-5)
       14123622   การประยุกต์วิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น

                                                                                              3(2-2-5)
       14123623   หัวข้อพิเศษด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์             3(2-2-5)
   2.3.2 กลุ่มวิชาเลือกวิทยาการจัดการ เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต
       43604302   การจัดการโลจิสติกส์                                      3(3-0-6)
       43604303   การประกอบการธุรกิจชุมชน                            3(3-0-6)
2.4 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 4 หรือ 7 หน่วยกิต ดังนี้
       14124903   การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพวิทยาการ

                          คอมพิวเตอร์**                                               1(150)
       14124904   การฝึกประสบการณ์วิชาชีพวิทยาการคอมพิวเตอร์

                                                                                          3(450) หรือ
       14124905   การเตรียมสหกิจศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์** 1(90)
       14124906   สหกิจศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์                   6(540)
3. หมวดวิชาเลือกเสรี เรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
ให้เลือกรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และ ต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาของหลักสูตร

01540108 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai for Communication) 3(3-0-6)

การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ฝึกทักษะการใช้ภาษาด้านการฟัง การพูด การอ่านการเขียน ได้แก่ การฟังบทสนทนา การฟังข่าว ฟังอภิปราย การพูดแสดงความคิดเห็น การพูดโน้มน้าวใจ การโต้วาที การพูดในโอกาสต่างๆ การอ่านสรุปใจความ การอ่านตีความ การอ่านวิเคราะห์และวิจารณ์ การเขียนสะกดคำไทย การอ่านย่อหน้า การเขียนเรียงความ รวมถึงการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ และสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ และสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

01540109 การเขียนภาษาไทยทั่วไป (Thai Writing for General Purposes) 3(3-0-6)

หลักการเขียน รูปแบบการเขียน ลักษณะและการใช้ประโยชน์ของงานเขียน เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การเขียนเล่าเรื่อง การเขียนจดหมาย การเขียนบันทึกข้อความ การเขียนคำถาม-ตอบในแบบสอบถาม การเขียนเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น การเขียนเพื่อโน้มน้าวจิตใจ การเขียนเอกสารสิทธิ์และสัญญาตามกฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

01540107 การอ่านเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม (Reading for Life and Social Development) 3(3-0-6)

หลักการและทักษะการอ่านประเภทต่างๆ ได้แก่ การอ่านสรุปความ การอ่านตีความ การอ่านวิเคราะห์ วิจารณ์ การอ่านงานเขียนประเภทต่างๆ ในนิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ และวรรณกรรม หรือสื่ออื่นๆ ที่สร้างจิตสำนึกที่ดีต่อตนเองและสังคม รวมถึงสามารถนำแนวความคิดหรือประโยชน์จากการอ่านไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเน้นอ่านงานเขียนจากสื่อประเภทต่างๆ สัปดาห์ละ 1 เรื่อง และจัดสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับการอ่าน เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา

01552701 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (English for Communication) 3(3-0-6)

ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษที่จำเป็นในการสื่อสารบูรณาการกับชีวิตประจำวัน การใช้ภาษาอังกฤษสนทนา บรรยาย บันทึก สรุปใจความ นำเสนอในบริบทที่หลายหลาย

01550104 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (English for Cross Cultural Communication) 3(3-0-6)

ฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษระดับสูง เรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมของนานาประเทศ เน้นกลุ่มประเทศอาเซียน ศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พูดนำเสนอผลงาน และแสดงความคิดเห็น

01550105 การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษทั่วไป (Reading and Writing English for General Purposes) 3(3-0-6)

ฝึกทักษะพัฒนาการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยจากสิ่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน พัฒนาการเขียนที่บูรณาการกับทักษะการอ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

01560102 ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น (Fundamentals of Japanese Language) 3(3-0-6)

ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ศึกษารูปประโยคและไวยากรณ์พื้นฐาน ฝึกบทสนทนา ที่ใช้ใน ชีวิตประจำวัน การอ่าน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาญี่ปุ่นในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น

01570102 ภาษาจีนเบื้องต้น (Fundamentals of Chinese Language) 3(3-0-6)

ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ศึกษารูปประโยคและไวยากรณ์พื้นฐาน ฝึกบทสนทนา ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่าน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาจีนในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศจีน

01670102 ภาษาลาวเบื้องต้น (Fundamentals of Lao Language) 3(3-0-6)

ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน เน้นทักษะการอ่านและการเขียน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาลาวในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศลาว

01710102 ภาษาเวียดนามเบื้องต้น (Fundamentals of Vietnamese Language) 3(3-0-6)

ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ศึกษารูปประโยคและไวยากรณ์พื้นฐาน ฝึกบทสนทนา ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่าน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาเวียดนามในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศเวียดนาม

01551601 ทักษะการพูดและการฟังภาษาอังกฤษ (English Speaking and Listening Skills) 3(3-0-6)

พูดบอกรายละเอียดและสรุปประเด็นสำคัญ ฟังบทสนทนาและข้อความสั้นๆแล้วจับใจความ ใช้ประโยคและสำนวนเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว (ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลของครอบครัว การซื้อของ ภูมิศาสตร์ท้องถิ่น การจ้างงาน) สื่อสารเรื่องที่ง่ายและเป็นกิจวัตรที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยตรงและไม่ยุ่งยากเกี่ยวกับสิ่งที่คุ้นเคยหรือทำเป็นประจำ ใช้ภาษาและโครงสร้างทางไวยากรณ์ในการพูดโต้ตอบในสถานการณ์ที่แตกต่างหลากหลายโดยใช้ภาษา น้ำเสียง กิริยาท่าทางที่เหมาะสมตามมารยาททางสังคม และรู้ถึงวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา โดยเน้นกระบวนการทางภาษา คือ พูด ฟัง อ่าน เขียน การสื่อสาร การสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล และการฝึกปฏิบัติทักษะการสื่อสารตามสถานการณ์ต่างๆ

01553601 ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะชีวิตประจำวัน (English for Daily Life Skill) 3(3-0-6)

พูดคุยเชิงเทคนิคในเรื่องที่มีความเชี่ยวชาญ โต้ตอบอย่างคล่องแคล่วและเป็นธรรมชาติโต้ตอบกับผู้พูดที่เป็นเจ้าของภาษาได้โดยไม่มีความเคร่งเครียด สร้างถ้อยคำที่ชัดเจนและมีความละเอียดในหัวข้อที่หลากหลาย โดยมีความเข้าใจจุดประสงค์ของประเด็นที่มีความซับซ้อนทั้งรูปธรรมและนามธรรม อธิบายมุมมองเกี่ยวกับปัญหาเฉพาะที่มีความได้เปรียบและเสียเปรียบ ฝึกปฏิบัติทักษะภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ

02531203 ศิลปะการดำเนินชีวิต (Art of Living) 3(3-0-6)

ความหมายและคุณค่าของชีวิต ศิลปะการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าและความหมายต่อตนเอง ครอบครัว สังคม กรณีตัวอย่างที่ให้แรงบันดาลใจในการสร้างความสำเร็จและความสุขในชีวิต

01511401 จริยธรรมเพื่อการดำเนินชีวิต (Morality for Living) 3(3-0-6)

หลักจริยธรรมกับการพัฒนาชีวิต การพัฒนาตนด้านพฤติกรรม จิตใจและปัญญา การสร้างจิตสำนึกตระหนักในความเป็นสุจริตชน การสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อโลกและสังคม การบริหารความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ เคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเป็นสุขและมีสันติภาพ

01500109 สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Information for Learning) 3(3-0-6)

ความหมาย ความสำคัญของสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ การสืบค้นและแสวงหาสารสนเทศด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การศึกษา รวบรวม การจัดเก็บ และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศด้วยรูปแบบที่ทันสมัย และมีขั้นตอนที่เป็นมาตรฐาน

01511502 สุนทรียภาพเพื่อชีวิต (Aesthetics for Life) 3(3-0-6)

ความหมาย ความสำคัญของสุนทรียศาสตร์ต่อชีวิต คุณค่าเชิงสุนทรียะ ของงานศิลปะ การรับรู้ความงาม ความซาบซึ้งในศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ ด้านโสตศิลป์ และศิลปะการแสดง ในระดับท้องถิ่น ชาติและสากล เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตและสังคม

01500113 ศาสนธรรมเพื่อคนร่วมสมัย (Contemporary Religious Virtues) 3(3-0-6)

หลักคำสอนของศาสนาสำคัญที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ วิเคราะห์เชื่อมโยงหลักธรรมกับศาสตร์สาขาต่างๆ บูรณาการหลักศาสนาและแนวคิดของปราชญ์ทางศาสนา เพื่อการแก้ปัญหาชีวิตและสังคม เน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning

02531204 จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) 3(2-2-5)

ธรรมชาติของจิตมนุษย์ แก่นแท้ของชีวิตและธรรมชาติ หลักการภาวนา เพื่อฝึกฝนความรู้สึกตัว (สติ) การปฏิวัติจิตสำนึกเดิมสู่จิตสำนึกใหม่ที่เข้าถึงความเป็นอิสระ ความสุข ปัญญา และความอาทรต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่ง การพัฒนาตนเองอย่างสมดุลสู่ความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ เน้นวิธีการเรียนรู้ที่นำผู้เรียนไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในตนเองอย่างลึกซึ้งและเชื่อมโยงไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลกผ่านกระบวนการจิตตภาวนา สุนทรียสนทนา การทำงานศิลปะ โยคะ

03611201 หมากล้อม (GO) 3(3-0-6)

ประวัติความเป็นมาของหมากล้อม กฎ กติกา มารยาท วัตถุประสงค์ พื้นฐานของการเล่นหมากล้อม ทักษะทางปัญญา 11 ประการ บัญญัติ 10 ประการ เทคนิคในการเล่นหมากล้อมแบบต่างๆ การแก้ปัญหาระหว่างเกม คุณค่าของหมากล้อมและการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

02053301 สุนทรียะ (Aesthetics) 3(3-0-6)

ขับร้องเพลงตามจังหวะ ทำนอง และเนื้อหาของเพลงไทยสากลแต่ละประเภทและเพลงรำวงมาตรฐาน เล่นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ออกแบบกิจกรรมนันทนาการ จัดกิจกรรมนันทนาการ ปฏิบัติการรำวงในเพลงมาตรฐาน ออกแบบการแสดง จัดการแสดง วิเคราะห์หลักทางสุนทรียศาสตร์ในงานทัศนศิลป์ หลักการทางทัศนธาตุ หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ หลักการออกแบบป้ายนิเทศ ออกแบบฉาก เวที สื่อการเรียนรู้ และแฟ้มผลงาน จัดทำผลงานทางศิลปะ นำเสนอผลงาน และวิพากษ์ผลงานศิลปะ

* 02500104 วัฒนธรรมแอ่งสกลนคร (Culture of Sakon Nakhon Basin) 3(2-2-5)

สภาพทางภูมิศาสตร์ ลักษณะทางกลุ่มชาติพันธุ์ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประวัติศาสตร์การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและฒนธรรม ชีวประวัติบุคคลสำคัญของท้องถิ่น ภูมิปัญญาทางด้านลปกรรม หัตถกรรม ประเพณี พิธีกรรม ภาษา และวรรณกรรม ฯลฯ ในบริเวณแอ่งสกลนคร อัตลักษณ์และพลวัตการปรับตัวของชุมชนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเน้นกระบวนการศึกษาชุมชนในท้องถิ่นให้เชื่อมโยงกับสาขาวิชาที่นักศึกษาเรียน และมีการนำเสนอผลงานเชิงประจักษ์

* สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครในคราวประชุมครั้งที่ 4/2562 เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2562 เห็นชอบกำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องเรียนวิชาวัฒนธรรมแอ่งสกลนคร ยกเว้นกรณีที่เคยเรียนมาแล้ว

 

02531202 สังคมไทยกับโลกาภิวัตน์ (Thai Society and Globalization) 3(3-0-6)

ความหมาย ลักษณะ สาระสำคัญและสถานการณ์ปัจจุบันของโลกาภิวัตน์ บทบาทและผลกระทบของโลกาภิวัตน์ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม แนวโน้มและทิศทางการพัฒนาของสังคมไทยท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์


02531201 วิถีอาเซียน (The ASEAN Ways) 3(3-0-6)

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์ พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นอาเซียน การยอมรับปรับรูปแบบวิถีชีวิต คติความเชื่อ ค่านิยม จิตวิญญาณ สังคม วัฒนธรรมของภูมิภาค ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน วิถีอาเซียนในสังคมโลกปัจจุบัน

02500106 กฎหมายเพื่อชีวิต (Laws for Life) 3(3-0-6)

ลักษณะทั่วไปของกฎหมาย หลักการพื้นฐานของนิติรัฐ กระบวนการยุติธรรมและหลักกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หลักสิทธิมนุษยชนกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เน้นศึกษากรณีตัวอย่างในชีวิตประจำวัน

02500107 สันติศึกษา (Peace Studies) 3(3-0-6)

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสันติภาพ การวิเคราะห์ความขัดแย้งและความรุนแรงกรณีศึกษาความขัดแย้งและการใช้สันติวิธีในระดับชีวิต ชุมชนและสังคม เครื่องมือสันติวิธี ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง การสื่อสารเพื่อสันติ การสานเสวนาที่เน้นการฟังอย่างลึกซึ้งและการใช้สันติวิธี ในชีวิตประจำวัน

02551101 พลเมืองศึกษา (Civic Education) 3(3-0-6)

หลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบระชาธิปไตย การปกครองโดยกฎหมายสิทธิและหน้าที่ความเป็นพลเมือง สิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน พลวัต การเมืองภาคประชาชนและประชาสังคม ของสังคมการเมืองไทย บทบาทของพลเมืองในประเทศต่างๆ สร้างเสริมจิตสำนึกสาธารณะโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาสภาพปัญหาที่เป็นจริงในชุมชนท้องถิ่น

03500102 หลักการจัดการสมัยใหม่ (Principles of Modern Management) 3(3-0-6)

แนวคิดและหลักการจัดการ การจัดองค์การ การจัดการทรัพยากรขององค์การหน้าที่ในการจัดการ ทฤษฎีการจัดการสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาชีวิต สังคม และองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก

03500104 การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) 3(3-0-6)

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนา การประยุกตใชแนวคิดทฤษฎีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีความเหมาะสมกับสภาพทางสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของชุมชน กรณีตัวอย่างการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ(UN-Sustainable Development Goals)

03621101 การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) 3(3-0-6)

การเริ่มต้นธุรกิจการเป็นผู้ประกอบการ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดกลยุทธ์การสร้างธุรกิจ รูปแบบทางกฎหมายของธุรกิจ แผนธุรกิจ การเลือกทำเลที่ตั้ง แผนการตลาด ผลิตภัณฑ์ และราคา การจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาด ระบบบัญชีและงบการเงิน การจัดการทางการเงิน และภาษีอากร การจัดองค์การและการจัดการบุคลากร แนวโน้มการดำเนินธุรกิจในอนาคต และจริยธรรมทางธุรกิจ

02533201 ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (The King Wisdom for Local Development) 3(2-2-5)

ประยุกต์ใช้หลักการทรงงาน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนในชีวิตประจำวันได้ ศึกษาแนวคิด และหลักการของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ ฉลาดรู้เพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบตามศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม และร่วมมือกันทำงานโดยบูรณาการแบบองค์รวมกับทีมภาคีเครือข่าย

 

04000105 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน (Mathematics in Daily Life) 3(3-0-6)

ธรรมชาติของวิชาคณิตศาสตร์ พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ กับการใช้เหตุผล ความน่าจะเป็นและสถิติในชีวิตประจำวัน การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ดอกเบี้ย ร้อยละ ค่างวดคณิตศาสตร์สำหรับผู้บริโภค คณิตศาสตร์กับเกม คณิตศาสตร์กับศิลปะ กำหนดการเชิงเส้นเบื้องต้น คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง”

04000106 คอมพิวเตอร์และสารสนเทศขั้นพื้นฐาน (Fundamentals of Computer and Information 3) (2-2-5)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูลเบื้องต้น การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายพื้นฐาน การใช้ระบบเครือข่าย เพื่อการสื่อสารและสืบค้นอย่างมีจริยธรรม กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีารสนเทศ การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

04000107 ชีวิตและสุขภาพ (Life and Health) 3(3-0-6)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการของชีวิตและระบบที่สำคัญของร่างกายมนุษย์ แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพแบบองค์รวม องค์ประกอบของสุขภาพ กลไกการปรับตัวของร่างกายเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาสุขภาพ โรคและการป้องกันการเกิดโรคของบุคคลในวัยต่าง ๆ แนวคิดเกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมหลักการออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ การประเมินภาวะสุขภาพ การตรวจสุขภาพเบื้องต้น และการทดสอบสมรรถภาพทางกาย การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ อนามัยสิ่งแวดล้อม และชีวอนามัยเพื่อสุขภาพ

04071201 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน (Science and Technology in Daily Life) 3(3-0-6)

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์การเกษตร เทคโนโลยีอุตสาหกรรม และเวชศาสตร์ชะลอวัย มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ผลกระทบของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อมนุษย์ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมและการแก้ปัญหาด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์

05000104 การเกษตรและอาหารเพื่อชีวิต (Agriculture and Food for Life) 3(3-0-6)

ความสำคัญของการเกษตร หลักการผลิต และผลิตผลทางการเกษตร ด้านพืช สัตว์ ประมง การแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร ประเภทเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ข้าวและธัญพืช ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม การควบคุมคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร และความปลอดภัยของผู้บริโภค

05500103 เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Technology and Innovation for Sustainable Development) 3(3-0-6)

ความหมาย แนวคิดและบทบาทเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อการดำเนินชีวิตและส่งเสริมอาชีพในปัจจุบัน ผลกระทบต่อสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา สภาพแวดล้อมและความเป็นมนุษย์ รวมถึงวิเคราะห์และวางแผนเพื่อสร้างเครื่องมือสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน โดยเน้นการรักษาเอกลักษณ์ของชุมชน วัฒนธรรมท้องถิ่น ศึกษาชุมชนหรือหมู่บ้านวัฒนธรรมต้นแบบ

04000109 การพัฒนาทักษะการคิด (Thinking Skills Development) 3(3-0-6)

ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการคิด เทคนิค และวิธีคิดประเภทต่าง ๆ กรณีศึกษา และการฝึกทักษะการคิดเพื่อนำไประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

05151101 เกษตรภูมิปัญญาพื้นถิ่น (Folk Wisdom in Agriculture) 3(3-0-6)

บริบทการเกษตรของประเทศไทย นิยาม ความหมาย แนวคิด หลักการ การประยุกต์ และเทคนิคการปฏิบัติของเกษตรทางเลือก โดยการบูรณาการธรรมชาติ สังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่นเพื่อสร้างคุณค่าการเกษตรอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ฝึกปฏิบัติการ การศึกษาดูงานนอกสถานที่

04071202 ครอบครัวศึกษา (Family Studies) 3(3-0-6)

ครอบครัว สัมพันธภาพในครอบครัว ทักษะการบริหารชีวิตคู่ การจัดการปัญหาครอบครัว การสร้างสรรค์ครอบครัวที่มีคุณภาพ การปรับตัวของครอบครัวสมัยใหม่ เพศสภาพและสิทธิเสรีภาพในสังคมสมัยใหม่

04002101 ทักษะในศตวรรษที่21เพื่อชีวิตและอาชีพ (21st Century Skills for Life and Career) 3(3-0-6)

สืบค้น วิเคราะห์ แนวคิด ทฤษฏีเกี่ยวกับทักษะ 3R 8C โดยบูรณาการการประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตและ การประกอบอาชีพอย่างมีคุณภาพในศตวรรษที่ 21

04073501 การสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะ (Health Promotion and Care) 3(3-0-6)

สืบค้น วิเคราะห์ สรุปการสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะ ความสำคัญของกีฬาและนันทนาการและนโยบายสาธารณะเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การออกแบบและจัดกิจกรรมการสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะทางกาย จิต สังคมและปัญญา การออกแบบกีฬาและนันทนาการในการจัดการเรียนรู้ ความพร้อมในสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะในด้านที่สำคัญ

14111103 สถิติสำหรับนักวิทยาศาสตร์ (Statistics for Scientists) 3(3-0-6)

สถิติ ความน่าจะเป็น การแจกแจงความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงของตัวแปรสุ่ม การประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐาน การทดสอบไคสแควร์การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการออกแบบการทดลอง การวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์เชิงเส้น โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ กรณีศึกษาการใช้สถิติเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

14093641 วิยุตคณิต (Discrete Mathematics) 3(3-0-6)

การนับและความสัมพันธ์เวียนเกิด ทฤษฎีกราฟ การแทนกราฟด้วยเมทริกซ์ ต้นไม้และการแยกจำพวกข่ายงาน พีชคณิตบูลีนและวงจรเชิงวิธีจัดหมู่ ออโตมาตา ไวยกรณ์และภาษา ระบบเชิงพีชคณิตโพเซตและแลตทิซ

14093618 วิธีการเชิงตัวเลข (Numerical Methods) 3(3-0-6)

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 14091507 แคลคูลัส 1

การคำนวณเชิงตัวเลข ความผิดพลาดของกระบวนการคำนวณเชิงตัวเลข วิธีการประมาณค่าในช่วงและช่วงข้อมูล รากสมการที่ไม่เป็นเชิงเส้น อินทิกรัลและค่าอนุพันธ์เชิงตัวเลข ระบบสมการเชิงเส้นการคำนวณหาเมตริกซ์ไอเกนแวลู การประยุกต์ใช้ทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์

14091507 แคลคูลัส 1 (Calculus 1) 3(3-0-6)

ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชันตัวแปรเดียว อนุพันธ์และการประยุกต์ปริพันธ์ของฟังก์ชันตัวแปรเดียว และการประยุกต์

14111102 หลักสถิติ (Principles of Statistics) 3(3-0-6)

ความหมายของสถิติ ขอบเขต และประโยชน์ของสถิติ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลางและการวัดการกระจาย หลักเบื้องต้นของความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่ม การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มที่สำคัญการแจกแจงค่าตัวอย่าง การประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการหาความ
สัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

14113311 หลักการวิจัย (Research Methodology) 2(2-0-4)
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 14111102 หลักสถิติ

ความหมายของการวิจัย ประเภทของการวิจัย และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการวิจัย ปัญหาการวิจัย กรอบทฤษฎีและสมมติฐานการวิจัย ตัวแปรและการนิยามตัวแปร การวิจัยเชิงปริมาณ แผนแบบการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือการวิจัย ความตรงและความเที่ยงของแบบทดสอบ การสุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

14121210 จริยธรรมสำหรับวิชาชีพคอมพิวเตอร์ (Ethics for Computer Professions) 3(3-0-6)

แนวคิดและนิยามเกี่ยวกับจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์จรรยาบรรณทางด้านวิชาชีพบทบาทของวิชาชีพที่มีต่อสังคม กฎหมายและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ทรัพย์สินทางปัญญาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ องค์กรวิชาชีพ และกรณีศึกษา

14122609 หลักการและระบบการจัดการฐานข้อมูล (Principles and Management of Database System) 3(2-2-5)

แนวคิดฐานข้อมูลและระบบการจัดการฐานข้อมูล โมเดลเอนติตีและรีเลชันชิพ โมเดลเชิงสัมพันธ์ พีชคณิตเชิงสัมพันธ์การนอร์มอไลเซชัน ภาษาเอสคิวแอล บูรณภาพของข้อมูลและรายการเปลี่ยนแปลง การเกิดภาวะพร้อมกัน การสำรองและกู้คืนข้อมูล ความมั่นคงของระบบฐานข้อมูล กรณีศึกษา และพื้นฐานการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนฐานข้อมูล

14122220 คอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphics) 3(2-2-5)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก องค์ประกอบพื้นฐานและสไตล์ในกราฟิก หลักการสร้างจุด เส้น รูปเรขาคณิต รูปภาพ การแปลงภาพ เซกเมนต์ วินโดว์และคลิปปิง การปฏิสัมพันธ์แบบ 2 มิติ และ 3 มิติ การซ่อนและเส้น การแรเงา กราฟิกบนเว็บ การสร้างภาพเคลื่อนไหว การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกด้วยภาษาที่เหมาะสม การออกแบบและการผลิตชิ้นงานคอมพิวเตอร์กราฟิกด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

14122610 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บเบื้องต้น (Introduction to Web Application Development) 3(2-2-5)

เทคโนโลยีเว็บ ภาษา HTML และ CSS ภาษาจาวาสคริปต์และการออกแบบเว็บ เครื่องมือสนับสนุนสำหรับการสร้างเว็บไซต์ การติดต่อและเข้าถึงฐานข้อมูล คุกกี้และเซสชัน การประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ ในการสร้างเว็บ การพัฒนาโปรแกรมบนเว็บด้วยภาษาที่เหมาะสม

14123619 การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ (Human Computer Interaction) 3(2-2-5)

หลักการ แนวคิด และความสำคัญของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ ทฤษฎีการรับรู้ของมนุษย์ เทคโนโลยีด้านอินพุต และเอาต์พุต กระบวนแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ การออกแบบและพัฒนาส่วนต่อประสานตามประสบการณ์ผู้ใช้โดยผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง การทดสอบความง่ายในการใช้งานของระบบและนวัตกรรมส่วนต่อประสานปฏิสัมพันธ์ การประเมินประสิทธิภาพส่วนต่อประสานผู้ใช้ กรณีศึกษาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์

14123906 สัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Seminar in Computer Science) 1(0-2-1)

ปัญหาและเรื่องที่สนใจทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม รวบรวมเรียบเรียง และสรุปข้อคิดเห็นเพื่อนำเป็นข้อเสนอต่อที่ประชุมกลุ่มสัมมนา

14121307 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer Programming) 3(2-2-5)

แนวคิดพื้นฐานของภาษาที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตัวแปร ชนิดข้อมูลพื้นฐาน ตัวดำเนินการ นิพจน์ การรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูล คำสั่งควบคุมการทำงานของโปรแกรม อะเรย์แบบต่าง ๆ โปรแกรมย่อยและการส่งค่าพารามิเตอร์ และการติดต่อแฟ้มข้อมูลเบื้องต้น โดยเลือกเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาใดภาษาหนึ่งที่เหมาะสม การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุขั้นแนะนำ

14121308 โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม (Data Structure and Algorithms) 3(2-2-5)

หลักการเกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมแบบต่างๆ ในการแก้ปัญหา การวิเคราะห์อัลกอริทึม การหาประสิทธิภาพ การเรียงลำดับและการค้นหาข้อมูลแบบต่าง ๆ การประยุกต์ใช้โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมกับภาษาคอมพิวเตอร์

14122317 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง (Advanced Computer Programming) 3(2-2-5)

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 14121307 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

แนวคิดในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ขั้นสูง ตัวแปรและชนิดข้อมูล คำสั่งเพื่อควบคุมการทำงานของโปรแกรม การใช้ฟังก์ชันสำหรับการเขียนโปรแกรม การตรวจหาและแก้ไขผิดพลาดของโปรแกรม ทักษะการพัฒนาโปรแกรมที่มีความซับซ้อน หลักการเชิงวัตถุฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับพัฒนาระบบสารสนเทศและระบบฐานข้อมูล กรณีศึกษาสำหรับการเขียนโปรแกรมขั้นสูง

14122318 การวิเคราะห์และออกแบบเชิงอ็อบเจกต์ (Object-Oriented Analysis and Design) 3(2-2-5)

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 14121307 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

หลักการพื้นฐานของการสร้างแบบจำลองเชิงอ็อบเจกต์ การกำหนดความต้องการซอฟต์แวร์ การวิเคราะห์และออกแบบเชิงอ็อบเจกต์ และการสร้างแบบจำลองด้วยยูเอ็มแอล กรณีศึกษาการพัฒนาระบบ

14123338 วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) 3(2-2-5)

แนวคิดและหลักการออกแบบซอฟต์แวร์ สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์การวิเคราะห์และออกแบบซอฟต์แวร์แบบต่างๆ วัฏจักรและกระบวนการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ความน่าเชื่อถือของซอฟตแวร์ การจัดการความต้องการ การทำรายละเอียดขอกำหนดของซอฟตแวร์การจำลองระบบ การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้การออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์การทดสอบซอฟต์แวร์การบริหารโครงการซอฟต์แวร์การทวนและการตรวจสอบซอฟต์แวร์วิวัฒนาการซอฟต์แวร์ การประกันคุณภาพซอฟต์แวร์เครื่องมือสำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

14121106 วิทยาการคอมพิวเตอร์พื้นฐาน (Fundamentals of Computer Science) 3(2-2-5)

วิทยาการคอมพิวเตอร์กับสังคมปัจจุบัน ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ระบบเลขฐาน ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์การวิเคราะห์ปัญหา การเขียนผังงาน คำสั่งเทียม การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นแนะนำ

14122112 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Data Communication and Computer Network) 3(2-2-5)

หลักการการสื่อสารข้อมูล การรับส่งข้อมูล การเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล สถาปัตยกรรมการสื่อสารข้อมูลและโปรโตคอล มาตรฐานระบบเครือข่าย ทีซีพีไอพี อีเทอร์เน็ต เครือข่ายไร้สายและระบบเคลื่อนที่ เทคโนโลยีของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ สถาปัตยกรรมของเครือข่ายแบบต่างๆ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และฝึกปฏิบัติ

14122221 ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security) 3(2-2-5)

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 14122112 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

หลักการทางด้านความมั่นคงของระบบไซเบอร์ การเข้ารหัสและการถอดรหัส การโจมตีแบบต่าง ๆ และการป้องกัน การยืนยันตัวบุคคลและพิสูจน์สิทธิ์แบบต่างๆ อุปกรณ์เครือข่ายและความมั่นคง นโยบาย
และการบริหารจัดการเครือข่าย เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ใช้ในการป้องกัน การรับรองสิทธิ์ ใบรับรองสิทธิ์ ระบบเครือข่ายไอพีที่มีการเข้ารหัส กฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง และฝึกปฏิบัติ

14123227 การประมวลผลภาพดิจิทัล (Digital Image Processing) 3(2-2-5)

การประมวลผลภาพดิจิทัลขั้นแนะนำ หลักการของภาพดิจิทัล การปรับปรุงคุณภาพของภาพ การแบ่งส่วนภาพ การแทนและอธิบายคุณลักษณะของภาพ การรู้จำวัตถุในภาพ การประมวลผลภาพสี การประยุกต์การประมวลผลภาพดิจิทัล

14123228 ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) 3(2-2-5)

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 14093641 วิยุตคณิต

นิยามของปัญญาประดิษฐ์ ประวัติความเป็นมาของปัญญาประดิษฐ์ การประยุกต์ทางปัญญาประดิษฐ์ ปริภูมิสถานะและการค้นหาและการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา LISP, Prolog หรือภาษาอื่น ๆ ที่เหมาะสม การแทนความรู้โดยตรรกะเพรดิเคต ภาษาที่เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์เบื้องต้น การเรียนรู้ของเครื่องแบบมีคนสอน และแบบไม่มีคนสอน แบบจำลองการจำแนก แบบจำลองการแบ่งกลุ่ม การวัดประสิทธิภาของแบบจำลองเขียนโปรแกรมแก้ไขปัญหากรณีศึกษา

14123404 ทฤษฎีการคำนวณ (Theory of Computation) 3(2-2-5)

คณิตศาสตร์และสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้อง แนวคิดพื้นฐานของภาษาไวยากรณ์ ออโตมาตา ไฟไนต์ออโตมาตา นิพจน์เรกูลาร์และไวยากรณ์เรกูลาร์คุณสมบัติของภาษาเรกูลาร์ ไวยากรณ์คอนเท็กซ์ฟรีและภาษาคอนเท็กซ์ฟรี พุชดาวน์ออโตมาตา การพิสูจน์ความไม่เป็นคอนเท็กฟรีของภาษาและคุณสมบัติของภาษา คอนเท็กซ์ฟรี ทัวริ่งแมชชีน

14121309 ตรรกะดิจิทัลและการเขียนโปรแกรมควบคุม (Digital Logic and Control Programming) 3(2-2-5)

ระบบตัวเลข เลขฐานต่างๆ การเปลี่ยนฐานเลข พีชคณิตแบบบูล ลอจิเกต และระบบดิจิทัล วงจรตรรกะเบื้องต้น เทคโนโลยีของวงจรดิจิทัล โครงสร้างและสถาปัตยกรรมของไมโครคอลโทรลเลอร์ การเขียนโปรแกรมควบคุม การรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก และกรณีศึกษา

14121703 สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ (Computer Architecture and Operating Systems) 3(2-2-5)

ส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการที่รองรับการทำงานของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ การจัดการทรัพยากรของระบบ เช่น การจัดการตัวประมวลผล การจัดกำหนดการ การประสานเวลา และ ภาวะพร้อมกัน การจัดการหน่วยความจำ การจัดการอุปกรณ์รอบข้าง และ การจัดการระบบแฟ้ม การทำงานแบบหลายโปรแกรม และ องค์ประกอบการประมวลผลกลาง สถาปัตยกรรมหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยควบคุมหน่วยความจำ ระบบบัส หน่วยคำนวณ และตรรกะ องค์ประกอบการประมวลผลแบบขนาน สถาปัตยกรรมชุดคำสั่งการจัดองค์ประกอบของโพรเซสเซอร์ แคช และอินพุต การประมวลผลแบบไปป์ไลน์ และเทคนิคไปป์ไลน์สถาปัตยกรรมแบบมัลติโพรเซสเซอร์ การประเมินผลประสิทธิภาพ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ

14124704 ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพคอมพิวเตอร์ (English for Computer Professions) 3(3-0-6)

ฝึกการใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการเรียน การสมัครงาน และการประกอบอาชีพด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน การใช้ภาษาอังกฤษสำหรับสืบค้นข้อมูล รวมถึงการอ่านบทความวิชาการและบทความวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์

14123905 โครงงานคอมพิวเตอร์ 1 (Computer Project 1) 1(1-0-2)

ค้นคว้าและเสนอหัวข้อโครงงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา นำเสนอหัวข้อโครงงาน นำเสนอความก้าวหน้าโครงงาน และประเมินโครงงานคอมพิวเตอร์ 1 ตามเกณฑ์การประเมินของสาขาคอมพิวเตอร์

14124902 โครงงานคอมพิวเตอร์ 2 (Computer Project 2) 2(1-2-3)

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 14123905 โครงงานคอมพิวเตอร์ 1

พัฒนาโครงงานตามระเบียบการพัฒนาที่เหมาะสมกับประเภทโครงงาน ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา สอบวัดความรู้ นำเสนอและประเมินโครงงานตามเกณฑ์การประเมินของสาขาคอมพิวเตอร์ที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาในการศึกษาต่อหรือในการประกอบอาชีพในอนาคต

ชั้นปีที่ 1

ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต น(ท-ป-อ)
01552701ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร3(3-0-6)
02531204จิตตปัญญาศึกษา3(3-0-6)
04002101ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อชีวิตและอาชีพ3(3-0-6)
14111103สถิติสำหรับนักวิทยาศาสตร์3(3-0-6)
14121106วิทยาการคอมพิวเตอร์พื้นฐาน3(2-2-5)
14121210จริยธรรมสำหรับวิชาชีพคอมพิวเตอร์3(3-0-6)
14121309ตรรกะดิจิทัลและการเขียนโปรแกรมควบคุม3(2-2-5)
รวม21 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต น(ท-ป-อ)
01540108ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร3(3-0-6)
14124704ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพคอมพิวเตอร์3(3-0-6)
14091507แคลคูลัส 13(3-0-6)
14121308โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม3(2-2-5)
14121307การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น3(2-2-5)
14121703สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ3(2-2-5)
x xxx x xxx(กลุ่มวิชาเลือก การศึกษาทั่วไป)
หมายเหตุ ให้นักศึกษาเลือกกลุ่มวิชามนุษศาสตร์ หรือ วิชาสังคมศาสตร์ หรือวิชา
คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์และเทคโนโลย
3(3-0-6)
รวมรวม

ชั้นปีที่ 2

ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต น(ท-ป-อ)
14093641วิยุตคณิต3(3-0-6)
14122112การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์3(2-2-5)
14122220คอมพิวเตอร์กราฟิก3(2-2-5)
14122317การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง3(2-2-5)
14122318การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงออบเจกต์3(2-2-5)
14122609หลักการและระบบการจัดการฐานข้อมูล3(2-2-5)
x xxx x xxx(กลุ่มวิชาเลือก การศึกษาทั่วไป)
หมายเหตุ ให้นักศึกษาเลือกกลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร
3(3-0-6)
รวม21 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต น(ท-ป-อ)
01550104ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม3(3-0-6)
14093618วิธีการเชิงตัวเลข3(2-2-5)
14122221ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์3(2-2-5)
14122610การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บเบื้องต้น3(2-2-5)
x xxx x xxx(เอกเลือก 1)3(2-2-5)
x xxx x xxx(เอกเลือก 2)3(2-2-5)
x xxx x xxx(เลือกเสรี 1)3(…-…-….)
รวม21 หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 3

ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต น(ท-ป-อ)
02500104วัฒนธรรมแอ่งสกลนคร3(2-2-5)
03621101การเป็นผู้ประกอบการ3(3-0-6)
14123227การประมวลผลภาพดิจิทัล3(2-2-5)
14123228ปัญญาประดิษฐ์3(2-2-5)
x xxx x xxxโครงงานคอมพิวเตอร์ 1
หมายเหตุ บังคับเรียนเฉพาะนักศึกษาเลือกฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์
3(3-0-6)
x xxx x xxx(เอกเลือก 3)3(2-2-5)
x xxx x xxx(เลือกเสรี 2)3(…-…-….)
รวม21 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต น(ท-ป-อ)
14123338วิศวกรรมซอฟต์แวร์3(3-0-6)
14123404ทฤษฎีการคำนวณ3(2-2-5)
14123619การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์3(2-2-5)
14123906สัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์3(2-2-5)
14123905โครงงานคอมพิวเตอร์ 1
หมายเหตุ บังคับเรียนเฉพาะนักศึกษาเลือกฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์
3(2-2-5)
(เอกเลือก 2)3(2-2-5)
รวม13 หรือ 14 หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 4

ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต น(ท-ป-อ)
x xxx x xxx(เอกเลือก วจ.)3(3-0-6)
14124902โครงงานคอมพิวเตอร์ 2
หมายเหตุ บังคับเรียนเฉพาะนักศึกษาเลือกฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์
2(1-2-3)
14124903
หรือ
14124905
การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพวิทยาการคอมพิวเตอร์ **
หรือ
การเตรียมสหกิจศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์**
1(150)






1(90)
รวม4 หรือ 6 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต น(ท-ป-อ)
14124904
หรือ
14124906
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพวิทยาการคอมพิวเตอร์
หรือ
สหกิจศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์
3(450)




6(540)
รวม3 หรือ 6 หน่วยกิต

หลักสูตรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563

1. ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Computer and Digital Technology

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Computer and Digital Technology)
ชื่อย่อภาษาไทย : วท.บ. (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Computer and Digital Technology)

3. วิชาเอก
     –
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 131 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
5.2 ประเภทของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
5.3 ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย
5.4 การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น จัดการเรียนการสอนโดยตรง
5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
6.1 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563 ปรับปรุงจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ.2558
6.2 สภาวิชาการ เห็นชอบในการนำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 5/2562
วันศุกร์ที่ 22 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
6.3 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 11/2562 วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2562
6.4 เปิดสอน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรจะได้รับการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2565

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
8.1 นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer)
8.2 นักออกแบบเว็บและพัฒนาเว็บไซต์ (Web Designer /Web Developer)
8.3 ผู้ทดสอบโปรแกรม (Software Tester)
8.4 นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
8.5 นักออกแบบระบบเครือข่าย (Network System Designer)
8.6 นักพัฒนาระบบเครือข่าย (Network System Engineer)
8.7 ผู้ดูแลระบบเครือข่าย (Network System Administrator)
8.8 นักพัฒนาเกม (Game Developer)
8.9 นักออกแบบ UI/UX
8.10 นักผลิตสื่อดิจิทัล (Digital Media Content Creator)
8.11 นักพัฒนาฐานข้อมูล (Database Developer)
8.12 นักวิชาการคอมพิวเตอร์หรือนักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ
8.13 ครูหรืออาจารย์ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
8.14 นักเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
1) อาจารย์ ดร.ชายแดน มิ่งเมือง
2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม
3) อาจารย์ แพรตะวัน จารุตัน
4) อาจารย์ ดร.สุธาสินี คุปตะบุตร
5) อาจารย์ ปิยวรรณ โถปาสอน

 

โครงสร้างหลักสูตรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล

หมวดวิชาเกณฑ์ สกอ./ 4 ปีโครงสร้างหลักสูตร
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไปไม่น้อยกว่า 3030
1.1 รายวิชาบังคับ12
1.2 รายวิชาบังคับเลือก18
2. หมวดวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า 84ไม่น้อยกว่า 95
2.1 กลุ่มวิชาแกน99
2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ45ไม่น้อยกว่า 70
2.2.1 กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ99
2.2.2 กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์1828
2.2.3 กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์1218
2.2.4 กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ69
2.2.5 กลุ่มฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์6
2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือกไม่น้อยกว่า 12
2.3.1 กลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูล
2.3.2 กลุ่มการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
2.3.3 กลุ่มเครือข่าย
2.3.4 กลุ่มเนื้อหาทางดิจิทัล
2.3.5 กลุ่มเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน
2.4 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพไม่น้อยกว่า 4
2.4.1 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์1
2.4.2 การเตรียมสหกิจศึกษา1
2.4.3 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ 0-33
หรือ
2.4.4 สหกิจศึกษา6-96
3. หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า 6ไม่น้อยกว่า 6
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 120ไม่น้อยกว่า 131

รายวิชาในหลักสูตร

1) ความหมายของรหัสวิชา
รหัสวิชาประกอบด้วยเลข 8 ตัว แต่ละหลักมีความหมายดังนี้
หลักที่       1       หมายถึง รหัสคณะ
หลักที่    2 – 4    หมายถึง หมู่วิชา
หลักที่       5       หมายถึง ระดับความยากง่ายหรือชั้นปีที่จัดให้เรียน
หลักที่       6       หมายถึง กลุ่มเนื้อหาวิชาในหมู่วิชา
หลักที่     7-8      หมายถึง ลำดับที่ของรายวิชาในกลุ่มเนื้อหาวิชา
2) รายวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2562 จัดรายวิชาสำหรับการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา กำหนดให้เรียนให้ครบทุกกลุ่มวิชา ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต ดังนี้
       ก. รายวิชาบังคับ จำนวน 12 หน่วยกิต
       ข. รายวิชาเลือก จำนวน 18 หน่วยกิต
ก. รายวิชาบังคับ กำหนดให้เรียน จำนวน 12 หน่วยกิต ดังนี้
     1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร เรียน 9 หน่วยกิต จากรายวิชา
      01540108 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร                            3(3-0-6)
      01552701 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร                        3(3-0-6)
      01550104 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม   3(3-0-6)
     2) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เรียน 3 หน่วยกิต จากรายวิชา
      02500104 วัฒนธรรมแอ่งสกลนคร                                3(2-2-5)
ข. รายวิชาเลือก กำหนดให้เรียน จำนวน 18 หน่วยกิต โดยเลือกให้ครอบคลุม 4 กลุ่มวิชา ดังต่อไปนี้
     1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร
      01540109 การเขียนภาษาไทยทั่วไป                           3(3-0-6)
      01540107 การอ่านเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม                3(3-0-6)
      01550105 การอ่านและเขียนภาษาอังกฤษทั่วไป           3(3-0-6)
      01560102 ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น                                     3(3-0-6)
      01570102 ภาษาจีนเบื้องต้น                                        3(3-0-6)
      01670102 ภาษาลาวเบื้องต้น                                       3(3-0-6)
      01710102 ภาษาเวียดนามเบื้องต้น                               3(3-0-6)
      01551601 ทักษะการพูดและการฟังภาษาอังกฤษ          3(3-0-6)
      01553601 ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะชีวิตประจำวัน           3(3-0-6)
     2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
      02531203 ศิลปะการดำเนินชีวิต                                  3(3-0-6)
      01511401 จริยธรรมเพื่อการดำเนินชีวิต                        3(3-0-6)
      01500109 สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้                            3(3-0-6)
      01511502 สุนทรียภาพเพื่อชีวิต                                   3(3-0-6)
      01500113 ศาสนธรรมเพื่อคนร่วมสมัย                          3(3-0-6)
      02531204 จิตตปัญญาศึกษา                                       3(2-2-5)
      03611201 หมากล้อม                                                 3(3-0-6)
      02053301 สุนทรียะ                                                    3(3-0-6)
    3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
      02531202 สังคมไทยกับโลกาภิวัตน์                            3(3-0-6)
      02531201 วิถีอาเซียน                                                3(3-0-6)
      02500106 กฎหมายเพื่อชีวิต                                       3(3-0-6)
      02500107 สันติศึกษา                                                3(3-0-6)
      02551101 พลเมืองศึกษา                                           3(3-0-6)
      03500102 หลักการจัดการสมัยใหม่                             3(3-0-6)
      03500104 การพัฒนาที่ยั่งยืน                                      3(3-0-6)
      03621101 การเป็นผู้ประกอบการ                                 3(3-0-6)
      02533201 ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น         3(2-2-5)
     4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ – วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
      04000105 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน                      3(3-0-6)
      04000106 คอมพิวเตอร์และสารสนเทศขั้นพื้นฐาน        3(2-2-5)
      04000107 ชีวิตและสุขภาพ                                        3(3-0-6)
      04071201 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน 3(3-0-6)
      05000104 การเกษตรและอาหารเพื่อชีวิต                     3(3-0-6)
      05500103 เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน                                                                                           3(3-0-6)
      04000109 การพัฒนาทักษะการคิด                              3(3-0-6)
      05151101 เกษตรภูมิปัญญาพื้นถิ่น                               3(3-0-6)
      04071202 ครอบครัวศึกษา                                          3(3-0-6)
      04002101 ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อชีวิตและอาชีพ    3(3-0-6)
      04073501 การสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะ                    3(3-0-6)
2. หมวดวิชาเฉพาะ หลักสูตรจัดรายวิชาสำหรับการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 95 หน่วยกิต ดังนี้
      2.1 กลุ่มวิชาแกน                               9       หน่วยกิต
      2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ                       70     หน่วยกิต
      2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก                        12     หน่วยกิต
      2.4 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ    4       หน่วยกิต
     2.1 กลุ่มวิชาแกน 9 หน่วยกิต
      14121306 หลักการเขียนโปรแกรม                               3(2-2-5)
      14121402 คณิตศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล                                                                              3(3-0-6)
      14123407 สถิติและการวิจัยสำหรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล                                                                              3(2-2-5)
     2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ กำหนดให้เรียน จำนวน 70 หน่วยกิต ดังนี้
     1) กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ 9 หน่วยกิต
     14122219 การจัดการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(2-2-5)
     14124208 การบริหารโครงการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล                                                                              3(2-2-5)
      43521103 หลักการบัญชี                                            3(2-2-5)
     2) กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ 28 หน่วยกิต
      14121607 หลักการและระบบการจัดการฐานข้อมูล        3(2-2-5)
      14122606 การออกแบบสื่อดิจิทัลเบื้องต้น                     3(2-2-5)
      14122607 การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ 3(2-2-5)
      14122608 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ                    3(2-2-5)
      14123605 การบูรณาการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
สำหรับชุมชน                                                                   3(2-2-5)
      14123606 การประยุกต์ใช้ระบบภูมิศาสตร์เบื้องต้น         3(2-2-5)
      14123607 สัมมนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล                                                                                                  1(1-0-2)
      14123609 โครงงานคอมพิวเตอร์ 1                             1(1-0-2)
      14123610 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์                               3(2-2-5)
      14123613 การผลิตสื่อแอนิเมชัน                                 3(2-2-5)
      14124604 โครงงานคอมพิวเตอร์ 2                              2(1-2-3)
     3) กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ 18 หน่วยกิต
      14121305 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์          3(2-2-5)
      14122313 อินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง                      3(2-2-5)
      14122314 โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม                   3(2-2-5)
      14122315 เทคโนโลยีเว็บและการให้บริการ                 3(2-2-5)
      14122316 การเขียนโปรแกรมบนเว็บ                          3(2-2-5)
      14123333 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่                                                                                        3(2-2-5)
     4) กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานระบบ 9 หน่วยกิต
      14122701 ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล            3(2-2-5)
      14122702 การจัดการความมั่นคงและปลอดภัย            3(2-2-5)
      14123225 มาตรฐานสากลด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล                                                                             3(2-2-5)
     5) กลุ่มฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 6 หน่วยกิต
      14121701 ระบบการบำรุงรักษาทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล                                                                              3(2-2-5)
      14121702 ระบบปฏิบัติการและเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม  3(2-2-5)
2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต โดยเลือกจากรายวิชาในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังต่อไปนี้
     กลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูล
      14123211 ฐานข้อมูลขั้นสูง                                         3(2-2-5)
      14123213 คลังข้อมูลและเหมืองข้อมูล                         3(2-2-5)
      14123611 ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ขั้นสูง            3(2-2-5)
      14123612 ธุรกิจอัจฉริยะ                                             3(2-2-5)
      14123226 ข้อมูลขนาดใหญ่                                        3(2-2-5)
      14124403 ปัญญาประดิษฐ์                                          3(2-2-5)
     กลุ่มการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
      14123334 การเขียนโปรแกรมบนเว็บขั้นสูง                   3(2-2-5)
      14123335 การเขียนโปรแกรมบนคลาวด์                       3(2-2-5)
      14123336 การออกแบบเว็บ                                         3(2-2-5)
      14123337 การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงอ็อบเจกต์                                                                                                      3(2-2-5)
       14124315 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ขั้นสูง                                                                               3(2-2-5)
     กลุ่มเครือข่าย
      14123717 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย                             3(2-2-5)
      14123718 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการ 3(2-2-5)
      14123720 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการขั้นสูง                                                                                            3(2-2-5)
      14124702 ระบบเครือข่ายขั้นสูง                                  3(2-2-5)
      14124703 การออกแบบระบบเครือข่ายการสื่อสารและความปลอดภัยสำหรับองค์กร                                                    3(2-2-5)
     กลุ่มเนื้อหาทางดิจิทัล
      14123614 การสร้างเทคนิคพิเศษทางภาพ                  3(2-2-5)
      14123615 การพัฒนาเกม                                          3(2-2-5)
      14123618 การพัฒนาเกมขั้นสูง                                 3(2-2-5)
      14124605 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงผสม     3(2-2-5)
      14123114 จริยธรรมและกฎหมายสำหรับนักเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล                                                    3(3-0-6)
     กลุ่มเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน
      14121105 ภาษามือไทยเบื้องต้น                               3(2-2-5)
      14123224 เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาสำหรับผู้พิการ                                                                3(2-2-5)
      14123617 หลักการออกแบบกราฟิกและการใช้งานโปรแกรมกราฟิก                                                                          3(2-2-5)
      14124606 การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียทางการศึกษาสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน                                                   3(2-2-5)
      14124607 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน                                      3(2-2-5)
2.4 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต ดังนี้
      14123803 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์                                                                                              1(90)
      14123806 การเตรียมสหกิจศึกษา                                1(90)
      14124804 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ 3(450) 

                       หรือ
     14124805 สหกิจศึกษา                                                6(640)
3. หมวดวิชาเลือกเสรี กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ให้เลือกรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่ เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาของหลักสูตร

 

01540108 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai for Communication) 3(3-0-6)

การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ฝึกทักษะการใช้ภาษาด้านการฟัง การพูด การอ่านการเขียน ได้แก่ การฟังบทสนทนา การฟังข่าว ฟังอภิปราย การพูดแสดงความคิดเห็น การพูดโน้มน้าวใจ การโต้วาที การพูดในโอกาสต่างๆ การอ่านสรุปใจความ การอ่านตีความ การอ่านวิเคราะห์และวิจารณ์ การเขียนสะกดคำไทย การอ่านย่อหน้า การเขียนเรียงความ รวมถึงการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ และสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ และสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

01540109 การเขียนภาษาไทยทั่วไป (Thai Writing for General Purposes) 3(3-0-6)

หลักการเขียน รูปแบบการเขียน ลักษณะและการใช้ประโยชน์ของงานเขียน เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การเขียนเล่าเรื่อง การเขียนจดหมาย การเขียนบันทึกข้อความ การเขียนคำถาม-ตอบในแบบสอบถาม การเขียนเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น การเขียนเพื่อโน้มน้าวจิตใจ การเขียนเอกสารสิทธิ์และสัญญาตามกฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

01540107 การอ่านเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม (Reading for Life and Social Development) 3(3-0-6)

หลักการและทักษะการอ่านประเภทต่างๆ ได้แก่ การอ่านสรุปความ การอ่านตีความ การอ่านวิเคราะห์ วิจารณ์ การอ่านงานเขียนประเภทต่างๆ ในนิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ และวรรณกรรม หรือสื่ออื่นๆ ที่สร้างจิตสำนึกที่ดีต่อตนเองและสังคม รวมถึงสามารถนำแนวความคิดหรือประโยชน์จากการอ่านไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเน้นอ่านงานเขียนจากสื่อประเภทต่างๆ สัปดาห์ละ 1 เรื่อง และจัดสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับการอ่าน เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา

01552701 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (English for Communication) 3(3-0-6)

ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษที่จำเป็นในการสื่อสารบูรณาการกับชีวิตประจำวัน การใช้ภาษาอังกฤษสนทนา บรรยาย บันทึก สรุปใจความ นำเสนอในบริบทที่หลายหลาย

01550104 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (English for Cross Cultural Communication) 3(3-0-6)

ฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษระดับสูง เรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมของนานาประเทศ เน้นกลุ่มประเทศอาเซียน ศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พูดนำเสนอผลงาน และแสดงความคิดเห็น

01550105 การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษทั่วไป (Reading and Writing English for General Purposes) 3(3-0-6)

ฝึกทักษะพัฒนาการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยจากสิ่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน พัฒนาการเขียนที่บูรณาการกับทักษะการอ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

01560102 ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น (Fundamentals of Japanese Language) 3(3-0-6)

ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ศึกษารูปประโยคและไวยากรณ์พื้นฐาน ฝึกบทสนทนา ที่ใช้ใน ชีวิตประจำวัน การอ่าน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาญี่ปุ่นในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น

01570102 ภาษาจีนเบื้องต้น (Fundamentals of Chinese Language) 3(3-0-6)

ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ศึกษารูปประโยคและไวยากรณ์พื้นฐาน ฝึกบทสนทนา ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่าน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาจีนในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศจีน

01670102 ภาษาลาวเบื้องต้น (Fundamentals of Lao Language) 3(3-0-6)

ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน เน้นทักษะการอ่านและการเขียน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาลาวในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศลาว

01710102 ภาษาเวียดนามเบื้องต้น (Fundamentals of Vietnamese Language) 3(3-0-6)

ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ศึกษารูปประโยคและไวยากรณ์พื้นฐาน ฝึกบทสนทนา ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่าน ฝึกอ่านข้อความสั้นๆ สามารถสรุปและตอบคำถามได้ การเขียนประโยคง่ายๆ ได้ และศึกษาภาษาเวียดนามในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของประเทศเวียดนาม

01551601 ทักษะการพูดและการฟังภาษาอังกฤษ (English Speaking and Listening Skills) 3(3-0-6)

พูดบอกรายละเอียดและสรุปประเด็นสำคัญ ฟังบทสนทนาและข้อความสั้นๆแล้วจับใจความ ใช้ประโยคและสำนวนเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว (ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลของครอบครัว การซื้อของ ภูมิศาสตร์ท้องถิ่น การจ้างงาน) สื่อสารเรื่องที่ง่ายและเป็นกิจวัตรที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยตรงและไม่ยุ่งยากเกี่ยวกับสิ่งที่คุ้นเคยหรือทำเป็นประจำ ใช้ภาษาและโครงสร้างทางไวยากรณ์ในการพูดโต้ตอบในสถานการณ์ที่แตกต่างหลากหลายโดยใช้ภาษา น้ำเสียง กิริยาท่าทางที่เหมาะสมตามมารยาททางสังคม และรู้ถึงวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา โดยเน้นกระบวนการทางภาษา คือ พูด ฟัง อ่าน เขียน การสื่อสาร การสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล และการฝึกปฏิบัติทักษะการสื่อสารตามสถานการณ์ต่างๆ

01553601 ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะชีวิตประจำวัน (English for Daily Life Skill) 3(3-0-6)

พูดคุยเชิงเทคนิคในเรื่องที่มีความเชี่ยวชาญ โต้ตอบอย่างคล่องแคล่วและเป็นธรรมชาติโต้ตอบกับผู้พูดที่เป็นเจ้าของภาษาได้โดยไม่มีความเคร่งเครียด สร้างถ้อยคำที่ชัดเจนและมีความละเอียดในหัวข้อที่หลากหลาย โดยมีความเข้าใจจุดประสงค์ของประเด็นที่มีความซับซ้อนทั้งรูปธรรมและนามธรรม อธิบายมุมมองเกี่ยวกับปัญหาเฉพาะที่มีความได้เปรียบและเสียเปรียบ ฝึกปฏิบัติทักษะภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ

02531203 ศิลปะการดำเนินชีวิต (Art of Living) 3(3-0-6)

ความหมายและคุณค่าของชีวิต ศิลปะการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าและความหมายต่อตนเอง ครอบครัว สังคม กรณีตัวอย่างที่ให้แรงบันดาลใจในการสร้างความสำเร็จและความสุขในชีวิต

01511401 จริยธรรมเพื่อการดำเนินชีวิต (Morality for Living) 3(3-0-6)

หลักจริยธรรมกับการพัฒนาชีวิต การพัฒนาตนด้านพฤติกรรม จิตใจและปัญญา การสร้างจิตสำนึกตระหนักในความเป็นสุจริตชน การสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อโลกและสังคม การบริหารความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ เคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเป็นสุขและมีสันติภาพ

01500109 สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Information for Learning) 3(3-0-6)

ความหมาย ความสำคัญของสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ การสืบค้นและแสวงหาสารสนเทศด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การศึกษา รวบรวม การจัดเก็บ และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศด้วยรูปแบบที่ทันสมัย และมีขั้นตอนที่เป็นมาตรฐาน

01511502 สุนทรียภาพเพื่อชีวิต (Aesthetics for Life) 3(3-0-6)

ความหมาย ความสำคัญของสุนทรียศาสตร์ต่อชีวิต คุณค่าเชิงสุนทรียะ ของงานศิลปะ การรับรู้ความงาม ความซาบซึ้งในศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ ด้านโสตศิลป์ และศิลปะการแสดง ในระดับท้องถิ่น ชาติและสากล เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตและสังคม

01500113 ศาสนธรรมเพื่อคนร่วมสมัย (Contemporary Religious Virtues) 3(3-0-6)

หลักคำสอนของศาสนาสำคัญที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ วิเคราะห์เชื่อมโยงหลักธรรมกับศาสตร์สาขาต่างๆ บูรณาการหลักศาสนาและแนวคิดของปราชญ์ทางศาสนา เพื่อการแก้ปัญหาชีวิตและสังคม เน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning

02531204 จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) 3(2-2-5)

ธรรมชาติของจิตมนุษย์ แก่นแท้ของชีวิตและธรรมชาติ หลักการภาวนา เพื่อฝึกฝนความรู้สึกตัว (สติ) การปฏิวัติจิตสำนึกเดิมสู่จิตสำนึกใหม่ที่เข้าถึงความเป็นอิสระ ความสุข ปัญญา และความอาทรต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่ง การพัฒนาตนเองอย่างสมดุลสู่ความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ เน้นวิธีการเรียนรู้ที่นำผู้เรียนไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในตนเองอย่างลึกซึ้งและเชื่อมโยงไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลกผ่านกระบวนการจิตตภาวนา สุนทรียสนทนา การทำงานศิลปะ โยคะ

03611201 หมากล้อม (GO) 3(3-0-6)

ประวัติความเป็นมาของหมากล้อม กฎ กติกา มารยาท วัตถุประสงค์ พื้นฐานของการเล่นหมากล้อม ทักษะทางปัญญา 11 ประการ บัญญัติ 10 ประการ เทคนิคในการเล่นหมากล้อมแบบต่างๆ การแก้ปัญหาระหว่างเกม คุณค่าของหมากล้อมและการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

02053301 สุนทรียะ (Aesthetics) 3(3-0-6)

ขับร้องเพลงตามจังหวะ ทำนอง และเนื้อหาของเพลงไทยสากลแต่ละประเภทและเพลงรำวงมาตรฐาน เล่นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ออกแบบกิจกรรมนันทนาการ จัดกิจกรรมนันทนาการ ปฏิบัติการรำวงในเพลงมาตรฐาน ออกแบบการแสดง จัดการแสดง วิเคราะห์หลักทางสุนทรียศาสตร์ในงานทัศนศิลป์ หลักการทางทัศนธาตุ หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ หลักการออกแบบป้ายนิเทศ ออกแบบฉาก เวที สื่อการเรียนรู้ และแฟ้มผลงาน จัดทำผลงานทางศิลปะ นำเสนอผลงาน และวิพากษ์ผลงานศิลปะ

* 02500104 วัฒนธรรมแอ่งสกลนคร (Culture of Sakon Nakhon Basin) 3(2-2-5)

สภาพทางภูมิศาสตร์ ลักษณะทางกลุ่มชาติพันธุ์ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประวัติศาสตร์การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและฒนธรรม ชีวประวัติบุคคลสำคัญของท้องถิ่น ภูมิปัญญาทางด้านลปกรรม หัตถกรรม ประเพณี พิธีกรรม ภาษา และวรรณกรรม ฯลฯ ในบริเวณแอ่งสกลนคร อัตลักษณ์และพลวัตการปรับตัวของชุมชนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเน้นกระบวนการศึกษาชุมชนในท้องถิ่นให้เชื่อมโยงกับสาขาวิชาที่นักศึกษาเรียน และมีการ
นำเสนอผลงานเชิงประจักษ์

* สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครในคราวประชุมครั้งที่ 4/2562 เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2562 เห็นชอบกำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องเรียนวิชาวัฒนธรรมแอ่งสกลนคร ยกเว้นกรณีที่เคยเรียนมาแล้ว

02531201 วิถีอาเซียน (The ASEAN Ways) 3(3-0-6)

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์ พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่น อาเซียน การยอมรับปรับรูปแบบวิถีชีวิต คติความเชื่อ ค่านิยม จิตวิญญาณ สังคม วัฒนธรรมของภูมิภาคความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน วิถีอาเซียนในสังคมโลกปัจจุบัน

02500106 กฎหมายเพื่อชีวิต (Laws for Life) 3(3-0-6)

ลักษณะทั่วไปของกฎหมาย หลักการพื้นฐานของนิติรัฐ กระบวนการยุติธรรมและหลักกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หลักสิทธิมนุษยชนกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เน้นศึกษากรณีตัวอย่างในชีวิตประจำวัน

02500107 สันติศึกษา (Peace Studies) 3(3-0-6)

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสันติภาพ การวิเคราะห์ความขัดแย้งและความรุนแรงกรณีศึกษาความขัดแย้งและการใช้สันติวิธีในระดับชีวิต ชุมชนและสังคม เครื่องมือสันติวิธี ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง การสื่อสารเพื่อสันติ การสานเสวนาที่เน้นการฟังอย่างลึกซึ้งและการใช้สันติวิธี ในชีวิตประจำวัน

02551101 พลเมืองศึกษา (Civic Education) 3(3-0-6)

หลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบระชาธิปไตย การปกครองโดยกฎหมายสิทธิและหน้าที่ความเป็นพลเมือง สิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน พลวัต การเมืองภาคประชาชนและประชาสังคม ของสังคมการเมืองไทย บทบาทของพลเมืองในประเทศต่างๆ สร้างเสริมจิตสำนึกสาธารณะโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาสภาพปัญหาที่เป็นจริงในชุมชนท้องถิ่น

03500102 หลักการจัดการสมัยใหม่ (Principles of Modern Management) 3(3-0-6)

แนวคิดและหลักการจัดการ การจัดองค์การ การจัดการทรัพยากรขององค์การหน้าที่ในการจัดการ ทฤษฎีการจัดการสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาชีวิต สังคม และองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก

03500104 การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) 3(3-0-6)

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนา การประยุกตใชแนวคิดทฤษฎีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีความเหมาะสมกับสภาพทางสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของชุมชน กรณีตัวอย่างการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ(UN-Sustainable Development Goals)

03621101 การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) 3(3-0-6)

การเริ่มต้นธุรกิจการเป็นผู้ประกอบการ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดกลยุทธ์การสร้างธุรกิจ รูปแบบทางกฎหมายของธุรกิจ แผนธุรกิจ การเลือกทำเลที่ตั้ง แผนการตลาด ผลิตภัณฑ์ และราคา การจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาด ระบบบัญชีและงบการเงิน การจัดการทางการเงิน และภาษีอากร การจัดองค์การและการจัดการบุคลากร แนวโน้มการดำเนินธุรกิจในอนาคต และจริยธรรมทางธุรกิจ

02533201 ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (The King Wisdom for Local Development) 3(2-2-5)

ประยุกต์ใช้หลักการทรงงาน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนในชีวิตประจำวันได้ ศึกษาแนวคิด และหลักการของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ ฉลาดรู้เพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบตามศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม และร่วมมือกันทำงานโดยบูรณาการแบบองค์รวมกับทีมภาคีเครือข่าย

04000105 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน (Mathematics in Daily Life) 3(3-0-6)

ธรรมชาติของวิชาคณิตศาสตร์ พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ กับการใช้เหตุผล ความน่าจะเป็นและสถิติในชีวิตประจำวัน การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ดอกเบี้ย ร้อยละ ค่างวดคณิตศาสตร์สำหรับผู้บริโภค คณิตศาสตร์กับเกม คณิตศาสตร์กับศิลปะ กำหนดการเชิงเส้นเบื้องต้น คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง”

04000106 คอมพิวเตอร์และสารสนเทศขั้นพื้นฐาน (Fundamentals of Computer and Information 3) (2-2-5)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูลเบื้องต้น การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายพื้นฐาน การใช้ระบบเครือข่าย เพื่อการสื่อสารและสืบค้นอย่างมีจริยธรรม กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีารสนเทศ การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

04000107 ชีวิตและสุขภาพ (Life and Health) 3(3-0-6)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการของชีวิตและระบบที่สำคัญของร่างกายมนุษย์ แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพแบบองค์รวม องค์ประกอบของสุขภาพ กลไกการปรับตัวของร่างกายเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาสุขภาพ โรคและการป้องกันการเกิดโรคของบุคคลในวัยต่าง ๆ แนวคิดเกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมหลักการออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ การประเมินภาวะสุขภาพ การตรวจสุขภาพเบื้องต้น และการทดสอบสมรรถภาพทางกาย การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ อนามัยสิ่งแวดล้อม และชีวอนามัยเพื่อสุขภาพ

04071201 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน (Science and Technology in Daily Life) 3(3-0-6)

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์การเกษตร เทคโนโลยีอุตสาหกรรม และเวชศาสตร์ชะลอวัย มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ผลกระทบของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อมนุษย์ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมและการแก้ปัญหาด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์

05000104 การเกษตรและอาหารเพื่อชีวิต (Agriculture and Food for Life) 3(3-0-6)

ความสำคัญของการเกษตร หลักการผลิต และผลิตผลทางการเกษตร ด้านพืช สัตว์ ประมง การแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร ประเภทเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ข้าวและธัญพืช ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม การควบคุมคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร และความปลอดภัยของผู้บริโภค

05500103 เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Technology and Innovation for Sustainable Development) 3(3-0-6)

ความหมาย แนวคิดและบทบาทเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อการดำเนินชีวิตและส่งเสริมอาชีพในปัจจุบัน ผลกระทบต่อสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา สภาพแวดล้อมและความเป็นมนุษย์ รวมถึงวิเคราะห์และวางแผนเพื่อสร้างเครื่องมือสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน โดยเน้นการรักษาเอกลักษณ์ของชุมชน วัฒนธรรมท้องถิ่น ศึกษาชุมชนหรือหมู่บ้านวัฒนธรรมต้นแบบ

04000109 การพัฒนาทักษะการคิด (Thinking Skills Development) 3(3-0-6)

ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการคิด เทคนิค และวิธีคิดประเภทต่าง ๆ กรณีศึกษา และการฝึกทักษะการคิดเพื่อนำไประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

05151101 เกษตรภูมิปัญญาพื้นถิ่น (Folk Wisdom in Agriculture) 3(3-0-6)

บริบทการเกษตรของประเทศไทย นิยาม ความหมาย แนวคิด หลักการ การประยุกต์ และเทคนิคการปฏิบัติของเกษตรทางเลือก โดยการบูรณาการธรรมชาติ สังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่นเพื่อสร้างคุณค่าการเกษตรอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ฝึกปฏิบัติการ การศึกษาดูงานนอกสถานที่

04071202 ครอบครัวศึกษา (Family Studies) 3(3-0-6)

ครอบครัว สัมพันธภาพในครอบครัว ทักษะการบริหารชีวิตคู่ การจัดการปัญหาครอบครัว การสร้างสรรค์ครอบครัวที่มีคุณภาพ การปรับตัวของครอบครัวสมัยใหม่ เพศสภาพและสิทธิเสรีภาพในสังคมสมัยใหม่

04002101 ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อชีวิตและอาชีพ (21st Century Skills for Life and Career) 3(3-0-6)

สืบค้น วิเคราะห์ แนวคิด ทฤษฏีเกี่ยวกับทักษะ 3R 8C โดยบูรณาการการประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตและ การประกอบอาชีพอย่างมีคุณภาพในศตวรรษที่ 21

04073501 การสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะ (Health Promotion and Care) 3(3-0-6)

สืบค้น วิเคราะห์ สรุปการสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะ ความสำคัญของกีฬาและนันทนาการและนโยบายสาธารณะเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การออกแบบและจัดกิจกรรมการสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะทางกาย จิต สังคมและปัญญา การออกแบบกีฬาและนันทนาการในการจัดการเรียนรู้ ความพร้อมในสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะในด้านที่สำคัญ

14121306 หลักการเขียนโปรแกรม (Programming Principles) 3(2-2-5)

หลักการพื้นฐานของขั้นตอนวิธี ประเภทตัวแปรภาษา กระบวนการทำงานของโปรแกรม กระบวนทัศน์ของการเขียนโปรแกรม การเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง การวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบโปรแกรมเบื้องต้น การเขียนผังงาน คำสั่งเทียม อัลกอริทึมพื้นฐาน รูปแบบไวยากรณ์ การพัฒนาโปรแกรมโดย เลือกภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งที่เหมาะสม

14121402 คณิตศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Mathematics for Computer and Digital Technologies) 3(3-0-6)

ตรรกศาสตร์ พีชคณิตบูลีน เซตและฟังก์ชัน ระบบเลขฐานสอง เลขฐานสิบหก เมทริกซ์และ เวคเตอร์ ระบบสมการ อสมการเชิงเส้น ระบบเลขจำนวนและอนุกรม ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น

14123407 สถิติและการวิจัยสำหรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Statistics and Research for Computer and Digital Technologies) 3(2-2-5)

การประยุกต์งานทางสถิติเชิงปริมาณสำหรับงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ประเภทการวิจัย การดำเนินการวิจัย การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ทั้งสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง เช่น การแจกแจงความถี่ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ ส่วนกลาง การวัดการกระจายของข้อมูล การแจกแจงแบบที การแจกแจงแบบปกติ การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ การแจกแจงไคสแควร์ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์การวิเคราะห์การถดถอย การฝึกปฏิบัติด้วยซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมและการเขียนรายงานการวิจัย

14122219 การจัดการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Management of Computer and Digital Technologies) 3(2-2-5)

การทบทวนระบบสารสนเทศ หลักการบริหารองค์กรสมัยใหม่ โครงสร้างของระบบสารสนเทศชนิดต่างๆ เช่น ระบบประมวลผลธุรกรรม ระบบจัดการข้อมูล ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น มาตรฐานการสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศ สำนักงานอัตโนมัติ และการกำหนดกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศและการสื่อสาร การฝึกปฏิบัติด้วยซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม

14124208 การบริหารโครงการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Computer and Digital Technologies Project Management) 3(2-2-5)

การบริหารโครงการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล ทั้งด้านการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการพัฒนาระบบต่างๆ และการพัฒนาความรู้ให้กับบุคลากร โดยใช้การบริหารการผสมผสาน การบริหารขอบเขต การบริหารเวลา การบริหารต้นทุน การบริหารคุณภาพ การบริหารทรัพยากรบุคคล การบริหารการติดต่อสื่อสารของการบริหารความเสี่ยง การบริหารการจัดหาครงการ การบริหารโครงการด้วยแผนภูมิแกนต์ แผนภาพเพิร์ธ แผนภาพวิกฤติขั้นตอนและการบริหารโครงการ การเริ่มต้นและการวางแผนการดำเนินการ การควบคุมและการปิดครงการ และการนำเสนอโครงการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล

43521103 หลักการบัญชี (Principles of Accounting) 3(2-2-5)

ข้อสมมติฐานทางการบัญชี ความแตกต่างในหน้าที่ระหว่างพนักงานบัญชีและผู้ทำบัญชี หลักบัญชีคู่ เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี การบันทึกรายการในสมุดรายการขั้นต้น ประกอบด้วยสมุดรายวันทั่วไป
สมุดรายวันเฉพาะ การบันทึกในสมุดแยกประเภท งบทดลอง รายการปรับปรุง การจัดทำงบการเงินสำหรับกิจการบริการและกิจการซื้อขายสินค้า

14121607 หลักการและระบบการจัดการฐานข้อมูล (Principles and Management of Database Systems) 3(2-2-5)

ระบบแฟ้มข้อมูล ระบบฐานข้อมูล องค์ประกอบและสถาปัตยกรรมฐานข้อมูล การออกแบบฐานข้อมูลระดับแนวคิดและกายภาพ นอร์มัลไลเซซัน การใช้แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ข้อมูล ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง เมตาดาต้า ระบบการจัดการฐานข้อมูล กรณีศึกษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูล

14122606 การออกแบบสื่อดิจิทัลเบื้องต้น (Fundamentals of Digital Media Design) 3(2-2-5)

หลักการวิธีการ องค์ประกอบของการออกแบบสื่อดิจิทัล เทคนิคการออกแบบสื่อ การออกแบบและนำเสนอข้อมูลโดยใช้สื่อดิจิทัลประเภทต่างๆ ที่ประกอบด้วย ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพ 2 มิติ ภาพ 3 มิติ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์เพื่อออกแบบสื่อที่เหมาะสม

14122607 การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ (Human Computer Interaction) 3(2-2-5)

ทฤษฎีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีประสบการณ์ผู้ใช้ เทคโนโลยีที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์ โมเดลผู้ใช้ เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการออกแบบระบบผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง การวิเคราะห์ออกแบบ และประยุกต์ใช้ในกระบวนการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ การเปรียบเทียบและการวัดประสิทธิภาพของส่วนต่อประสานผู้ใช้ การฝึกปฏิบัติด้วยซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม

14122608 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analysis and Design) 3(2-2-5)

หลักการ ขั้นตอน และทฤษฎีการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ประเภทของระบบและบทบาทของระบบสารสนเทศ การบริหารโครงการด้วยแผนภูมิแกนต์ แผนภาพเพิร์ธและหลักการอื่นที่เหมาะสมเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบแผนภาพ การไหลของข้อมูลพจนานุกรมข้อมูล การเขียนโครงสร้างภาษา การออกแบบส่วนนำเข้า และส่วนแสดงผล การออกแบบและการพัฒนาซอฟต์แวร์ การจัดหาระบบ การทดสอบและการบำรุงรักษาระบบ การจัดทำคู่มือระบบ และการอบรมเพื่อการใช้ระบบ กรณีศึกษาและการพัฒนาระบบตามหลักทฤษฎี

14123605 การบูรณาการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลสำหรับชุมชน (Integration of Computer and Digital Technologies for the Community) 3(2-2-5)

หลักการการบูรณาการ วิธีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมในชุมชน ผ่านกรณีศึกษา

14123606 การประยุกต์ใช้ระบบภูมิศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to the Application of Geographic Information System) 3(2-2-5)

แนะนําระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์พื้นฐานทางแผนที่และระบบพิกัด อ้างอิง แบบจําลองข้อมูลทางระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ การนําเข้าและจัดการข้อมูลคุณลักษณะ การแสดงข้อมูลและการจัดทำแผนที่การใช้ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเวกเตอร์ ราสเตอร์ และลักษณะทางภูมิประเทศ การประมาณค่าเชิงพื้นที่ แบบจําลองและการสร้างแบบจำลองทางระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ พจนานุกรมข้อมูลและเมตาดาต้า

14123607 สัมมนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Seminar on Computer and Digital Technologies) 1(1-0-2)

ค้นคว้าเกี่ยวกับความก้าวหน้าและประเด็นที่สนใจทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลที่ทันสมัย นำเสนอเพื่อการอภิปรายและแลกเปลี่ยนประเด็นด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล

14123609 โครงงานคอมพิวเตอร์ 1 (Computer Project 1) 1(1-0-2)

ค้นคว้าและนำเสนอหัวข้อโครงงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าต่อคณะกรรมการสอบ

14123610 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Commerce) 3(2-2-5)

หลักการของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกรรมออนไลน์ ระบบลูกค้าสัมพันธ์ ระบบรักษาความมั่นคงและความปลอดภัย ระบบการจัดส่งสินค้าและการติดตาม ระบบการชำระเงิน ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการปรับเปลี่ยนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามทิศทางเทคโนโลยีสารสนเทศฝึกปฏิบัติการออกแบบและพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้แพลตฟอร์มที่เหมาะสม

14123613 การผลิตสื่อแอนิเมชัน (Animation Media Production) 3(2-2-5)

ทฤษฎีและการปฏิบัติในการออกแบบสื่อแอนิเมชันและสื่อดิจิทัล กระบวนการผลิตสื่อแอนิเมชันเบื้องต้น เทคนิคหลากหลายชนิด ทั้งการวาด สตอปโมชั่น แอนิเมชัน 2 มิติ และ 3 มิติ การทำสื่อดิจิทัลการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่องานอนิเมชันและสื่อดิจิทัลกับงานต่างๆ

14124604 โครงงานคอมพิวเตอร์ 2 (Computer Project 2) 2(1-2-3)

วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน: 14123609 โครงงานคอมพิวเตอร์ 1

การพัฒนาโครงงานตามระเบียบการพัฒนาที่เหมาะสมกับประเภทโครงงาน ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา การนำเสนอโครงงานตามเกณฑ์การประเมินของหลักสูตรต่อคณะกรรมการสอบ

14121305 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Programming) 3(2-2-5)

วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน: 14121306 หลักการเขียนโปรแกรม

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุเบื้องต้น การเขียนโปรแกรมเชิงเหตุการณ์ การเชื่อมต่อฐานข้อมูลฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรมโดยเลือกภาษาคอมพิวเตอร์

14122313 อินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง (Internet of Things) 3(2-2-5)

ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมควบคุมระบบ ชุดคำสั่งโครงสร้าง หน่วยนำข้อมูลเข้า-ออกและคำสั่งให้เครื่องหยุดทำงาน การจัดตำแหน่งข้อมูล การเขียนโปรแกรมควบคุม การจัดหน่วยความจำโปรเซสเซอร์ อุปกรณ์การจัดการอินเทอร์เน็ตออฟติง การรับส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตออฟติงแพลตฟอร์ม และการฝึกปฏิบัติ

14122314 โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม (Data Structures and Algorithms) 3(2-2-5)

หลักการเกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมแบบต่างๆ ในการแก้ปัญหา การวิเคราะห์ อัลกอริทึม การหาประสิทธิภาพ การเรียงลำดับและการค้นหาข้อมูลแบบต่างๆ การประยุกต์ใช้โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมกับภาษาคอมพิวเตอร์

14122315 เทคโนโลยีเว็บและการให้บริการ (Web Technologies and Services) 3(2-2-5)

ความเป็นมาของเวิลด์ไวด์เว็บ สถาปัตยกรรมไคลเอนต์-เซิรฟ์เวอร์ โพรโทคอลมาตรฐานเทคโนโลยีและเครื่องมือในการพัฒนาเว็บไซต์และเว็บแอปพลิเคชัน การออกแบบและการสร้างเว็บไซต์เทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยของเว็บ การให้บริการผ่านเว็บ และการให้บริการผ่านระบบคลาวด์ จริยธรรมการใช้เว็บ

14122316 การเขียนโปรแกรมบนเว็บ (Web Programming) 3(2-2-5)

หลักการทำงานของเว็บเซิร์ฟเวอร์ การพัฒนาเว็บไซต์ การเขียนโปรแกรมบนเว็บแบบไดนามิก การพัฒนาเอพีไอ การเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูล การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเว็บ การฝึกปฏิบัติการ เขียนโปรแกรมบนเว็บโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม

14123333 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Application Development for Mobile Devices) 3(2-2-5)

หลักการแพลตฟอร์มของอุปกรณ์เคลื่อนที่ ออกแบบและสร้างโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ การฝึกปฏิบัติภาษาเฉพาะแพลตฟอร์ม

14122701 ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล (Network systems and Data Communications) 3(2-2-5)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารแบบอนาล็อกและดิจิทัล ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาตรฐานโพรโทคอลแบบเปิดสื่อรับส่งข้อมูล รูปแบบการเชื่อมโยงระบบเครือข่าย อุปกรณ์เครือข่าย ระบบเครือข่ายแลน ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่ายไร้สาย ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หลักการออกแบบระบบเครือข่าย การตรวจสอบตัวตนและระบบรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่าย

14122702 การจัดการความมั่นคงและปลอดภัย (Security Management) 3(2-2-5)

วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน: 14122701 ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล

หลักการด้านความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายและสารสนเทศ ประเภทของภัยคุกคาม กลไกการโจมตีและการป้องกันนโยบายและการปฏิบัติเพื่อความมั่นคงของระบบ การพิสูจน์ทราบในระบบคอมพิวเตอร์ บริการด้านความมั่นคง การวิเคราะห์ภัยคุกคามการเข้ารหัสและถอดรหัส การจัดการความเสี่ยง การออกแบบและวางแผนการกู้คืนระบบมาตรฐาน นโยบายการควบคุมความมั่นคงปลอดภัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

14123225 มาตรฐานสากลด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (International Standards for Computer and Digital Technologies) 3(2-2-5)

หลักการมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล ข้อกำหนด การประกาศใช้ การบริหารจัดการ การนำมาตรฐานต่าง ๆ เช่น มาตรฐานการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (COBIT) มาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยในสารสนเทศ (ISO21001) มาตรฐานการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITIL) มาตรฐานการพัฒนาระบบ (CMMI) และมาตรฐานการบริหารโครงการ (PMBOX) เป็นต้น

14121701 ระบบการบำรุงรักษาทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Computer and Digital Technologies Maintenance System) 3(2-2-5)

หลักการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ตและอุปกรณ์ต่อพ่วง ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์และติดตั้งโปรแกรมตามลักษณะงาน การบำรุงรักษาอุปกรณ์ แก้ปัญหาด้วยโปรแกรมรรถประโยชน์สำรองและป้องกันความเสียหายของข้อมูล การกู้คืนข้อมูล

14121702 ระบบปฏิบัติการและเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม (Operating Systems and Platform Technologies) 3(2-2-5)

หลักการเกี่ยวกับระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เคลื่อนที่ ส่วนประกอบทางฮาร์ดแวร์ วิวัฒนาการและหน้าที่ระบบปฏิบัติการโครงสร้างระบบปฏิบัติการ การจัดการโปรเซส การจัดการตัวประมวลผล การใช้งานเซิร์ฟเวอร์เสมือนจริงคอนเทรนเนอร์ และการฝึกปฏิบัต

14123211 ฐานข้อมูลขั้นสูง (Advanced Databases) 3(2-2-5)

หลักการระบบฐานข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูล การควบคุมสภาพข้อมูลเมื่อมีผู้ใช้หลายคนการจัดการทรานแซกชัน การเกิดภาวะพร้อมกัน การสำรองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูล วิธีการรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของฐานข้อมูล ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล

14123213 คลังข้อมูลและเหมืองข้อมูล (Data Mining and Data Warehouse) 3(2-2-5)

หลักการคลังข้อมูล ลักษณะของคลังข้อมูล สถาปัตยกรรมและองค์ประกอบของระบบคลังข้อมูล หลักการเหมืองข้อมูล กระบวนการในการจัดเตรียมข้อมูล การวิเคราะห์ การค้นหาความรู้โดยการใช้เทคนิคต่าง ๆ ของเหมืองข้อมูล การวัดประสิทธิภาพของเหมืองข้อมูล การออกแบบและแสดงข้อมูลด้วยแผนภาพและการประยุกต์ใช้เหมืองข้อมูล

14123611 ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ขั้นสูง (Advanced Geographic Information Systems) 3(2-2-5)

รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน : 14123606 การประยุกต์ใช้ระบบภูมิศาสตร์เบื้องต้น 3(2-2-5)

พื้นฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ องค์ประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โครงสร้างข้อมูล ชนิดข้อมูล ทอพอโลยี ขั้นตอนวิธีการนำเข้า แก้ไข และวิเคราะห์เชิงพื้นที่ โปรแกรมประยุกต์ทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เทคนิคพื้นฐานสำหรับการสร้างแผนที่ดิจิทัล รวมถึงการประยุกต์ใช้งานระบบสารสนเทศในการแสดงข้อมูลเป็นภาพเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและสนับสนุนการตัดสินใจ

14123612 ธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) 3(2-2-5)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบธุรกิจอัจฉริยะและระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เทคนิคและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบอัจฉริยะทางธุรกิจ ประกอบด้วย ระบบสนับสนุนการตัดสินใจคลังข้อมูล การประมวลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ การทำเหมืองข้อมูล องค์ประกอบหลักของระบบซอฟต์แวร์ในระบบธุรกิจอัจฉริยะและตัวอย่างระบบซอฟต์แวร์ แนวโน้มของระบบธุรกิจอัจฉริยะ

14123226 ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) 3(2-2-5)

แนวคิดหลักข้อมูลขนาดใหญ่ คุณลักษณะของข้อมูลขนาดใหญ่ วิธีการบริหารและจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ เทคนิคการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลใหญ่ การประยุกต์ใช้เครื่องมือในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่

14124403 ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) 3(2-2-5)

นิยามและที่มาของปัญญาประดิษฐ์ การแก้ปัญหาและเขียนโปรแกรมการค้นหาคำตอบในปริภูมิสถานะด้วยภาษาลิสพ์ หรือภาษาอื่นๆ ที่เหมาะสม การใช้ตรรกศาสตร์แบบคลุมเครือ การเรียนรู้ของเครื่องจักรทัศนศาสตร์คอมพิวเตอร์โครงข่ายประสาทเทียม การพัฒนาระบบและการประยุกต์ใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญกรณีศึกษาด้านการพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ

14123334 การเขียนโปรแกรมบนเว็บขั้นสูง (Advanced Web Programming) 3(2-2-5)

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา HTML ขั้นสูง CSS ขั้นสูง JavaScript ขั้นสูง การประยุกต์ใช้ XML การใช้เว็บเอพีไอ การใช้เฟรมเวิร์ค การสร้างเว็บติดต่อฐานข้อมูล การเขียนโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์สำหรับเว็บไซต์การพิสูจน์ตัวตนและการรักษาความมั่นคงเว็บไซต์ การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่องานด้านต่างๆ

14123335 การเขียนโปรแกรมบนคลาวด์ (Cloud Programming) 3(2-2-5)

หลักการในการพัฒนาโปรแกรมบนคลาวด์ประเภทต่างๆ เช่น IaaS PaaS SaaS เป็นต้น การพัฒนาโปรแกรมบนคลาวด์โดยใช้ภาษาที่นิยมในปัจจุบัน

14123336 การออกแบบเว็บ (Web Design) 3(2-2-5)

หลักการ วิธีการ กระบวนการออกแบบเว็บไซต์ ทั้งการออกแบบเนื้อหา การออกแบบส่วนต่อประสาน การออกแบบประสบการณ์ใช้งานผู้ใช้ การออกแบบที่ตอบสนอง การออกแบบเพื่อรองรับการเข้าถึงของผู้ใช้ที่มีความแตกต่าง การใช้เครื่องมือในการออกแบบเว็บไซต์

14123337 การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงอ็อบเจกต์ (Object-Oriented Systems Analysis and Design) 3(2-2-5)

ระเบียบวิธี การวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมเชิงวัตถุ หลักการเชิงวัตถุ การวิเคราะห์ยูสเคสการออกแบบแผนภาพคลาส ภาษา UML และการออกแบบแพตเทิร์น

14124315 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ขั้นสูง (Advanced Application Development for Mobile Devices) 3(2-2-5)

การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่บนระบบปฏิบัติการ iOS การสร้างโปรแกรมติดต่อฐานข้อมูล การใช้ REST API การใช้เครื่องมือสำหรับสร้างโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่หลายแพลตฟอร์ม

14123717 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operation Systems) 3(2-2-5)

วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน : 14122701 ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล

วิวัฒนาการระบบปฏิบัติการและระบบปฏิบัติการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการเครือข่ายและเทคโนโลยีในปัจจุบัน การจัดเตรียมสภาพแวดล้อม การติดตั้งและการตั้งค่า การล็อกอินและล็อกอินระยะไกล การจัดการผู้ใช้งาน การเข้าใช้ระบบ การจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ บนเครื่องแม่ข่ายให้บริการ การจัดเก็บข้อมูลการเข้าถึง (Log) ระบบแม่ข่ายให้บริการ การสำรองข้อมูล การตรวจสอบ (Monitoring) และระบบรักษาความปลอดภัยของระบบปฏิบัติการ ศึกษาระบบปฏิบัติการกรณีตัวอย่าง เช่น ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ระบบปฏิบัติการวินโดว์ หรืออื่น ๆ ที่น่าสนใจ

14123718 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการ (Cloud Computing and Services) 3(2-2-5)

วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน : 14123717 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย

การทบทวนทฤษฎีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ศึกษาระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์ ประกอบด้วย ทฤษฎี แนวคิด โครงสร้างของระบบ การจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่และการเรียกใช้ ระบบเสมือนและการจัดเก็บข้อมูล ระบบซอฟต์แวร์และการบริการ การเข้าถึงและความปลอดภัยแหล่งทรัพยากรต่างๆ บนระบบคลาวด์

14123720 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการขั้นสูง (Advanced Cloud Computing and Services) 3(2-2-5)

วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน: 14123718 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการ

เทคนิคการออกแบบระบบคลาวด์และการติดตั้ง การบริหารจัดการระบบคลาวด์ การออกแบบระบบการรักษาความปลอดภัยแบบคลาวด์ การประเมินประสิทธิภาพระบบคลาวด์

14124702 ระบบเครือข่ายขั้นสูง (Advanced Network systems) 3(2-2-5)

เทคโนโลยีสำหรับเครือข่าย ได้แก่ แลน แวนเป็นต้น เทคนิคการออกแบบระบบเครือข่ายและการติดตั้ง การบริหารจัดการระบบเครือข่าย ตลอดจนการออกแบบการรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่าย การประเมินประสิทธิภาพเครือข่าย

14124703 การออกแบบระบบเครือข่ายการสื่อสารและความปลอดภัยสำหรับองค์กร (Communication Network and Security Design for Organizations) 3(2-2-5)

วิชาที่ต้องศึกษามาก่อน : 14122702 การจัดการความมั่นคงและปลอดภัย
14123718 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการ

การทบทวนทฤษฎีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ระบบเครือข่ายแบบคลาวด์คอมพิวเตอร์แบบเสมือน ศึกษาทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การออกแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร การออกแบบระบบเครือข่ายชนิดมีสายและไร้สาย อุปกรณ์เครือข่าย ระบบอินเทอร์เน็ต ระบบเอ็กซ์ทราเน็ตระบบอินทราเน็ต ระบบรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่ายและการสื่อสาร อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย การบริหารจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารในองค์กร

14123614 การสร้างเทคนิคพิเศษทางภาพ (Creation of Visual Effects) 3(2-2-5)

เทคนิคและการประยุกต์ใช้วิชวลเอฟเฟกต์ (Visual Effect) สำหรับลำดับภาพกราฟิกเคลื่อนไหวโดยใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะ การจำลองสภาพสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ การติดตามการเคลื่อนไหว และการจับคู่การเคลื่อนไหว เทคนิคการสร้างภาพด้วยระบบดิจิทัล

14123615 การพัฒนาเกม (Game Development) 3(2-2-5)

การพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาสคริปต์และสภาพแวดล้อมซอฟต์แวร์ของเกมเอ็นจิน แนวคิดและหลักการของเกม 2 มิติการสร้างและควบคุมโมเดล 2 มิติ การเขียนโปรแกรมสำหรับพัฒนาเกม กระบวนการที่จำเป็นในการพัฒนาซอฟต์แวร์เกม 2 มิติ

14123618 การพัฒนาเกมขั้นสูง (Advanced Game Development) 3(2-2-5)

การพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาสคริปต์และสภาพแวดล้อมซอฟต์แวร์ของเกมเอ็นจิน แนวคิดและหลักการของเกม 3 มิติ การสร้างและควบคุมโมเดล 3 มิติ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในเกมการเขียนโปรแกรมสำหรับพัฒนาเกม กระบวนการที่จำเป็นในการพัฒนาซอฟต์แวร์เกม 3 มิติ

14124605 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงผสม (Application of Mixed Reality) 3(2-2-5)

ความจริงเสมือน เช่น AR VR MR เป็นต้น การปฏิสัมพันธ์กิริยาหลายด้านทั้งด้านการมองเห็นการได้ยินและการสัมผัส การมีปฏิสัมพันธ์อย่างกลมกลืนกับความจริงเสมือน การประมวลผลด้านการมองเห็นและโมเดลสภาพแวดล้อม การจำลองพฤติกรรมทางกายภาพและการจำลองหลักฟิสิกส์ การจัดการสภาพแวดล้อมขนาดใหญ่ เครื่องมือสำหรับพัฒนาความจริงเสมือน ความจริงผสม หรือความบันเทิงดิจิทัล

14123114 จริยธรรมและกฎหมายสำหรับนักเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล (Ethics and Laws for Computer and Digital Technologies Professionals) 3(3-0-6)

ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมออนไลน์ ประเด็นจริยธรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว ความถูกต้องแม่นยำ ความเป็นเจ้าของ และความสามารถในการเข้าถึง ความหลากหลาย โลกาภิวัตน์ ช่องว่างดิจิทัล การคำนึงถึงบกพร่องทางการรับรู้ข้อคำนึงทางเศรษฐศาสตร์ ประเด็นทางกฎหมาย นโยบายสิทธิความเป็นส่วนตัว กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งไทยและสากล อาชญากรรมจากการใช้เทคโนโลยี ภัยคุกคามของระบบสารสนเทศ ประเด็นทางวิชาชีพและจริยธรรม องค์กรวิชาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล จริยธรรมและความประพฤติสำหรับนักเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล

14121105 ภาษามือไทยเบื้องต้น (Introduction of Thai Sign Language) 3(2-2-5)

ประวัติความเป็นมาของภาษามือไทย บุคคลสำคัญและผลงานที่เป็นคุณูปการต่อภาษามือไทยรูปแบบและประเภทของภาษามือไทยที่ใช้ในปัจจุบัน การศึกษาภาษามือไทยลักษณะทางไวยากรณ์ที่สำคัญในภาษามือและภาษามือไทย ปัจจัยที่ทำให้การใช้ภาษามือไทยมีความหลากหลาย ภาษามือแบบต่างๆ ภาษามือไทยสำหรับการสื่อสารทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา

14123224 เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาสำหรับผู้พิการ (Educational Assistive Technology for the Disable) 3(2-2-5)

ความหมาย ประเภท ขอบเขตการใช้เทคโนโลยีอุปกรณ์และการให้บริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาสำหรับคนพิการ เทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าถึงได้ทางการศึกษา นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษา

14123617 หลักการออกแบบกราฟิกและการใช้งานโปรแกรมกราฟิก (Principles of Graphic Design and Graphic Software Usage) 3(2-2-5)

หลักการออกแบบงานกราฟิก ทฤษฎีองค์ประกอบศิลป์ ทฤษฎีสีเทคนิค การใช้เครื่องมือสำหรับการผลิตงานกราฟิก ลักษณะสำคัญของโปรแกรมกราฟิก องค์ประกอบและการเชื่อมประสานกับผู้ใช้งานแบบกราฟิกของซอฟต์แวร์กราฟิก การใช้งานโปรแกรมกราฟิก การนำเข้าและส่งออกข้อมูลกราฟิก การออกแบบกราฟิก การตกแต่งภาพกราฟิก การฝึกปฏิบัติโครงงานกราฟิก

14124606 การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียทางการศึกษาสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน (Development of Educational Multimedia for the Deaf) 3(2-2-5)

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 14123617 หลักการออกแบบกราฟิกและการใช้งานโปรแกรมกราฟิก

ความหมาย ประเภท องค์ประกอบ เครื่องมือที่ใช้การผลิตสื่อมัลติมีเดีย ข้อดี และข้อจำกัดของสื่อมัลติมีเดีย ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา แหล่งความรู้ที่เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา ฝึกปฏิบัติซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างสื่อมัลติมีเดีย

14124607 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน (Application of Computer and Digital Technologies for the Deaf) 3(2-2-5)

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 14123617 หลักการออกแบบกราฟิกและการใช้งานโปรแกรมกราฟิก

หลักการ วิธีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ ในการดำเนินชีวิตในยุคดิจิทัลสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน

14123803 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ (Preparation for Professional Internship in Computer) 1(90)

จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามหน่วยงานภายในสถาบันอุดมศึกษา พัฒนาตัวผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล

14123806 การเตรียมสหกิจศึกษา (Preparation for Cooperative Education) 1(90)

จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติของนักศึกษาก่อนออกไปฝึกปฏิบัติจากสถานประกอบการภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน ให้นักศึกษามีทักษะ ความรู้เจตคติตลอดจน คุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล โดยการกระทําในสถานการณ์หรือ รูปแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งฝึกปฏิบัติในสถานฝึกปฏิบัติของสาขาวิชาและมีเวลาในการฝึกไม่น้อยกว่า 90 ชั่วโมงปฏิบัติการ

14124804 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ (Professional Internship in Computer) 3(450)

นักศึกษาจะต้องรับการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 90 ชั่วโมง ก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพคอมพิวเตอร์ในองค์กร สถานที่ราชการ โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจเอกชน องค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ เอกชน ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ เจตคติ และประสบการณ์ในอาชีพคอมพิวเตอร์โดยก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพนักศึกษาต้องผ่านการทดสอบทักษะทางคอมพิวเตอร์และการฝึกอบรมของสาขาวิชาคอมพิวเตอร์

14124805 สหกิจศึกษา (Cooperative Education) 6(640)

นักศึกษาไปทำงานในองค์การ สถานที่ราชการ โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจเอกชน องค์การภาครัฐ รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์จะต้องรายงานประกอบและมีการนิเทศจากคณาจารย์ในหลักสูตร (มีการเตรียมฝึกสหกิจศึกษาให้นักศึกษา 30 ชั่วโมง)

ชั้นปีที่ 1

ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต
น(ท-ป-อ)
14121306หลักการเขียนโปรแกรม3(2-2-5)
14121402คณิตศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล3(3-0-6)
02531203ศิลปะการดำเนินชีวิต3(3-0-6)
01552701ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร3(3-0-6)
01540108ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร3(3-0-6)
14121702ระบบปฏิบัติการและเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม3(2-2-5)
รวม18 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต
น(ท-ป-อ)
14121305การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์3(2-2-5)
14121607หลักการและระบบการจัดการฐานข้อมูล3(2-2-5)
14121701ระบบการบำรุงรักษาทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล3(2-2-5)
03500102หลักการจัดการสมัยใหม่3(3-0-6)
x xxx x xxรายวิชาศึกษาทั่วไป นักศึกษาเลือก……………..3(x-x-x)
x xxx x xxรายวิชาศึกษาทั่วไป นักศึกษาเลือก……………..3(x-x-x)
x xxx x xxรายวิชาเลือกเสรี……………..3(x-x-x)
รวม21 หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 2

ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต
น(ท-ป-อ)
14122314โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม3(2-2-5)
14122701ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล3(2-2-5)
14122608การวิเคราะห์และออกแบบระบบ3(2-2-5)
14122606การออกแบบสื่อดิจิทัลเบื้องต้น3(2-2-5)
14122315เทคโนโลยีเว็บและการให้บริการ3(2-2-5)
x xxx x xxรายวิชาเลือกเสรี……………………3(x-x-x)
รวม18 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต
น(ท-ป-อ)
14122607การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์3(2-2-5)
14122702การจัดการความมั่นคงและปลอดภัย3(2-2-5)
14122316การเขียนโปรแกรมบนเว็บ3(2-2-5)
14122313อินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง3(2-2-5)
14122219การจัดการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล3(2-2-5)
02500104วัฒนธรรมแอ่งสกลนคร3(2-2-5)
x xxx x xxรายวิชาศึกษาทั่วไป นักศึกษาเลือก………….3(x-x-x)
รวม21 หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 3

ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต
น(ท-ป-อ)
14123407สถิติและการวิจัยสำหรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล3(2-2-5)
14123607สัมมนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล1(1-0-2)
14123606การประยุกต์ใช้ระบบภูมิศาสตร์เบื้องต้น3(2-2-5)
14123610พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์3(2-2-5)
14123333การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่3(2-2-5)
14123613การผลิตสื่อแอนิเมชัน3(2-2-5)
x xxx x xxรายวิชาเอกเลือก 1 ………………3(x-x-x)
รวม19 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต
น(ท-ป-อ)
14123225มาตรฐานสากลด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล3(2-2-5)
14123609โครงงานคอมพิวเตอร์ 11(1-0-2)
14123605การบูรณาการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลสำหรับชุมชน3(2-2-5)
43521103หลักการบัญชี3(2-2-5)
x xxx x xxรายวิชาเอกเลือก 2 ……………..3(x-x-x)
x xxx x xxรายวิชาเอกเลือก 3 ……………..3(x-x-x)
01550104ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม3(3-0-6)
14123803การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์1(90)
รวม20 หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 4

ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต
น(ท-ป-อ)
14124604โครงงานคอมพิวเตอร์ 22(1-2-3)
14124208การบริหารโครงการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล3(2-2-5)
03621101การเป็นผู้ประกอบการ3(3-0-6)
x xxx x xxรายวิชาเอกเลือก 4 ………………3(x-x-x)
รวม11 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต
น(ท-ป-อ)
14124804การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ หรือ3(450)
14124805สหกิจศึกษา6(640)
รวม3 หน่วยกิต

สายวิชาการ

สายสนับสนุน

นายนำชัย อุตโรกุล
นางสาวอรอุมา น้อยเหลือง
นายธนพล คำปิตะ